ด่วน ! แพทย์เตือนภัย หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์ให้ไว

บทความ

ด่วน ! แพทย์เตือนภัย หน้าเบี้ยวครึ่งซีก เกิดจากความผิดปกติของเส้นประสาท ควรรีบพบแพทย์ให้ไว

แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ , เว็บไซต์ ข้อมูล ด้าน สุขภาพ , เว็บไซต์สุขภาพ ปัญหาสุขภาพ , สถาบันประสาทวิทยา , ใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว , หลับตาไม่สนิท , ปากเบี้ยว  , น้ำไหลที่มุมปาก , พูดไม่ชัด , อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก , Bells palsy , การอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า 

News Update วันจันทร์ที่ 7 ตุลาคม 2562 : สถาบันประสาทวิทยา แนะหากอ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ใบหน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว  มีน้ำไหลที่มุมปาก และอาจพูดไม่ชัด

การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูอื้อข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ดื่มน้ำลำบากพูดไม่ชัด เป็นผลมาจากเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ผิดปกติ

ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook  รายงานว่า นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึง อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ( Bell’s palsy ) คือภาวะที่กล้ามเนื้อใบหน้าข้างใดข้างหนึ่งอ่อนแรงหรือเกิดอัมพาตชั่วขณะ

โดยมีสาเหตุมาจากการอักเสบของเส้นประสาทบนใบหน้า ส่งผลให้หน้าเบี้ยวครึ่งซีกเป็นผลมาจากเส้นประสาทใบหน้าหรือเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ซึ่งอยู่ตรงใบหน้าแต่ละข้างทำหน้าที่รองรับการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อใบหน้า

เช่น ยิ้ม  ทำหน้าบึ้ง หรือหลับตา รวมทั้งรับรสจากลิ้นและส่งต่อไปยังสมองเกิดการอักเสบส่งผลต่อการรับรส  การผลิตน้ำตา และต่อมน้ำลาย

ปากเบี้ยว ถือเป็น ปัญหาสุขภาพ ที่เกิดขึ้นทันที และมักจะเกิดขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง โดยผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการปากเบี้ยว

เช่น หญิงตั้งครรภ์ โดยเฉพาะผู้ที่อายุครรภ์มาก หรือหลังคลอดภายใน 1 สัปดาห์ ผู้ป่วย ที่เป็นโรคเบาหวานติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน เช่น ป่วยเป็นไข้หวัด

ด้าน แพทย์หญิงทัศนีย์ ตันติฤทธิ์ศักดิ์ รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า  ผู้ป่วยจะมีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง บริเวณใบหน้าครึ่งซีก ทำให้หน้าเบี้ยว หลับตาไม่สนิท ปากเบี้ยว  มีน้ำไหลที่มุมปาก

และอาจพูดไม่ชัด การรับรสที่ลิ้นผิดปกติ ปวดศีรษะ หูได้ยินเสียงดังขึ้นข้างเดียว ดื่มน้ำลำบาก ยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดการอักเสบของเส้นประสาท ดังกล่าว

แต่อาจมีแนวโน้มมาจากการติดเชื้อไวรัสที่ทำให้เกิดภาวะปากเบี้ยว ได้แก่ โรคงูสวัส  เป็นต้น ดังนั้นผู้ป่วยควรพบแพทย์เมื่อมีอาการเพื่อรีบรักษา

ซึ่งการรักษา อาการปากเบี้ยว ประกอบด้วยการรักษาด้วยยา ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวได้เร็วกว่าเดิม การรักษาทางกายภาพบำบัด

เช่น กระตุ้นเส้นประสาทด้วยกระแสไฟฟ้า หรือนวดใบหน้า ช่วยลดภาวะกล้ามเนื้อตึงเกร็ง และการผ่าตัด

อย่างไรก็ตาม อาการปากเบี้ยวหรือหน้าเบี้ยวครึ่งซีก ยังไม่มีวิธีการป้องกันที่ชัดเจน เนื่องจากสาเหตุเกิดจากการอักเสบของเส้นประสาทใบหน้าที่มักจะเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็ว และรุนแรง

ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักจะหายภายในระยะเวลาเป็นสัปดาห์ถึงเดือน แต่จะมีผู้ป่วยบางกลุ่มที่อาจกลับเป็นปกติต่ำกว่าหรือใช้ระยะเวลานานกว่า เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยเบาหวาน ผู้ป่วยโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ

#กรมการแพทย์ #สถาบันประสาทวิทยา #ใบหน้าเบี้ยวครึ่งซีก

08 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 4663 ครั้ง

Engine by shopup.com