ข่าวน้องไอแอล แม่อ้างว่าเกิดการสำลักนม รพ.เด็ก แนะคุณแม่มือใหม่ควรให้นมลูกอย่างถูกวิธี หมั่นสังเกตลูกตลอดเวลา
ข่าวน้องไอแอล แม่อ้างว่าเกิดการสำลักนม รพ.เด็ก แนะคุณแม่มือใหม่ควรให้นมลูกอย่างถูกวิธี หมั่นสังเกตลูกตลอดเวลา
แม่ให้นมลูกอย่างถูกวิธี , คุณแม่มือใหม่ , สำลักนม , เด็กสำลักนม, ป้องกันการสำลักนม , น้องไอแอล , เด็กเสียชีวิต , กรมการแพทย์ , นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง , ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี , รพ.เด็ก
News Update : กรณีมีข่าวเด็กเสียชีวิต น้องไอแอล เนื่องจากเกิดการสำลักนม กรมการแพทย์
โดย สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) แนะคุณแม่มือใหม่ควรให้นมลูกอย่างถูกวิธี หมั่นสังเกตและให้ความสนใจลูกตลอดเวลา เพื่อป้องกันการสำลักนม
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงการให้นมแม่อย่างถูกวิธี
คุณแม่มือใหม่ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ ซึ่งการให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด
โดยขณะที่ลูกดูดนมแม่ คางของเด็กต้องชิดเต้า จมูกเชิด เปิดช่องจมูกสำหรับหายใจ เมื่อลูกต้องการพักการดูดจะหยุดพักเอง และขณะดูดนมแม่ให้ลูกนอนตะแคงทั้งตัวหรือดูดนมในท่าที่ศีรษะสูง ทั้งนี้ การอุ้มลูกดูดนมอย่างถูกวิธีจะช่วยให้ลูกดูดนมแม่จากเต้า
ได้ดี ซึ่งสามารถสังเกตจากลูกอ้าปากกว้าง ริมฝีปากบนบาน ริมฝีปากล่างปลิ้นออก คางชิดเต้า จมูกเชิด และแม่ไม่เจ็บหัวนมขณะลูกดูดนมแม่
ส่วนการให้ลูกดูดนมจากขวด จุกนมจะกระตุ้นการดูดของเด็กตลอดเวลา ดังนั้นแม่ควรมองลูกตลอดเวลาและจัดจังหวะให้มีช่วงของการพักหายใจ เพื่อป้องกันการสำลักนม
เพราะการดูดนมของลูกจะมีจังหวะของการดูด การกลืน และการหายใจที่สัมพันธ์กัน ในการใช้ขวดนมเป็นอุปกรณ์ให้นมลูกจึงต้องดูแลเพื่อไม่ให้เกิดการสำลักหลังให้นม
กรณีที่ลูกดูดนมจากขวดเสร็จแล้วควรอุ้มให้เรอและจับนอนตะแคง ไม่จับนอนหงาย เพื่อป้องกันการสำลักนมในกรณีที่เด็กแหวะนม
นายแพทย์อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กล่าวว่า การแก้ไขเมื่อลูกมีอาการสำลักนม คุณแม่สามารถทำได้ดังนี้ 1 ระหว่างให้นมลูก ควรพูดคุย สังเกต ให้ความสนใจลูกตลอดเวลา
2 จัดท่าให้นมให้ถูกต้อง กรณีให้นมจากขวดควรให้เด็กนอนศีรษะสูง เว้นระยะการดูดจากขวดให้เด็กหายใจเป็นระยะป้องกันการสำลัก
3 อุ้มลูกเรอทุกครั้งหลังจากดูดนม 4 หากพบลูกแหวะนมให้จับหน้าลูกตะแคงทันที เพื่อป้องกันการสำลักลงปอด
และ 5 หากพบอาการสำลักบ่อย ควรพบกุมารแพทย์เพื่อตรวจหาความผิดปกติและรีบรักษาอย่างทันท่วงที
05 พฤศจิกายน 2562
ผู้ชม 2534 ครั้ง