แพทย์ จาก สถาบันโรคผิวหนัง เตือนภัย ด้วงก้นกระดก พบมากช่วงปลายฝน ระวังโดนกัด แพ้รุนแรงมีไข้สูง หากเป็นที่ตาอาจตาบอด

บทความ

แพทย์ จาก สถาบันโรคผิวหนัง เตือนภัย ด้วงก้นกระดก พบมากช่วงปลายฝน ระวังโดนกัด แพ้รุนแรงมีไข้สูง หากเป็นที่ตาอาจตาบอด

เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข - แพทย์ จาก สถาบันโรคผิวหนัง เตือนภัย ด้วงก้นกระดก พบมากช่วงปลายฝน ระวังโดนกัด แพ้รุนแรงมีไข้สูง หากเป็นที่ตาอาจตาบอด

News Update  : สถาบันโรคผิวหนัง เตือนประชาชนช่วงปลายฝนให้ระวังโรคผิวหนังจากการสัมผัส ด้วงก้นกระดก  พบมากบริเวณนอกร่มผ้า  ลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ 

หากรับพิษมาก แพ้รุนแรงจะมีไข้สูง มีอาการทางระบบหายใจ และหากเป็นที่ตาอาจทำให้ตาบอด

ผู้สื่อข่าวเว็บไซต์เมดฮับนิวส์ดอทคอม และ เพจ sasook  รายงานว่า นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยถึงกรณีการเสนอข่าวเรื่องเตือนภัย หนุ่มถูกแมลงก้นกระดก แพ้จนเป็นเหวอะขึ้นที่หน้า

หากพบอย่าโดนหรือสัมผัสนั้น ด้วงก้นกระดกหรือแมลงก้นกระดก เป็นแมลงที่พบมากในนาข้าวและพื้นที่การเกษตร

ด้วงก้นกระดก หรืออีกชื่อคือ แมลงเฟรชชี่ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Paederus fuscipes Curtis และมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Rove beetles เป็นแมลงปีกแข็งที่พบได้หลายๆ

ส่วนใหญ่ ด้วงก้นกระดกจะอยู่ตามแหล่งน้ำ นาข้าว หรือตามพงหญ้า โดยจะพบการระบาดของแมลง หรือ ด้วงก้นกระดกในปลายหน้าฝนเป็นส่วนใหญ่

จากข้อมูลด้านระบาดวิทยาของผู้ป่วยที่มารับการรักษาที่สถาบันโรคผิวหนัง พบว่าช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม จะมีการกระจายตัวของผู้ป่วยภาวะผื่นผิวหนังอักเสบจากด้วงก้นกระดกมากที่สุด

อาการผิวหนังอักเสบ เกิดจากการที่มีแมลงมาเกาะตามร่างกายแล้วเผลอปัด หรือบี้ทำให้แมลงท้องแตกและสัมผัสกับสารพิษในตัวแมลง

อาการจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณสารพิษที่สัมผัส ไม่ได้เกิดขึ้นทันที แต่จะมีอาการหลังสัมผัสแล้วประมาณ 8-12 ชั่วโมง  พบมากบริเวณนอกร่มผ้า  โดยมีลักษณะเป็นผื่นแดงหรือเป็นรอยไหม้ รูปร่างมักเป็นทางยาว เป็นไปตามรอยปาดของมือที่บี้แมลง

ด้าน แพทย์หญิงมิ่งขวัญ  วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ลักษณะของผื่นที่โดนแมลงด้วงก้นกระดก ผื่นมีขอบเขตชัดเจน 

ในระยะ 2-3 วัน จะมีตุ่มน้ำพองใสและตุ่มหนองขนาดเล็กเกิดขึ้น อาการคันมีไม่มากนัก  แต่มักมีอาการแสบร้อนร่วมด้วย  

หากสารพิษในตัวแมลงกระจายถูกบริเวณดวงตา จะทำให้ตาบวมแดง และอาจตาบอดได้  ทั้งนี้ ผื่นบริเวณใบหน้า รอบดวงตา หรือบริเวณผิวอ่อน มักจะมีอาการรุนแรงมากกว่าที่อื่น 

แต่บริเวณฝ่ามือจะไม่ค่อยมีอาการ เนื่องจากบริเวณนี้มีผิวหนากว่าผิวส่วนอื่น  ซึ่งอาการอักเสบเหล่านี้จะหายไปในเวลาประมาณ 1-2 สัปดาห์

โดยทั่วไปอาการอักเสบจากด้วงก้นกระดกจะไม่รุนแรง ยกเว้นในรายที่ได้รับพิษจำนวนมาก หรือมีอาการแพ้รุนแรงจะมีไข้สูง และมีอาการทางระบบหายใจ

สำหรับการรักษาและการป้องกันเมื่อสัมผัสกับแมลงก้นกระดกให้ล้างด้วยน้ำสะอาด ฟอกสบู่ หรือเช็ดด้วยแอมโมเนีย  อย่าเกาเพราะจะทำให้มีการติดเชื้อแทรกซ้อนได้

หากอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์  ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสแมลง หากแมลงมาเกาะตามร่างกาย อย่าตบหรือตีแต่ให้เป่า หรืออาจจะใช้เทปกาวใสมาแปะตัวแมลงออกไป 

รวมทั้งก่อนนอนควรปัดที่นอน  ผ้าห่มจนแน่ใจว่าไม่มีแมลง ปิดประตูหน้าต่างให้มิดชิด  เปิดไฟเฉพาะที่จำเป็นเพื่อไม่ให้แมลงชนิดนี้มาเล่นไฟ 

05 สิงหาคม 2563

ผู้ชม 3867 ครั้ง

Engine by shopup.com