5 เคล็ดลับ เลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม หรือ โรคกล้ามเนื้ออักเสบ จากความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง
5 เคล็ดลับ เลี่ยงอาการออฟฟิศซินโดรม หรือ โรคกล้ามเนื้ออักเสบ จากความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อบริเวณกระดูกสันหลัง
News Update วันอังคารที่ 29 ตุลาคม 2562 : กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย – 29 ตุลาคม 2562 – ออฟฟิศซินโดรม ( Office Syndrome )
โรคที่เกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบหรือความเมื่อยล้าของกล้ามเนื้อตรงบริเวณกระดูกสันหลัง
และเป็นโรคที่มักจะเกิดกับพนักงานออฟฟิศที่ต้องทำงานอยู่หน้าคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน หรือทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งในท่าซ้ำ ๆ
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า แม้อาการในระยะแรกอาจจะไม่รุนแรงมากนัก แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษาให้ถูกวิธี อาจจะลุกลามจนกลายเป็นอาการปวดเรื้อรังและเกิดอันตรายตามมาได้
เช่น ผลกระทบถึงกล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง ระบบหัวใจและหลอดเลือด ระบบทางเดินอาหาร การไหลเวียนของเลือด และความสามารถในการมองเห็นลดลง หรือ สำหรับบางคนอาจมีอาการแสดงออกทางอารมณ์
เช่น โรคซึมเศร้าและความเหนื่อยล้าทางจิตใจ ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้จะนำไปสู่ประสิทธิภาพในการทำงานที่ลดลง
โรงพยาบาลสมิติเวช ได้เผยข้อมูลเชิงสถิติว่า คนไทยกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ ที่ทำงานในออฟฟิศมักมีอาการออฟฟิศซินโดรม
ซึ่ง IWG ในฐานะผู้ดำเนินการบริหารแบรนด์ผู้ให้บริการพื้นที่สำนักงานชั้นนำระดับโลกอย่าง Regus (รีจัส), Spaces (สเปซเซส) และ HQ (เอชคิว)
จึงขอนำเสนอ 5 เคล็ดลับง่าย ๆ ที่สามารถทำได้ในที่ทำงานเพื่อหลีกเลี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรมนี้ เปลี่ยนท่านั่ง ยืดกล้ามเนื้อ ปรับอิริยาบถบ่อยๆ
มนุษย์ออฟฟิศใช้เวลาในการนั่งทำงานอย่างน้อยวันละ 8 ชั่วโมง ลองลุกจากที่นั่งแล้วออกห่างจากคอมพิวเตอร์บ้าง เพื่อยืดเส้นยืดสายผ่อนคลายขยับร่างกาย อย่างน้อยทุก ๆ 20 นาที เพื่อป้องกันการปวดกล้ามเนื้อ
อีกทั้งยังมีประโยชน์ในการช่วยกระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว ทุก ๆ 1 ชั่วโมง ลองเดินไปรอบ ๆ บริเวณโต๊ะทำงาน เพื่อยืดเส้นยืดสายผ่อนคลายกล้ามเนื้อ แขน ข้อมือและขา
เพราะนอกจากจะช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจได้ดีแล้ว ยังเป็นการช่วยพักสายตาได้ดีอีกด้วย
ผ่อนคลายสายตา
