มาตรา 1 คืออะไร ? ทำไม บิ๊กแดง พล.อ.อภิรัชต์ ต้อง Weakest Link แถมโอเวอร์แอคติ้งขนาดนี้
มาตรา 1 คืออะไร ? ทำไม บิ๊กแดง พล.อ.อภิรัชต์ ต้อง Weakest Link แถมโอเวอร์แอคติ้งขนาดนี้
News Update วันเสาร์ที่ 12 ตุลาคม 2562 : จากโลกออนไลน์ จู่ๆ คำว่า #ควายแดง ติดอันดับหนึ่งเทรนด์ทวิตเตอร์ บรรดาวัยรุ่น ต้องไปหาอ่านว่าหมายถึงอะไร สังคมกำลังคิดอะไรกันอยู่ ?
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า หลังจากไปตามอ่านแล้วก็ทราบเรื่อง
มาจากกรณีคำอภิปรายช่วงหนึ่งของ ดร.ชลิตา บัณฑุวงศ์ อาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตร ในเวทีเสวนาเรื่องการแก้ปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ จ.ปัตตานี เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2562
ได้มีการพูดถึง การแก้ไข มาตรา 1 ของรัฐธรรมนูญ หลังจากนั้นได้กลายเป็นประเด็นร้อนทางการเมือง และ สุ่มไฟ ให้ร้อนขึ้น
จาก พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) หรือ บิ๊กแดง ที่ออกมาพูดทำให้สังคมตกใจ คนรุ่นใหม่ก็งงไปด้วยว่ามันต้องทำให้เกิดแรงกระเพื่อมขนาดนั้นเลยหรือ ?
ความสำคัญและความหมายของ มาตรา 1 ประการที่ 1 กฎหมายใดก็ตาม ถ้ามีเนื้อหาเป็น มาตรา 1 และอยู่ในบททั่วไป โดยหลักกฎหมายถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ตำแหน่งของมันที่ถูกวางไว้เป็นมาตราแรก แสดงให้เห็นว่ามีความสำคัญ
ประการที่ 2 รัฐธรรมนูญมาตรานี้รับรองเรื่องรูปแบบของรัฐว่า ประเทศไทยจะต้องมีรูปแบบเป็นรัฐเดียวเท่านั้น ไม่มีสิทธิที่จะเป็นมลรัฐหรือสหพันธรัฐฯ
ประการที่ 3 มาตรา 1 มีคำว่า “ราชอาณาจักร” หมายถึงอาณาจักรที่มีประมุขของรัฐเป็นพระมหากษัตริย์
การแก้ไข รัฐธรรมนูญมาตรา 1 หากมีข้อเสนอเรื่องการแก้ไขมาตรา 1 ก็จะต้องไปดูเรื่องการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ซึ่งมีการเขียนล็อกไว้ในมาตรา 255
ที่ระบุว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบของรัฐ จะกระทำมิได้”
คำว่า “รูปแบบของรัฐ” นี่แปลว่าจะแก้มาตรา 1 ไม่ได้ แค่คิดว่าจะเสนอแก้ก็แก้ไม่ได้แล้วเพราะติดล็อกตามมาตรา 255
ปกติหมวด 1 และ 2 ของรัฐธรรมนูญจะไม่มีการแตะต้อง โดยเฉพาะมาตรา 1 ในภาษาเทคนิคเรียกว่าเป็น บทนิรันดร์ หรือ eternity clause
เป็นเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญที่แสดงไว้ว่าต่อไปในภาคหน้าห้ามแตะเรื่องนี้ ในต่างประเทศก็มีบทบัญญัติทำนองนี้เหมือนกัน ไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย บทนิรันดร์ในรัฐธรรมนูญเป็นเหมือนจิตวิญญาณร่วมกันของรัฐธรรมนูญฉบับนั้น ๆ
ขณะที่ เมื่อวันที่ 12 ต.ค. ที่พรรคอนาคตใหม่ รศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อและเลขาธิการ พรรคอนาคตใหม่
เปิดเวทีบรรยายพิเศษ หัวข้อ “แผ่นดินของเราในมุมมองประชาธิปไตย บทบาทของประชาชน ในการสร้างชาติ” เพื่อตอบโต้ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก
ต่อประเด็นต่างๆ ในการบรรยายพิเศษหัวข้อ “แผ่นดินของเราในมุมมองด้านความมั่นคง” เมื่อวันที่ี 11 ต.ค.ที่ผ่านมา
การบรรยายของตนวันนี้ ยืนยันกับประชาชนที่รับฟังว่า เราไม่จำเป็นต้องหลบซ่อน ไม่จำเป็นต้องกระมิดกระเมี้ยน ไม่จำเป็นต้องใช้วาทะประดิษฐ์คำ
เหน็บแนมไปมา ไม่ต้องใช้น้ำเสียงกระแทกกระทั้นเสียง ราวกับสบถคำออกมา ไม่ต้องใช้ภาพเงาดำทะมึน ไม่จำเป็นต้องตั้งฉายาสมมุติกับคนนั้นคนนี้
ไม่มีการประดิษฐ์ถ้อยคำกระแนะกระแหนซึ่งกันและกัน รับฟังแล้วไม่รื่นหูไม่สบายใจก็ต้องขอภัย ขอให้เข้าใจว่าอย่างน้อยนี่คือมิติใหม่ ในการเริ่มต้นสร้างบทสนทนากับผู้บัญชาการทหารบกอย่างตรงไปตรงมาในที่สาธารณะ
ส่วนกรณีที่ พล.อ.อภิรัชต์ กล่าวถึง ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ หรือ ไฮบริด วอร์แฟร์ นั้น ในต่างประเทศกลับมองประเทศไทยว่าเป็นระบอบลูกผสม หรือ ไฮบริด รีจีม ที่มีสาระสำคัญคือใช้ระบบเลือกตั้งเป็นเครื่องมือสืบทอดอำนาจ
สิ่งที่ผบ.ทบ.ระบุถึงวอร์แฟร์นั้น ในเทรนด์ของโลกมีการพูดถึง ลอว์แฟร์ คือการใช้กฎหมายเพื่อทำลายคนเห็นต่างและคู่ต่อสู้ทางการเมือง
อย่างไรก็ตาม ตนไม่เชื่อว่าหากต้องการให้ประเทศพ้นวิกฤต จะสามารถฝากความหวังไว้กับคน 3 กลุ่ม คือ กองทัพ, รัฐบาลสืบทอดอำนาจ และสื่อมวลชนที่ยุยงปลุกปั่น ที่ลักษณะคล้ายกับดาวสยาม แต่เป็นยุค 4.0
สรุปแล้ว ระดับ ผู้บัญชาการทหารบก ต้องใช้ วาทะประดิษฐ์ คำเหน็บแนม ใช้น้ำเสียงกระแทกกระทั้น
ทั้งๆ ที่บ้านเมืองตอนนี้มีปัญหาปากท้องให้แก้ไขอีกมากมาย ถ้าคนทำมาหากินไม่ได้ ก็ต้องเจอแรงกดดันต่อไป
14 ตุลาคม 2562
ผู้ชม 1888 ครั้ง