ทำความรู้จัก โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า โรคใกล้เคียง บอย ปกรณ์ ถูกแมลงกินเนื้อกัดที่ญี่ปุ่น

บทความ

ทำความรู้จัก โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า โรคใกล้เคียง บอย ปกรณ์ ถูกแมลงกินเนื้อกัดที่ญี่ปุ่น

แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ , แมลง กิน เนื้อ ญี่ปุ่น , แมลง กิน เนื้อ , โรคแมลงกินเนื้อ , โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน กรมควบคุมโรค , บอย ปกรณ์ , บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์  , ข่าววันนี้  , แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ 

News Update  : หลังจากพระเอกหนุ่ม  บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ ต้องเข้าผ่าตัดด่วน

จากรายงานข่าว ระบุว่า ถูกแมลงกินเนื้อ ที่ญี่ปุ่นกัด ซึ่ง บอยเปิดใจก่อนเข้าผ่าตัดว่า น่าจะโดนแมลงกัด เป็นมาประมาณ 2-3 วัน ไม่รู้ว่าเราไปโดนตอนไหน  

เจ้าตัวระบุว่า ตอนแรกเข้าใจว่าเป็นหนองเฉยๆ ไปๆมาๆไม่ใช่เพราะมันเริ่มอักเสบเยอะและเริ่มลามประมาณ 2 ฝ่ามือ และเริ่มมีอาการอย่างอื่น

เช่น มีไข้ และมีอาการหลายอย่างปนกัน เลยไปหาหมอ แล้วหมอบอกว่าต้องผ่าตัดเลยด่วนคืนนี้ การผ่าตัดจะต้องคว้านเอาเนื้อส่วนที่เป็นต้นเหตุออก

กระทั่ง บอย ปกรณ์ ผ่าตัดเสร็จแล้ว  เจ้าตัวชูสองนิ้วลงในอินสตาแกรม boy_pakorn ระบุว่า ผ่าตัดเสร็จละเด้อ ไม่ต้องเป็นห่วงนะจ๊ะทุกคน ขอโทษมากๆๆๆๆ

สำหรับทุกๆงานที่ผมไปไม่ได้ในช่วงนี้นะค้าบ #ขอโทษที่ทำให้วุ่นวายครับ #จะรีบหายรีบกลับไปทำงานนะค้าบ #ขอโทษในความกะทันหันครับ ทำให้แฟนคลับหายเป็นห่วง และแห่อวยพรขอให้หายไวไว

ในที่นี่ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า เราจะนำความรู้จากโรคคล้ายๆกัน

คือ โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า Necrotizing Fasciitis มาฝาก ซึ่งเป็นภาวะติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนที่อาจส่งผลให้ผิวหนังและกล้ามเนื้อถูกทำลายได้

ผู้ป่วยอาจมีอาการร้อนบริเวณผิวหนัง ผิวเปลี่ยนเป็นสีแดง รู้สึกเจ็บปวดบริเวณแผลซึ่งจะรู้สึกปวดมากขึ้น โดยการติดเชื้ออาจลุกลามไปอย่างรวดเร็ว รวมทั้งอาจมีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่

เช่น อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ มีไข้ คลื่นไส้ หรือท้องเสีย เป็นต้น แม้โรคนี้จะพบได้น้อย แต่อาจทำให้ป่วยรุนแรงจนเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยจึงต้องไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาอย่างทันท่วงที

หลังจากติดเชื้อไปแล้ว 3-4 วัน ผู้ป่วยอาจมีอาการรุนแรงมากขึ้น บริเวณที่เกิดการติดเชื้ออาจมีอาการบวม มีผื่นสีม่วงขึ้น หรือมีตุ่มน้ำสีเข้มที่ส่งกลิ่นเหม็น ผิวหนังอาจเกิดการเปลี่ยนสี

และเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอาจหลุดลอกออก เป็นต้น และเมื่อการติดเชื้อเข้าสู่วันที่ 4-5 ผู้ป่วยอาจมีภาวะวิกฤติ ได้แก่ ความดันโลหิตต่ำ ช็อก หรือหมดสติได้

สาเหตุ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เช่น สเตรปโตค็อคคัส กลุ่มเอ ( Group A Streptococcus) คลอสตริเดียม (Clostridium) เคล็บเซลลา (Klebsiella) สแตฟิโลค็อกคัส ออเรียส (Staphylococcus Aureus) อีโคไล (E. Coli)

และแอโรโมแนส ไฮโดรฟิลา (Aeromonas Hydrophila) เป็นต้น ซึ่งเชื้ออาจปล่อยสารพิษทำลายเนื้อเยื่อผิวหนังและกล้ามเนื้อจนส่งผลให้เนื้อเยื่อตายได้

โดยเชื้อแบคทีเรียเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งทางผิวหนังหรือกระแสเลือดผ่านทางแผลถูกบาด แผลถลอก รอยข่วน แมลงกัดต่อย การใช้เข็มฉีดยา หรือแผลผ่าตัด

การรักษา ผู้ป่วย Necrotizing Fasciitis อาจต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีที่เหมาะสมตามระยะของโรค โดยมีวิธีการรักษา

เช่น การใช้ยา ผู้ป่วยอาจต้องได้รับยาปฏิชีวนะ ซึ่งแพทย์มักให้ยาหลายชนิดร่วมกันทางหลอดเลือดดำ และยาควบคุมความดันโลหิต รวมทั้งสารภูมิคุ้มกันอิมมูโนโกลบูลินทางหลอดเลือดดำเพื่อช่วยให้ร่างกายต่อสู้กับภาวะติดเชื้อ

การผ่าตัด แพทย์อาจแนะนำให้ผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดกำจัดเนื้อเยื่อที่เสียหายหรือตาย เพื่อหยุดการกระจายของเชื้อ รวมทั้งอาจต้องตัดแขนหรือขาในบางกรณีหากการติดเชื้อลุกลามหรือรุนแรง

กรณีที่มีอาการรุนแรง ผู้ป่วยมักต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู และหลังการรักษา ผู้ป่วยบางรายที่ต้องตัดเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกไปปริมาณมากหรือต้องตัดแขนขา

อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดเพื่อตกแต่งบาดแผล หรือทำกายภาพบำบัด เป็นต้น

บอย ปกรณ์ ig @boy_pakorn 

10 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 5200 ครั้ง

Engine by shopup.com