แต่งงานเร็ว สุขภาพแข็งแรง อย่าคิดว่าไม่มีปัญหามีบุตรยาก ตรวจความพร้อมร่างกายให้ชัวร์ เพิ่มโอกาสมีลูกมากขึ้น

บทความ

แต่งงานเร็ว สุขภาพแข็งแรง อย่าคิดว่าไม่มีปัญหามีบุตรยาก ตรวจความพร้อมร่างกายให้ชัวร์ เพิ่มโอกาสมีลูกมากขึ้น

มีลูกยาก อ่านตรงนี้ ! แต่งงานเร็ว สุขภาพแข็งแรง อย่าคิดว่าไม่มีปัญหามีบุตรยาก ตรวจความพร้อมของร่างกายให้ชัวร์ เพิ่มโอกาสมีลูกให้มากขึ้น

 

News Update  : การแต่งงานเร็ว สุขภาพแข็งแรง  ไม่ได้หมายความว่าจะไม่ประสบปัญหา  มีบุตรยาก ตรวจความพร้อมของร่างกายให้ชัวร์ เพิ่มโอกาสในการมีเจ้าตัวน้อยมาวิ่งเล่นในบ้านให้มากขึ้น 

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า  นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ สูตินรีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์การเจริญพันธุ์ และหัวหน้าศูนย์เทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร รพ.พญาไท 2 เปิดเผยถึงปัจจุบันมีคู่แต่งงานที่ประสบปัญหาการมีบุตรยากถึง 40%

ส่วนใหญ่เรามักจะไม่พบสาเหตุ ซึ่งปัญหานี้ไม่สามารถโทษว่าเป็นความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งได้ ตามสถิติระบุว่าคู่สมรสที่ประสบภาวะมีบุตรยากที่ทราบสาเหตุมักจะมีสาเหตุจากฝ่ายชายและฝ่ายหญิงในอัตราเท่า ๆ กันนั่น

คือ ฝ่ายหญิง 40% และฝ่ายชาย 40% มีสาเหตุจากทั้งสองฝ่าย 20%

“การมีบุตรยากในผู้หญิงอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ ไม่ว่าจะเป็นโรคทางพันธุกรรม การฉายรังสีที่อาจส่งผลให้รังไข่ทำงานผิดปกติ

รวมไปถึงวิถีชีวิตปัจจุบันที่เกิดภาวะความเครียดได้ง่าย อีกหนึ่งสาเหตุที่สำคัญของการมีบุตรยาก คือ เรื่องของอายุของฝ่ายหญิง

เนื่องจากในปัจจุบันคนแต่งงานกันช้าลง กว่าจะพร้อมมีลูกก็ตอนที่อายุมากแล้ว ปกติแล้วผู้หญิงเรามีไข่ในรังไข่จำกัด ไข่เหล่านี้ไม่สามารถเพิ่มจำนวนหรือสร้างขึ้นใหม่ได้ เมื่อเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์หรือเริ่มมีประจำเดือนครั้งแรก จะมีไข่เพียง 3-4 แสนฟอง

และในแต่ละเดือนจะมีไข่หลายใบโตขึ้นเพื่อแข่งขันกัน และตกออกมาใช้งานเพียง 1 ฟองเท่านั้น พออายุมากขึ้น จำนวนไข่จึงเริ่มน้อยลง คุณภาพก็ด้อยตามลงไป

จึงเป็นผลให้ผู้หญิงช่วงวัย 40-49 ปีขึ้นไป ประสบปัญหาการมีบุตรยาก และเมื่ออายุ 49-50 ปีจะเป็นช่วงเข้าสู่วัยทอง รังไข่หยุดทำงาน ประจำเดือนหมด และจะไม่สามารถมีลูกได้”

แต่สาวๆที่แต่งงานเร็วก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะมีโอกาสจะเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนด ( Premature Ovarian Insufficiency: POI )

หนึ่งในสาเหตุที่ทำให้มีบุตรยากได้เช่นกัน โรคนี้พบในคนอายุต่ำกว่า 40 ปี ที่รังไข่ทำงานลดน้อยลงหรือเหลือปริมาณไข่ในรังไข่น้อย จึงทำให้คุณผู้หญิงเสี่ยงต่อการมีบุตรยาก

สาเหตุของภาวะดังกล่าวอาจเกิดจากโรคเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกัน โรคทางพันธุกรรม การรับคีโมหรือฉายรังสีเพื่อรักษาโรค และเรายังพบว่ามีคนไข้จำนวนมากที่ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดเช่นกัน

ที่สำคัญก็คือในระยะเริ่มต้นของภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดจะไม่มีการแสดงอาการแต่อย่างใด และจะส่งสัญญาณประจำเดือนมาไม่ปกติ เมื่อรังไข่เริ่มเสื่อมไปมากแล้ว

แต่อย่างไรก็ตามคุณผู้หญิงสามารถรู้ว่าตัวเองเป็นภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดได้นั้น เราอาจใช้การตรวจฮอร์โมน AMH ในการตรวจคัดกรองได้

แนะนำว่าผู้ที่มีความต้องการจะมีบุตรตั้งแต่อายุ 35 ปีขึ้นไป ควรรีบตรวจให้แน่ใจ แม้จะไม่ได้มีอาการประจำเดือนมาไม่ปกติก็ตาม

AMH คืออะไร? ทำไมคุณผู้หญิงถึงควรเข้ารับการตรวจ ?

