ไขข้อสงสัย ฮีโร่กู้ภัยหนุ่ม อนุ สุขสมอรรถ หรือ นุ ฮานามิ กู้ภัยช่วยน้ำท่วมที่อุบลราชธานี ปอดติดเชื้อราตาย

บทความ

ไขข้อสงสัย ฮีโร่กู้ภัยหนุ่ม อนุ สุขสมอรรถ หรือ นุ ฮานามิ กู้ภัยช่วยน้ำท่วมที่อุบลราชธานี ปอดติดเชื้อราตาย

News Update วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2562 : เรื่องราวที่บรรดาเพื่อนๆ ยังคงทำใจไม่ได้ กับการอาลัย ฮีโร่กู้ภัยหนุ่ม  อนุ สุขสมอรรถ หรือ นุ ฮานามิ

หรือ ฉายา เทวทูต ข้างถนน อาสาสมัครกู้ภัย มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จุดวังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

ข่าวจากไทยโพสต์ 

เคยเรียนคณะวิศวกรรมอุตสาหการ ม.ธุรกิจบัณฑิตย์  บ้านเกิดอยู่ อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา แต่มาพักอาศัย ทำงานตอนกลางวัน ที่วังน้อย อยุธยา

ส่วนกลางคืนทำงานอาสาสมัครกู้ภัยมูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จุดวังน้อย กิตติ 5- 00 เสียชีวิตจากการติดเชื้อราที่กระเพาะอาหาร ลามไปปอด  

หลังจากเข้าปฏิบัติภารกิจช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งมีผู้มีน้ำใจไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุบลราชธานี จำนวนมาก

medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า การเสียชีวิตในครั้งนี้ของ อนุ สุขสมอรรถ ยังคงสร้างความงุนงงให้กับบรรดาเพื่อนๆ  ของ นุ

เพราะปกติร่างกายแข็งแรง ทำงานหนักตลอด แต่หลังจาก นุ ได้ไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยที่จังหวัดอุบลราชธานี

และได้ติดเชื้อราที่กระเพาะอาหาร ลามไปยังปอด ทำให้อาการทรุดลงอย่างมาก และ นุ ก็สู้จนถึงวินาทีสุดท้าย

ทำให้หลายๆ คนสงสัยว่า วัยรุ่นที่ร่างกายแข็งแรงมีโอกาสติดเชื้อราจนตายด้วยเหรอ

หากลำดับเหตุการณ์คือ นุได้ไปช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยน้ำท่วมที่จังหวัดอุบลราชธานี

ซึ่ง นุ ได้ลงน้ำในบางช่วง ตัวเปียก อับชื้น และน้ำก็สกปรกมาก

ในทางการแพทย์ การป้องกันการติดเชื้อรา คือ การรักษาความสะอาดของร่างกาย อาบน้ำและทำความสะอาดร่างกายอย่างสม่ำเสมอ โดยเช็ดตัวให้แห้งทุกครั้งหลังอาบน้ำ

เปลี่ยนเสื้อผ้าทุกครั้งหลังออกกำลังกาย เชื้อราเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมที่อับชื้น หลีกเลี่ยงการเดินเท้าเปล่าในที่ชื้น เพราะพื้นที่เปียกชื้น โดยเฉพาะในที่สาธารณะเพื่อป้องกันการติดเชื้อราที่เท้าหรือเล็บเท้า

ทั้งนี้ เชื้อราก่อให้เกิดโรคได้หลายชนิด  กรณีของนุ  อาจเปียกน้ำ หรือ อับชื้น จึงก่อโรคมิวคอร์ไมโคซิส เกิดจากเชื้อรากลุ่มมิวคอร์ไมโคซิส เมื่อสูดดมสปอร์ของเชื้อรานี้เข้าไป

มักก่อให้เกิดการติดเชื้อบริเวณโพรงจมูก ไซนัส หรือ ปอด หรืออาจเกิดการติดเชื้อที่ผิวหนังหากสัมผัสกับเชื้อบริเวณที่มีแผล ซึ่งเมื่อเข้าสู่ปอดทำให้ปอดอักเสบและเสียชีวิต

นอกจากนี้ ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อรามากกว่าคนทั่วไป ควรระมัดระวังการติดเชื้อรามากเป็นพิเศษ

และปรึกษาแพทย์ถึงแนวทางในการป้องกันความเสี่ยงด้านนี้ด้วย เช่น ผู้ติดเชื้อ ผู้ที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะหรือปลูกถ่ายสเต็มเซลล์ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ที่พักรักษาตัวในโรงพยาบาล

เมื่อได้คำตอบแล้ว บรรดาเพื่อนๆ น่าจะเข้าใจ และ ป้องกันการติดเชื้อราด้วยการลดความเสี่ยงในการได้รับเชื้อ คือ ไม่ไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อับชื้น

หากตัวเราเองทราบดีว่ากำลังป่วย หรือ ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ซึ่งเป็นไปได้ในกรณีทำงานหนัก อดหลับ อดนอน

20 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 1905 ครั้ง

Engine by shopup.com