เอิน กัลยกร เดินหน้าฟ้องป้องกันไม่ให้เกิด cyber bully กรมสุขภาพจิต แนะเลี่ยง โซเชียลมีเดีย ทำกิจกรรมสร้างสรรค์

บทความ

เอิน กัลยกร เดินหน้าฟ้องป้องกันไม่ให้เกิด cyber bully กรมสุขภาพจิต แนะเลี่ยง โซเชียลมีเดีย ทำกิจกรรมสร้างสรรค์

เอินกัลยกร manager medhub news - News Update  : เอินกัลยกร เดินหน้าฟ้องป้องกันไม่ให้เกิด cyber bully  ในอนาคต กรมสุขภาพจิต แนะพ่อแม่ชวนลูกทำกิจกรรมสร้างสรรค์

รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ช่วยเสริมสร้างสุขภาพกายและใจที่ดี

ผ่านกิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ด้าน คือ 1. ท่องเที่ยวและทัศนศึกษา 2. เล่นกีฬา 3. เล่นดนตรี 4. อ่านหนังสือ และ 5. ทำกิจกรรมจิตอาสา

กลายเป็นประเด็นร้อนแรงอยู่ในขณะนี้สำหรับ อดีตนักร้องและนักแสดง เอิน กัลยกร นาคสมภพ ที่ถูกสำนักข่าวชื่อดังจั่วพาดหัว บรรยายรูปร่างของเธอแบบไม่ให้เกียรติ

เจ้าตัวก็ได้เปิดเผยเรื่องราวชีวิต จากการป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ผ่านมิวสิควิดีโอเพลง เจ็บ… เกินไป ประกอบสารคดี​สั้น​ Love​ in​ Depression

ต่อมา เอิร์นได้รายงานความคืบหน้าผ่านเฟสบุ๊คว่า นักข่าวที่โทรมาสัมภาษณ์ได้โทรมาขอโทษ แต่เอินระบุว่า อยากให้มีมาตรการจัดการที่เป็นรูปธรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการ cyber bully ต่อผู้อื่นในอนาคต

“นักข่าวที่สัมภาษณ์​โทรมาขอโทษเป็นการส่วนตัว​ บอกว่าเขามีหน้าที่สัมภาษณ์​ เขียนข่าว​ และส่งไปที่ทีม​ rewrite ที่โทรมาขอโทษส่วนตัว… รับไว้นะคะ เขาขอออกตัวขอโทษแทน​ “พี่ๆ” อันนี้ไม่รับค่ะ

รู้ว่าตอนนี้มีการเอาข่าวลงแล้ว… แต่ไม่พอนะคะ

และแจ้งไว้ตรงนี้นะคะ ไม่ต้องการแค่คำขอโทษค่ะ แต่ต้องการมาตรการในการจัดการ ที่เป็นรูปธรรม​สำหรับกรณีครั้งนี้ ต่อคนที่มีส่วนรับผิดชอบทุกคน

และต้องการมาตรการที่เป็นรูปธรรม ต่อการป้องกัน​ cyber bully ต่อผู้อื่นในอนาคตค่ะ

เพียงคำ​ “ขอโทษ” ที่ไร้มาตรการรองรับ ไร้ความหมายค่ะ”

ทั้งนี้ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า เธอยืนยันว่า จะฟ้องร้อง

เพื่อสร้างบรรทัดฐานใหม่ที่ดี ฝากไปทางสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทยด้วยนะคะ

ด้าน นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต อธิบดีกรมสุขภาพจิต กล่าวว่า ในสังคมยุคปัจจุบันที่สื่ออินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมโซเชียลมีเดียเข้ามามีอิทธิพลอย่างมาก

เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว จากการเชื่อมต่อผ่านทางโทรศัพท์มือถือหรือสมาร์ทโฟน ซึ่งเด็กในวัยเรียนส่วนใหญ่ใช้เวลาไปกับการเล่นเกมหรืออยู่กับหน้าจอมือถือนานเกินไป

อาจทำให้ส่งผลกระทบต่อทั้งร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมได้ ดังนั้น พ่อแม่ควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับเด็กๆ ด้วยการใช้โทรศัพท์มือถืออย่างระมัดระวังและใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น

และพยายามชักชวนลูกให้ไปทำกิจกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ แทนการให้ลูกอยู่แต่กับหน้าจอมือถือ เพื่อให้เด็กๆ เรียนรู้ที่จะใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ โดยผ่านกิจกรรมตามความชื่นชอบและสนใจของเด็กแต่ละคน

 ที่จะช่วยเสริมสร้างพัฒนาการที่ดีด้านต่างๆ รวมทั้งก่อให้เกิดความสุข สนุกสนาน มีสุขภาพแข็งแรงทั้งกายและใจ กรมสุขภาพจิตขอแนะนำกิจกรรมสร้างสรรค์ 5 ข้อ มีดังนี้

1 ท่องเที่ยวและทัศนศึกษา การออกไปท่องเที่ยวและทัศนศึกษาจะช่วยให้ผ่อนคลายความเครียด เสริมสร้างแรงบันดาลใจใหม่ๆ เพิ่มพลังบวกให้กับชีวิตเราได้