AMH หรือ Anti-Mullerian hormone เป็นฮอร์โมนหนึ่งของผู้หญิง จะมีปริมาณสัมพันธ์กับจำนวนไข่ใบเล็ก ๆ (antral follicles) ในรังไข่ แพทย์จึงใช้ฮอร์โมนนี้ในการตรวจวัดปริมาณของไข่ในรังไข่ได้

ซึ่งการตรวจ AMH นี้เป็นการตรวจแบบใหม่ที่ได้รับความนิยมอย่างมากในต่างประเทศ ด้วยความแม่นยำในการตรวจที่มากกว่าการตรวจด้วย FSH: Follicle-Stimulating hormone หรือการทำอัลตราซาวน์นับฟองไข่ในวันที่ 2-3 ของประจำเดือน 

มีวิธีการตรวจง่าย ๆ เพียงแค่เจาะเลือดเพื่อตรวจหาระดับ Anti-Mullerian hormone (AMH) และส่งตัวอย่างเลือดไปยังห้องแล็บ ซึ่งจะทราบผลการตรวจได้ภายใน 1-2 วัน หากระดับ AMH สูง แสดงว่าไข่มีปริมาณมาก ถ้าระดับค่า AMH ต่ำก็แปลว่าไข่เหลือในปริมาณน้อย การตรวจดังกล่าวจะทำให้รู้ว่าเราต้องรีบเร่งที่จะมีลูกในเวลาอันรวดเร็ว หรือจะปล่อยให้มีแบบไปเรื่อย ๆ ได้อีกนาน 

เนื่องจากผลตรวจดังกล่าวจะทำให้เรารู้ว่ารังไข่ทำงานเป็นอย่างไร ปกติหรือไม่ จะได้วางแผนการมีบุตรต่อไปได้อย่างวางใจ นอกจากนั้นแล้วเรายังสามารถใช้  AMH ในการทำนายการตอบสนองของรังไข่ว่าจะตอบสนองมากน้อยเพียงใดหากเข้ารับการกระตุ้นรังไข่ในกระบวนการของเทคโนโลยีเพื่อการมีบุตร

และใช้ทำนายการตอบสนองรังไข่ว่าจะมีความเสี่ยงของการเกิดภาวะรังไข่ถูกกระตุ้นมากเกินไปหรือไม่ได้อีกด้วย นี่จึงเป็นเหตุผลที่คุณผู้หญิงควรรีบมาตรวจ AMH เพื่อเตรียมความพร้อมในการตั้งครรภ์ต่อไป

หมดกังวลหากตรวจพบเป็นภาวะรังไข่เสื่อมเสี่ยงมีบุตรยาก

อย่างไรก็ตามภาวะรังไข่เสื่อมก่อนกำหนดไม่ถือเป็นเรื่องน่ากลัว เพราะไม่ได้หมายความว่าหากเป็นโรคนี้แล้วจะไม่สามารถมีลูกได้ แนะนำให้เข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ เพื่อค้นหาต้นเหตุเพื่อทำการรักษาไม่ให้อาการแย่ลง หรือในกรณีที่ไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

แพทย์แนะนำให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรง มีเพศสัมพันธ์ในช่วงที่ไข่ตกเพื่อให้มีโอกาสตั้งครรภ์ได้มากที่สุด แต่หากยังไม่ประสบความสำเร็จก็สามารถใช้เทคนิคเข้ามาช่วยในการมีบุตรได้เช่นกัน

ทั้งการฉีดอสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง การทำเด็กหลอดแก้ว หรือการปฏิสนธินอกร่างกาย ซึ่งความสำเร็จก็ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย โดยเฉพาะอายุและสุขภาพของทั้งคุณพ่อและคุณแม่ด้วย

“ปัจจุบัน ภาวะมีบุตรยากเป็นปัญหาของคู่แต่งงานหลายคู่ แต่ด้วยเทคโนโลยีด้านการแพทย์ที่พัฒนามากขึ้นก็เป็นตัวช่วยสำคัญที่จะทำให้การมีบุตรไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป

ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2 มีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการมีบุตรยาก พร้อมเทคโนโลยีและนวัตกรรมการแพทย์รองรับการรักษาที่หลากหลายรูปแบบ ดังนั้นคู่รักที่วางแผนจะมีบุตรในอนาคต ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์พร้อมตรวจสุขภาพเบื้องต้น เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมล่วงหน้าสำหรับการมีบุตรต่อไป” นพ.ธีรยุทธ์ จงวุฒิเวศย์ สรุป

สนใจเข้ารับคำปรึกษาจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญสามารถติดต่อได้ที่ ศูนย์รักษาภาวะมีบุตรยาก โรงพยาบาลพญาไท 2 อาคาร B ชั้น 10 โทร 02-617-2444 ต่อ 1057-8 Call center 1772

แท็ก :  เว็บสุขภาพ, เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข, สุขภาพจิต, ข้อมูล เพื่อ สุขภาพ, สุขภาพกาย, เช็คสุขภาพออนไลน์

23 มีนาคม 2566

ผู้ชม 3581 ครั้ง

Engine by shopup.com