นพ. ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง จักษุแพทย์ แนะกรณีเบ้าตาแตก แพทย์จะต้องเช็คดูระบบข้างใน มีเลือดออกที่จอประสาทตาหรือไม่
นพ. ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง จักษุแพทย์ แนะกรณีเบ้าตาแตก แพทย์จะต้องเช็คดูระบบข้างใน มีเลือดออกที่จอประสาทตาหรือไม่
News Update วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2562 : หลายคนมักเกิดข้อสงสัยว่า เวลาเกิดอุบัติเหตุแล้วกระทบกระเทือนกับบริเวณใบหน้าควรทำอย่างไร ซึ่งในกรณีเช่นนี้ แพทย์จะรีบวินิจฉัยว่าผู้ป่วยได้รับความกระทบกระเทือนเพียงเล็กน้อย
หรือได้รับความกระทบกระเทือนถึงระบบเส้นประสาทภายใน หรืออาจมีภาวะกระดูกหน้าหัก เบ้าตาแตก เปลือกตาฉีกขาด เลือดออกในจอประสาทตา จมูกหัก ขากรรไกรหัก หรือภาวะอื่นๆ ร่วมด้วย
ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ อุบัติเหตุจากการทำงาน โดนทำร้าย ถูกของแข็งปะทะเข้าบริเวณใบหน้า โดนสะเก็ดระเบิด ตกจากที่สูง
หรือลื่นหกล้มแล้วบริเวณใบหน้าถูกกระแทกอย่างแรง เบื้องต้นต้องรีบมาโรงพยาบาลเพื่อปรึกษาแพทย์
นพ. ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นพ. ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างและระบบท่อน้ำตา ศูนย์จักษุ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า ด้วยวิวัฒนาการทางการแพทย์ที่ก้าวหน้ามากขึ้น
นวัตกรรมเทคโนโลยีที่ทันสมัย บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความชำนาญการและมีประสบการณ์ในการรักษา
รวมถึงปัจจุบันได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีการอบรมในหลากหลายมิติและรอบด้านมากยิ่งขึ้น ทำให้การรักษาผู้ป่วยรายยากๆ ในปัจจุบันสามารถรักษาได้
เช่น หน้ายุบ เบ้าตาแตกทะลุ ตาหลุด เปลือกตาฉีกขาด จมูกหัก ขากรรไกรหัก หรืออาจกระทบต่อระบบเส้นประสาทในสมอง ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในผู้ป่วยเพียงรายเดียวที่ประสบอุบัติเหตุขั้นรุนแรง
ซึ่งทุกส่วนบนใบหน้าล้วนมีความสำคัญและมีความละเอียดอ่อนในการรักษาเป็นอย่างมาก ความยากของการรักษาคือ การทำงาน (Function) ต่างๆ เช่น การมองเห็น การบดเคี้ยว ฯลฯ ที่ต้องทำให้ผู้ป่วยใช้งานได้ใกล้เคียงจากปกติและมีความสวยงามมากที่สุด”
วิธีการรักษาในอดีตจะแตกต่างจากในปัจจุบัน กล่าวถึงภาพรวมโดยทั่วไป ในอดีตหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้น ผู้ป่วยที่ประสบอุบัติเหตุและมีการเสียโฉมบนใบหน้า
ส่วนใหญ่จะถูกส่งให้แผนกศัลยศาสตร์ทั่วไปเป็นแผนกที่ดูแลรักษาผู้ป่วยรายหนึ่งๆ หมดทั้งบนใบหน้า เนื่องจากในอดีตจักษุแพทย์รวมถึงแพทย์สาขาอื่นๆ ที่ศึกษาต่อขั้นสูงในด้านศัลยศาสตร์เฉพาะทางนั้น ยังมีไม่มากนัก
การรักษาในปัจจุบันจะมุ่งเน้นการรักษาโดยมีทีมแพทย์ที่จบเฉพาะทางในแต่ละสาขาร่วมกันวินิจฉัยเป็นทีม และรักษาโรคตามความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์รายนั้นๆ
จึงทำให้ทราบถึงอาการเสี่ยงต่างๆ และสามารถแก้ไขปัญหาของอาการได้อย่างครอบคลุมและตรงจุด ส่งผลให้การรักษาในปัจจุบันมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