อีกทั้งยังช่วยให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี การพาเด็กออกไปเจอโลกกว้าง จะช่วยจุดประกายกระตุ้นการเรียนรู้ เป็นการเปิดโลกทัศน์เพิ่มพูนความรู้ประสบการณ์ในการรับสิ่งใหม่

 เสริมสร้างจินตนาการ ทำให้เกิดแนวความคิดสร้างสรรค์ไอเดียดีๆ เกิดความสุขสนุกสนานไปกับการเดินทาง สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า มีปฏิภาณไหวพริบที่ดี สามารถนำไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้

2  เล่นกีฬา การเล่นกีฬานอกจากจะทำให้สุขภาพร่างกายและจิตใจแข็งแรงแล้ว ยังช่วยปลูกฝังให้เด็กรู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย มีน้ำใจเป็นนักกีฬา การชักชวนให้ลูกเล่นกีฬา

พ่อแม่ควรให้ความสนใจไปที่ความพยายามทุ่มเทตั้งใจของเด็ก และความเพลิดเพลินของกีฬามากกว่า การคำนึงถึงผลแพ้-ชนะ ซึ่งจะทำให้เด็กๆ ที่เล่นกีฬามีความยืดหยุ่นทางจิตใจมากขึ้น

และเด็กจะได้เรียนรู้ที่จะต้องปฏิบัติตามกฎกติกามารยาท การเล่นเป็นทีม เพื่อเสริมสร้างความสามัคคี ฝึกจัดการกับอารมณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น อารมณ์โกรธ หงุดหงิด ไม่พอใจ ซึ่งเป็นสิ่งดีที่เด็กๆ จะได้เรียนรู้ในการควบคุมอารมณ์ของตัวเอง

3  เล่นดนตรี การเล่นดนตรีจะช่วยกล่อมเกลาจิตใจ ทำให้เกิดสมาธิ การเล่นดนตรีเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้ใช้ดนตรีเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ พัฒนาสมาธิ ความจำ พัฒนาบุคลิกภาพ

และเสริมสร้างความมั่นใจในตัวเอง ดนตรีคือศิลปะ การเล่นเครื่องดนตรีนั้น มีประโยชน์ทั้งร่างกายและจิตใจ สามารถช่วยลดความเครียดได้

ซึ่งเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สามารถบำบัดจิตใจได้ดี การสร้างเสียงดนตรีอันไพเราะนั้น ไม่ได้สร้างความสุขเฉพาะแค่ตัวเราเท่านั้น แต่ยังสามารถส่งต่อความสุขไปให้แก่คนอื่นๆ ได้อีกด้วย

4 อ่านหนังสือ เป็นการกระตุ้นการทำงานของสมอง ช่วยผ่อนคลาย ฝึกสมาธิ ทำให้จิตใจสงบ ส่งผลดีต่อความจำ ช่วยชะลอหรือป้องกันภาวะสมองเสื่อม

การอ่านหนังสือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ให้สาระ ความรู้ ความบันเทิง เพิ่มจินตนาการ เด็กจะได้สัมผัสเรียนรู้ความคิดและจิตใจของ ตัวละครต่างๆ ที่อ่านซึ่งอาจมีมุมมองที่แตกต่างกันออกไป

ฝึกฝนการคิดวิเคราะห์เมื่อต้องเจอสถานการณ์ปัญหาต่างๆ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตจริงได้ นอกจากนี้ การอ่านหนังสือให้เด็กฟังหรือชวนเด็กมาอ่านหนังสือด้วยกัน

หรือแม้แต่การชวนให้เด็กพูดคุยถึงเรื่องที่ได้เรียนรู้มาจากหนังสือ จะทำให้เด็กและผู้ใหญ่ได้แบ่งปันเรื่องราวซึ่งกันและกัน เป็นการใช้เวลาคุณภาพร่วมกันในครอบครัว นำไปสู่บรรยากาศในบ้านที่อบอุ่นและเป็นสุข

5 ทำกิจกรรมจิตอาสา การมีจิตสาธารณะ เสียสละ ทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เช่น ช่วยกันดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ปลูกป่า ปลูกต้นไม้ บริจาคเงินและสิ่งของ หรือเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กตามสถานสงเคราะห์ต่างๆ เป็นต้น

จะช่วยปลูกฝังจิตสำนึกในการรู้จักแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โอบอ้อมอารี มีน้ำใจต่อผู้อื่น ยินดีช่วยเหลือ ทำตนให้เป็นประโยชน์แก่ตนเอง ผู้อื่น และสังคม

จะส่งผลดีต่อตัวเด็กเอง ทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี ตลอดจนมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเข้าใจผู้อื่นได้ง่าย

สายด่วนสุขภาพจิต โทรฟรีไหม ? โทรฟรีค่ะ ...สายด่วนกรมสุขภาพจิต โทร 1323

สายด่วนสุขภาพจิต โทรไม่ติด ? กำลังปรับปรุงระบบค่ะ 

11 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 2546 ครั้ง

Engine by shopup.com