มาทำความรู้จัก ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหิดล กับผลงานล่าสุด ที่ต้องบอกว่าเจ๋งมาก

บทความ

มาทำความรู้จัก ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหิดล กับผลงานล่าสุด ที่ต้องบอกว่าเจ๋งมาก

หมวดหมู่: "สกู๊ปพิเศษ"

News Update วันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2562 : ตั้งแต่ ปี 2508 ที่ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ถือกำเนิดขึ้นมาเป็นลำดับแรกๆ ในภูมิภาคอาเซียน

รับใช้สังคมภายใต้อัตลักษณ์ "Strong in Practice, Smart in Profession" มาเป็นเวลา 54 ปี ได้พิสูจน์แล้วถึงศักยภาพทางวิชาการ และการวิจัยที่แข็งแกร่ง นำมาซึ่งภาคภูมิใจในวิชาชีพ

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุถึง รังสีเทคนิค  

เป็นวิชาชีพที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกระบวนการทางการแพทย์ และ ระบบสาธารณสุข ในการตรวจวินิจฉัย รักษา จำลองเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในร่างกาย โดยการใช้วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีทางด้านรังสีเทคนิค

ปัจจุบันความต้องการบุคลากรทางด้านรังสีเทคนิคเพื่อเข้าไปช่วยทำงานในโรงพยาบาล ทั้งภาครัฐ และเอกชนต่างๆ มีมากขึ้น

จนส่งผลทำให้เกิดความขาดแคลนทางวิชาชีพ  คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงได้มุ่งผลิตบัณฑิตรังสีเทคนิคเพื่อตอบสนองความต้องการเร่งด่วนดังกล่าว

โดยเน้นความมีศักยภาพสูงในเรื่องของการทำงาน โดยเฉพาะเรื่องของทักษะการปฏิบัติทางวิชาชีพสู่ระดับสากล

ปัจจุบันในประเทศเพื่อนบ้าน พบว่าโรงพยาบาลบางแห่งยังมีข้อจำกัดในการเข้าถึงเทคโนโลยี ยกตัวอย่างเช่น การใช้ "PACS" หรือ Picture Archiving and Communication System  

เป็นระบบสารสนเทศทางการแพทย์ที่มีการใช้ server ในการจัดเก็บและประมวลผล โดยจากห้องเอกซเรย์สามารถส่งภาพไปถึงแพทย์ผู้ทำการรักษา

ตลอดจนโรงพยาบาลอื่นๆ ที่ทำการรักษาร่วม โดยสามารถขึ้นไปอยู่บนแพลตฟอร์มบนดิจิทัลได้ทั้งหมด

มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ ได้ร่วมกับ FUJIFILM Asia Pacific Healthcare Learning Academy (FAHLA)

เปิดศูนย์การเรียนรู้ “MAHIDOL UNIVERSITY-FUJIFILM Asia Pacific Healthcare Learning Academy (MU-FAHLA) Center for Advanced Medical Imaging Informatics"

เพื่อเป็นศูนย์พัฒนาศักยภาพและพัฒนาวิชาชีพรังสีเทคนิค รวมถึงความรู้ทางด้านระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีทางการแพทย์แห่งแรกในประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ทีมวิทยากรนำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุทธพล วิเชียรอินทร์ อาจารย์ประจำภาควิชารังสีเทคนิค

โดยศูนย์ฯ ตั้งอยู่ ณ บริเวณชั้น 4 อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ หัวหน้าภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวเสริมว่า ศูนย์ MU-FAHLA จัดฝึกอบรมในหลักสูตรที่มีมาตรฐานระดับนานาชาติ  

ทั้งในระดับต้น ระดับกลาง และระดับสูง  ได้แก่ Digital Imaging & Medical Informatics Foundation, Medical Informatics Intermediate / PACS Administrator และ Advance Technique / Artificial Intelligence (AI)

โดยการสมัครจะมีอยู่ 2 ทาง ซึ่งทางแรกผ่านตัวแทนจำหน่ายท้องถิ่น (local distributors) ของ FUJIFILM และอีกทางสำหรับผู้สนใจทั่วไป

ทุกหลักสูตรมีประกาศนียบัตรให้สำหรับผู้ผ่านการอบรม ลงทะเบียนโดยตรงได้ที่ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

"หลักสูตรของเราเป็น general course ไม่ได้เน้นเฉพาะผลิตภัณฑ์ของผู้สนับสนุน โดยหลังจากพิธีเปิดศูนย์ฯ ได้มีการเริ่มจัดอบรมทันที โดยได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

ซึ่งปัจจุบันเทคโนโลยีทางรังสีวิทยา โดยเฉพาะการถ่ายภาพทางดิจิทัลนั้นมีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลา บุคลากรที่เข้ามาเรียนส่วนใหญ่เป็นนักรังสีเทคนิค

และบุคลากรทางด้าน IT จากทั้งในประเทศ และต่างประเทศ ซึ่งต้องการจะอัพเดทความรู้อยู่เสมอ โดยปลายทางที่จะได้รับประโยชน์ ก็คือ ผู้ป่วยนั่นเอง" ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นภาพงษ์ พงษ์นภางค์ กล่าว 

หมายเหตุ : น้องมัธยมปลายที่สนใจสาขานี้ ลองมางาน open house ของมหาวิทยาลัย หรือไปเข้าค่ายของคณะเทคนิคการแพทย์ก็ได้

ซึ่งจะมีการจัดให้น้อง ๆ ม.ปลาย ได้มาเรียนรู้ มาลองสัมผัสชีวิตนักศึกษาคณะ สาขานี้ดู ติดตามข่าวสารได้ การมาสัมผัสประสบการณ์จริงแบบนี้จะทำให้รู้ว่าตัวเองชอบจริงไหม

นอกจากเข้าค่ายแล้วก็สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมของคณะหรือภาควิชาตามอินเทอร์เน็ตได้เลย ควรศึกษาระเบียบการ การรับตรง โควตา แอดมิชชั่น เพื่อดูคะแนนว่าเท่าไรถึงจะมีโอกาสเข้ามาเรียนที่นี่ 

10 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 6629 ครั้ง

Engine by shopup.com