คุณเคยมีอาการเมื่อยล้าทางสายตา (Digital eye strain) มาก่อนหรือไม่ นั่นคือผลกระทบที่คุณได้รับจากการจ้องมองคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานเกินไป
ดังนั้นเพื่อหลีกเลี่ยงอาการเหล่านี้ ควรพักสายตาทุก ๆ 10 นาทีหรือกะพริบตาบ่อย ๆ
เพราะจะช่วยให้ดวงตาของคุณชุ่มชื้นขึ้น หรือลองเนรมิตพื้นที่สีเขียวขนาดย่อมให้โต๊ะทำงานของคุณ เพื่อลดอาการปวดตา ในขณะเดียวกันการเข้าถึงแสงธรรมชาติอย่างเพียงพอ ยังสามารถช่วยลดผลกระทบของอาการปวดตา
ซึ่งเป็นสาเหตุที่เราอยากแนะนำให้พนักงานออฟฟิศทุดท่านลองลดแสงจอคอมพิวเตอร์ลง เพื่อเป็นการลดปริมาณแสงสีน้ำเงินที่ปล่อยออกมาสัมพันธ์กับดวงตาให้น้อยที่สุด ซึ่งแสงสีน้ำเงินมักเป็นสีเจ้าปัญหาที่ทำให้เกิดความเครียดทางตามากกว่าสีอื่น ๆ
ไม่ไหวอย่าฝืน
การทำงานอย่างหนักเป็นสิ่งที่น่ายกย่อง แต่คุณควรรู้ถึงขีดจำกัดของตนเองไว้เสมอ หัดสังเกตอาการปวดและความรู้สึกเหนื่อยล้าที่มักเป็นอยู่บ่อยครั้ง
ซึ่งอาการเหล่านี้คือสัญญาณที่ร่างกายกำลังฟ้อง เมื่ออาการปวดดูท่าจะไม่หายง่ายๆ ลองหากิจกรรมอื่น ๆ ทำเพื่อเป็นการผ่อนคลายบรรเทาอาการปวด
ลองลุกขึ้น ดื่มน้ำ หรือออกไปเดินบ้างเพื่อยืดหยุ่นกล้ามเนื้อและรับอากาศบริสุทธิ์เพื่อเปลี่ยนทิวทัศน์ แล้วคุณจะกลับมานั่งโต๊ะทำงานเหมือนเดิมได้ด้วยความรู้สึกสดชื่น พร้อมลุยต่อได้
จัดพื้นที่ทำงานให้ตรงตามหลักสรีรศาสตร์
ควรทำให้แน่ใจว่าพื้นที่ทำงานของคุณเหมาะกับการใช้งานตามหลักสรีรศาสตร์ของคุณ ซึ่งนั่นหมายถึง ความสูงของเก้าอี้ ระยะห่างระหว่างอุปกรณ์บนโต๊ะทำงานต่าง ๆ
รวมไปถึงท่านั่ง ซึ่งช่วยให้คุณมีความสุขและสนุกไปกับการทำงานแบบไม่ต้องปวดข้อ แต่ก็ต้องตรวจสอบให้มั่นใจอีกว่าความสูงของเก้าอี้นั้นไม่เตี้ยหรือไม่สูงจนเกินไป
ควรอยู่ในจุดที่เหมาะสมที่สุดหรือเป็นตำแหน่งที่อยู่ในระยะสายตาที่คุณสามารถมองหน้าจอคอมพิวเตอร์ได้
รวมไปถึงระยะห่างคอมพิวเตอร์ควรอยู่ห่างจากคุณและดูให้แน่ใจว่าพื้นที่สำหรับวางเม้าส์นั้นเพียงพอต่อการรขยับแขนหรือไม่ แต่จะต้องพึงจำไว้ว่าแขนห้ามงอเด็ดขาด
ปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ของคุณ
มนุษย์ออฟฟิศเองนอกจากจะทำงานแล้วควรดูแลสุขภาพตัวเองอย่างสม่ำเสมอด้วยเช่นกัน ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ
แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีอาหารใดที่จะช่วยบำรุงหรือป้องกันไม่ให้เกิดโรคออฟฟิศซินโดรมได้ แต่อาหารเพื่อสุขภาพอย่างเช่น ผัก ผลไม้
และไขมันจากปลาที่พอเหมาะ จะช่วยลดการอักเสบภายในร่างกายมากกว่ารับประทานอาหารจากคาร์โบไฮเดรตและอาหารแปรรูป
ที่สำคัญห้ามลืมเด็ดขาด สำหรับการตรวจสุขภาพร่างกายอย่างเป็นประจำ เพราะถึงแม้ว่าอาการออฟฟิศซินโดรมอาจดูไม่รุนแรงในตอนแรก
แต่หากปล่อยทิ้งไว้เป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่ร้ายแรงต่อสุขภาพได้
10 กุมภาพันธ์ 2566
ผู้ชม 1533 ครั้ง