ภาพของ เป๊ก ผลิตโชค ภาพนี้ ฝีมือ โดม ปกรณ์ ลัม ช่วยผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย Thalassemia ได้มากขนาดไหน มาอ่านกัน

บทความ

ภาพของ เป๊ก ผลิตโชค ภาพนี้ ฝีมือ โดม ปกรณ์ ลัม ช่วยผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย Thalassemia ได้มากขนาดไหน

News Update วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม 2562 :  หลังจาก โปรเจ็กต์การกุศล PICTURE PERFECT photography exhibition ของคนหล่อใจบุญขั้นเทพ โดม ปกรณ์ ลัม

PICTURE PERFECT photography exhibition ประกอบไปด้วย ภาพถ่ายของศิลปินนักแสดงชื่อดังทั้ง ตูน บอดี้สแลม, เป๊ก ผลิตโชค, พลอย-เฌอมาลย์, อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม, ปู-พงษ์สิทธิ์ คำภีร์

โต้ง Twopee Southside, กอล์ฟ ฟักกลิ้งฮีโร่, บุรินทร์ บุญวิสุทธิ์, เจเจ-กฤษณภูมิ และ ต้าเหนิง-กัญญาวีร์

คำถาม ? ทำไม โดม ปกรณ์ ลัม จึงช่วยผู้ป่วยธาลัสซีเมีย เนื่องจากโดม ได้แรงบันดาลใจ ในงานวันธาลัสซีเมียโลก ณ โรงพยาบาลรามาธิบดี

โดม ปกรณ์ ลัม  ได้มีโอกาสใกล้ชิดกับคุณหมอ และน้องๆ ที่ป่วยเป็นโรคธาลัสซีเมีย เลยรู้ว่าโรคนี้ใกล้ตัวเรามาก เป็นโรคทางพันธุกรรม เราก็เริ่มสนใจ ได้รู้ข้อมูลมากขึ้น ได้รู้ว่าน้องๆ ต้องใช้เงินรักษาเยอะมาก ต่อคนล้านนึงเอาไม่อยู่

ทั้งนี้ บรรดาแฟนคลับ หรือ นุช ได้ร่วมกันประมูลภาพเป๊ก ผลิตโชค จนขึ้นเป็นศิลปินเบอร์หนึ่ง ด้วยยอดประมูล วันแรก  109,702 บาท ( หนึ่งแสนเก้าพันเจ็ดร้อยสองบาทถ้วน )

ล่าสุดยอดประมูลรูปทะลุ  300,702 บาท  ( สามแสนเจ็ดร้อยสองบาทถ้วน ) ซึ่งเป็นตัวเลข ณ วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม  2562

คราวนี้เรามาดูกันว่า เพราะเหตุใด จึงต้องช่วย ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย ซึ่งถือว่าเป็นบุญใหญ่มหาศาล ของบรรดาผู้บริจาค ทั้งในส่วนเจ้าของงาน ( โดม  ปกรณ์ ลัม )   ศิลปินสร้างแรงบันดาลใจ  ( เป๊ก ผลิตโชค  ) และ แฟนคลับ ( นุช )

สำหรับ โรคธาลัสซีเมีย Thalassemia เป็นปัญหาสำคัญของประเทศ เป็นโรคโลหิตจางทางพันธุกรรมที่พบบ่อยที่สุดในประเทศไทย

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า ผู้ที่มียีนแฝงสามารถถ่ายทอดความผิดปกติจากพ่อแม่สู่ลูกได้ ในประเทศไทยมีผู้ป่วยธาลัสซีเมียจำนวนร้อยละ 1 ของประชากร

หรือเท่ากับ 700,000 คน ซึ่งในจำนวนนี้100,000 คนมีอาการรุนแรงมากต้องได้รับการดูแลรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอตลอดชีวิต

ในขณะที่ทรัพยากรของประเทศมีอยู่อย่างจำกัด จึงเป็นภาระอันยิ่งใหญ่ที่ต้องช่วยกัน ทั้งในส่วนของแพทย์ และประชาชน

โดยนอกจากแพทย์ที่ต้องทำหน้าที่รักษาให้ดีที่สุดแล้ว ในส่วนของประชาชนก็ต้องร่วมป้องกันด้วย

สาขาวิชาโลหิตวิทยาและมะเร็งวิทยา ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบด มหาวิทยาลัยมหิดล จัดกิจกรรมวันธาลัสซีเมียเพื่อผู้ป่วยและประชาชน ครั้งที่ 4

“อินไซด์โรคธาลัสซีเมีย: คุณรู้จักโรคนี้ดีหรือยัง” ณ ห้องประชุมอรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ชั้น 5 อาคารศูนย์การแพทย์สิริกิติ์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ซึ่งการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นธาลัสซีเมียนั้นมีความสำคัญทั้งในส่วนของตัวผู้ป่วยเอง พ่อแม่ผู้ปกครอง และแพทย์ โดยในงานมีการจัดบรรยายให้ความรู้ พร้อมด้วยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญมาคอยให้คำแนะนำ

ศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า คนไทยทั่วไปมีโอกาสพบยีนโรคธาลัสซีเมียแฝงสูงถึงร้อยละ 40

ผู้ที่มีโอกาสพบยีนโรคธาลัสซีเมีย ได้แก่ คู่สมรสที่มีลูกเป็นผู้ที่มีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมีย และผู้ที่มีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือมียีนโรคธาลัสซีเมียแฝง

โดยที่ผู้ที่มียีนแฝงนั้นมีสุขภาพแข็งแรงเหมือนคนปกติ จะทราบว่ามียีนแฝงได้โดยการเจาะเลือดส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ

ผู้ที่ควรได้รับการตรวจเลือดเพื่อวินิจฉัยภาวะที่มียีนโรคธาลัสซีเมียแฝง คือ ผู้ที่อยู่ในวัยเจริญพันธุ์ที่มีโอกาสมีลูก และผู้ที่กำลังจะแต่งงานหรือกำลังวางแผนจะมีลูก รวมทั้งผู้ที่มีญาติเป็นโรคธาลัสซีเมีย หรือมียีนโรคธาลัสซีเมียแฝง

นอกจากนี้ หญิงตั้งครรภ์ทุกคนควรฝากครรภ์ตั้งแต่อายุครรภ์ไม่เกิน 8-12 สัปดาห์ เพื่อรับการตรวจเลือดว่ามียีนโรคธาลัสซีเมียแฝงหรือไม่

ถ้าตรวจพบว่ามียีนโรคธาลัสซีเมียแฝง ต้องรีบนำสามีมารับการตรวจเลือดว่ามียีนโรคธาลัสซีเมียแฝงด้วยหรือไม่ หากสามีก็มียีนโรคธาลัสซีเมียแฝงแพทย์จะให้คำปรึกษาเกี่ยวกับโอกาสเสี่ยงต่อการมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย

และดำเนินการตรวจทารกในครรภ์ว่าเป็นโรคธาลัสซีเมียหรือไม่ เมื่อตั้งครรภ์ประมาณ 10-20 สัปดาห์

ทั้งนี้ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียจะต้องมีวินัยในตัวเอง ทั้งในการรับประทานยา ออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง ตลอดจนมาพบแพทย์เพื่อรับเลือดอย่างสม่ำเสมอ ทุก 2 - 6 สัปดาห์

ด้าน รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้คำแนะนำในส่วนของการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด

ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ที่สามารถรักษาโรคธาลัสซีเมียให้หายขาดว่า

วิธีดังกล่าวยังไม่ได้รับการบรรจุให้อยู่ในแนวทางการรักษามาตรฐานของโรคธาลัสซีเมียของประเทศไทย

ซึ่งตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการทำประชาพิจารณ์

อย่างไรก็ตาม สปสช. เพิ่งรับรองให้สามารถปลูกถ่ายฯ ผู้ป่วยธาลัสซีเมียได้ แต่จำกัดเฉพาะในเด็กไทยที่อายุน้อยกว่า 10 ปี โดยสามารถใช้สิทธิ์ได้เพียง 6 รายต่อปีเท่านั้น

นอกจากนี้ ยังมีวิธีการรักษาโดยใช้ยีนบำบัด ซึ่งถึงแม้จะเป็นการรักษาวิธีใหม่ที่ทำให้ผู้ป่วยหายขาดจากโรคได้ และภาวะแทรกซ้อนระยะเฉียบพลันน้อยกว่าการปลูกถ่ายฯ

แต่ยังเป็นการรักษาที่มีราคาสูงมาก ถึงประมาณ 50 ล้านบาทและยังไม่ทราบถึงผลข้างเคียงในระยะยาว อีกทั้งเป็นวิธีการที่ไม่ครอบคลุมด้วยสิทธิการรักษาในระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า

ไม่เหมือนวิธีการที่ได้รับรองอย่างเช่น การรับเลือดการรับยาขับเหล็ก การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดฯ จากพี่น้องพ่อแม่เดียวกันที่เนื้อเยื่อเข้ากัน หรืออาสาสมัครจากสภากาชาดไทยที่เนื้อเยื่อเข้ากัน

"วิธีการที่ดีที่สุดสำหรับโรคธาลัสซีเมีย เนื่องจากเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เราจึงควรที่จะป้องกันไม่ให้เกิดผู้ป่วยรายใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดต่อตัวผู้ป่วย

และครอบครัว ตลอดจนเศรษฐกิจสังคมของประเทศไทย" รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อุษณรัสมิ์ อนุรัฐพันธ์ กล่าว

ฐิติรัตน์ เดชพรหม...... รายงาน

22 ตุลาคม 2562

ผู้ชม 5226 ครั้ง

Engine by shopup.com