“การรักษาในปัจจุบัน กรณีที่พบผู้ป่วยที่ได้รับอุบัติเหตุขั้นรุนแรง เบื้องต้นจะถูกส่งตรงมายังแผนกฉุกเฉินเป็นอันดับแรก และด้วยระบบ มาตรฐาน สากลของโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์
ปณิธานในการทำงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงความพร้อมในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยอาการต่างๆ ตามเวลาเทียบเท่า มาตรฐานระดับโลก
และมีการประสานกับทีมแพทย์แผนกต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเพื่อทำการรักษาในห้องผ่าตัดพร้อมๆ กัน ยกตัวอย่างรายที่ได้รับความกระทบกระเทือนจากอุบัติเหตุ จะต้องมีทีมแพทย์เฉพาะทางชั้นสูง (Multi Specify) ประมาณ 4 – 6 สาขาวิชาชีพ
เพื่อมาตรวจประเมิน วินิจฉัย และทำการรักษาผู้ป่วย ประกอบด้วย จักษุแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้างและระบบท่อน้ำตา (Orbital and Ophthalmic, Plastic and Reconstructive Surgery)
แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโสต ศอ นาสิกวิทยา และจบเฉพาะทางสาขาวิชาโรคกล่องเสียง หลอดลม ศีรษะและคอ (Otolaryngology (Ear, Nose, Throat), Laryngology - Head & Neck Surgery), ทันตแพทย์ที่จบเฉพาะด้านการผ่าตัดศัลยกรรมขากรรไกรและใบหน้า (Maxillofacial Surgery)
ศัลยแพทย์ระบบประสาท (neurological surgery), ศัลยแพทย์ตกแต่ง (Cosmetic & Reconstructive Surgery) และศัลยแพทย์ทั่วไป (Plastic Surgery) เป็นต้น
ซึ่งนับเป็นข้อโดดเด่นของบำรุงราษฎร์ ที่มีการทำงานที่เป็นระบบมาตราฐานสากล เครื่องมือทางการแพทย์ที่ทันสมัยครบครัน ทีมแพทย์ที่มีความชำนาญการชั้นสูงและมีประสบการณ์ รวมถึงสหสาขาวิชาชีพที่ทำงานเป็นทีมด้วยหัวใจที่เปี่ยมด้วยการให้บริการ”
นพ. ณัฐวุฒิ วะน้ำค้าง กล่าวว่า การรักษาผู้ป่วยในลักษณะดังกล่าว เป็นเรื่องละเอียดอ่อนอย่างมาก เนื่องจากแพทย์จะต้องดูทั้งในส่วนของการทำงานของอวัยวะต่างๆ เพื่อให้กลับสู่ภาวะใกล้เคียงปกติมากที่สุด
ร่วมกับความสวยงามภายนอกควบคู่กันไป เช่น กรณีเบ้าตาแตก แพทย์จะต้องเช็คดูระบบข้างในด้วยว่า มีเลือดออกที่จอประสาทตาหรือไม่
มีภาวะความเสี่ยงอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ ซึ่งต้องวิเคราะห์ร่วมกับแพทย์สาขาอื่นๆ ร่วมด้วยว่าควรรักษาอาการใดก่อนหลังเพื่อให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี และกลับมามีอาการใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด
หรือในกรณีที่ผู้ป่วยกระดูกขากรรไกรฉีกขาด แพทย์ก็ต้องรักษาเพื่อให้ฟันสบกันพอดี และสามารถกลับมาเคี้ยวอาหารได้เป็นปกติ ซึ่งมีความเกี่ยวโยงกับเส้นประสาท เป็นต้น
การรักษาที่เกริ่นไปข้างต้นนี้ ต้องอาศัยความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์อย่างมาก โดยทีมแพทย์ทุกสาขาต่างก็ให้ความสำคัญกับผู้ป่วยรวมถึงใส่ใจรายละเอียดในทุกๆ ขั้นตอน เพื่อให้ผลของการรักษาเกิดประสิทธิภาพสูงสุด”
02 ตุลาคม 2562
ผู้ชม 4681 ครั้ง