มหาวิทยาลัยยืนหนึ่งในไทย จากการจัดอันดับของ usnews มอบให้ มหิดล ได้ Best Global Universities Rankings 2020
มหาวิทยาลัยยืนหนึ่งในไทย จากการจัดอันดับของ usnews มอบให้ มหิดล ได้ Best Global Universities Rankings 2020
มหาวิทยาลัยยืนหนึ่งในไทย จากการจัดอันดับของ usnews
มอบให้ มหิดล ได้ Best Global Universities Rankings 2020
News Update ม.มหิดล ติดอันดับที่ 522 ของโลก อันดับที่ 81 ของเอเชีย และอันดับ 1 ในประเทศไทย จากการประกาศของ U.S. News ประจำปี 2020 ตอกย้ำการเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยเน้นคุณภาพ
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นสถาบันการศึกษาชั้นนำของประเทศ
มีการขยายหลักสูตรการศึกษาออกไปหลากหลายสาขาวิชา เพื่อให้ครอบคลุมต่อความต้องการของประเทศ โดยเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยที่ให้ความสำคัญต่อการผลิตผลงานวิจัยเพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต
ในแต่ละปี มหาวิทยาลัยมหิดล มีผลงานวิชาการเป็นจำนวนมาก ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารระดับนานาชาติ
ส่งผลให้มหาวิทยาลัยมหิดลยังคงได้รับการจัดอันดับจากหลายสถาบัน เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทย ตลอดหลายปีที่ผ่านมา
เมื่อเร็วๆ นี้ ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า เว็บไซต์ www.usnews.com ได้ประกาศผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุด 1,000 มหาวิทยาลัยจากทั่วโลก ประจำปี 2020 "Best Global Universities Rankings 2020"
โดยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับที่ 522 ของโลก และอันดับที่ 1 ของประเทศไทย (อันดับที่ 71 ในสาขาวิชาจุลชีววิทยา (Microbiology) อันดับที่ 78 ในสาขาวิทยาภูมิคุ้มกัน (Immunology)
อันดับที่ 162 ในสาขาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา (Pharmacology and Toxicology) อันดับที่ 208 ในสาขาวิชาการแพทย์ (Clinical Medicine)
อันดับที่ 289 ในสาขาชีวโมเลกุลและพันธุศาสตร์ อันดับที่ 292ในสาขาชีววิทยาและชีวเคมี (Biology and Biochemistry) และอันดับที่ 411 ในสาขาวิชาสังคมศาสตร์และสาธารณสุขศาสตร์ (Social Sciences and Public Health)
นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยมหิดลยังเป็นอันดับ 1 ใน 9 ตัวชี้วัด (จากทั้งหมด 11 ตัวชี้วัด) ได้แก่ 1.จำนวนบทความทางวิชาการทั้งหมดที่ได้รับตีพิมพ์ในฐานข้อมูลวารสารชั้นนำระดับนานาชาติ
ได้แก่ InCites, ISI และ Web of Science) 2.การวัดสัดส่วนการถูกอ้างอิงต่อจำนวนบทความทางวิชาการที่ได้รับตีพิมพ์ 3.จำนวนการถูกอ้างอิงทั้งหมดจากบทความทางวิชาการที่ได้รับการตีพิมพ์
4.จำนวนบทความทางวิชาการที่อยู่ในกลุ่มร้อยละ 10 ของบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุด 5.สัดส่วนร้อยละของบทความทางวิชาการที่อยู่ในกลุ่มร้อยละ 10 ของบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดต่อจำนวนบทความทั้งหมด
6.จำนวนบทความทางวิชาการที่มี co-author กับสถาบันการศึกษาต่างประเทศ 7.สัดส่วนร้อยละของจำนวนบทความทางวิชาการที่มี co-author กับสถาบันการศึกษาต่างประเทศต่อจำนวนบทความทั้งหมด
8.จำนวนบทความทางวิชาการที่อยู่ในกลุ่มร้อยละ 1 ของบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดในสาขาวิชานั้นๆ และ 9.สัดส่วนร้อยละของจำนวนบทความทางวิชาการที่อยู่ในกลุ่มร้อยละ 1 ของบทความที่ได้รับการอ้างอิงสูงที่สุดในสาขาวิชาต่อจำนวนบทความทั้งหมดในสาขาวิชานั้นๆ
"ผลจากการจัดอันดับสะท้อนในเห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะยกระดับคุณภาพของการเรียนการสอนและการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล
รวมทั้งการเพิ่มขีดความสามารถทางวิชาการให้กับนักศึกษา เพื่อสร้างบัณฑิตไทยที่มีคุณภาพและพร้อมสู่การทำงานในระดับนานาชาติได้
และที่สำคัญ คือ การสร้างบัณฑิตให้ตอบสนองต่อความต้องการของสังคมอย่างแท้จริง" ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าว
ฐิติรัตน์ เดชพรหม.... รายงาน
17 พฤศจิกายน 2562
ผู้ชม 2575 ครั้ง