แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น หรือ โรคแมลงกินเนื้อ ที่บอย ปกรณ์ โดนแมลงกัดที่ญี่ปุ่น คืออะไร อันตรายถึงขั้นตัดอวัยวะทิ้ง
แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น หรือ โรคแมลงกินเนื้อ ที่บอย ปกรณ์ โดนแมลงกัดที่ญี่ปุ่น คืออะไร อันตรายถึงขั้นตัดอวัยวะทิ้ง
แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ , แมลง กิน เนื้อ ญี่ปุ่น , แมลง กิน เนื้อ , โรคแมลงกินเนื้อ medhub news
News Update : โรคบอยปกรณ์ คืออะไร ทำไมจึงแตกต่างจาก โรคแบคทีเรียกินเนื้อคน หรือโรคเนื้อเน่า Necrotizing fasciitis อย่างไร
สาเหตุที่ทำให้ บอยปกรณ์ป่วย และมีการเรียกชื่อไปต่างๆ นานา เช่น แมลงกินเนื้อ ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อที่ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อ
คำตอบคือ กรณี ข่าว โรคแมลงกินเนื้อ ซึ่งมีพาหะเป็น ตัวแมลง ของ พระเอกหนุ่มสายเกรียน บอย ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ เข้ารับการรักษาตัวเป็นการด่วน เนื่องจากมีอาการติดเชื้อ แบคทีเรียกินเนื้อคน
ชื่อ โรคแบคทีเรียกินเนื้อ ซึ่งเป็นผลมาจากการถูกแมลงกัด ขณะเดินทางไปพักผ่อนที่ประเทศญี่ปุ่น
โรคแบคทีเรียกินเนื้อ หรือ โรคเนื้อเน่า ( flesh-eating disease ) หรือชื่อทางการแพทย์ คือ โรค necrotizing fasciitis เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียอย่างรุนแรงที่ผิวหนังชั้นลึก
ตั้งแต่ชั้นหนังกำพร้า ชั้นหนังแท้ ชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ไปจนถึงชั้นเนื้อเยื่อหุ้มกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดการเน่าตายของเนื้อเยื่อบริเวณที่เกิดการติดเชื้อ และอาจลุกลามไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายได้
โรคนี้พบไม่บ่อย แต่มีความรุนแรงมาก ผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตหรือเกิดภาวะทุพพลภาพจากโรคตามมาได้สูงหากไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมอย่างทันท่วงที
ทั้งนี้ medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ปกรณ์ ฉัตรบริรักษ์ หรือ บอย ปกรณ์ ได้เล่าถึงประสบการณ์ ในการรักษาตัว จากโรค แมลง กิน เนื้อ ญี่ปุ่น รวมถึงความรู้สึกตลอดการรักษาที่เกี่ยวกับ แมลงกินเนื้อ ให้ฟังว่า
"คุณหมออนุญาตให้ออกมาทำงานได้แล้ว แต่ก็ต้องกลับไปแอดมิดที่โรงพยาบาลทุกคืน เพราะยังต้องให้ยาทางเส้นเลือดอยู่ และก็ต้องล้างแผลทุกวัน คงต้องเป็นอย่างนี้อีกสักระยะหนึ่งครับ"
"ที่ยังต้องให้ยาฆ่าเชื้อก็เป็นเพราะมันยังมีส่วนของเนื้อที่เกือบตาย เพราะเกิดการอักเสบเยอะ ดังนั้นวิธีการรักษาจึงจำเป็นต้องผ่าส่วนนั้นออกไปก่อน
อีกทั้งยังมีส่วนที่ลุกลาม ดังนั้นคุณหมอเขาจึงต้องผ่าคว้านเนื้อตาย และส่วนที่มันลุกลามอยู่ก็ใช้ยาฆ่าเชื้อช่วย ฆ่าไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมั่นใจว่ามันหมดเกลี้ยง"
"สำหรับผลความคืบหน้าในการรักษาคุณหมอบอกว่า 98 เปอร์เซ็นต์แล้ว แต่เราก็ยังไม่รู้เลยครับว่าอีก 2 เปอร์เซ็นต์ที่หลงเหลืออยู่มันมากเท่าไหร่
ดังนั้นมันจึงต้องทำให้มั่นใจจริงๆ ว่ามันหมดเกลี้ยง ซึ่งก็น่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 1 อาทิตย์ครับ และถ้าหากมันหมดเกลี้ยงแล้วก็คงต้องเข้าสู่กระบวนการต่อไป
ซึ่งก็คือการผ่าตัดเพื่อโยกเนื้อข้างๆ มาปิดแผล ณ ตอนนี้ขาผมยังเป็นรูโบ๋อยู่ เป็นแผลเปิด แต่เวลาออกงานก็ติดผ้าก๊อซแปะไว้เป็นการป้องกันเชื้อ
"ถามว่า 2 เปอร์เซ็นต์ ที่เหลืออยู่มันอันตรายไหม คุณหมอคาดว่ายาที่ใช้น่าจะเอาอยู่ครับ คุณหมอค่อนข้างมั่นใจในระดับหนึ่งครับ แต่ก็ไม่ได้วางใจทั้งหมด ก็อย่างที่บอกยังคงต้องให้ยาต่อไปเรื่อยๆ เพื่อให้มันหมดเกลี้ยงจริงๆ"
"ขอบคุณทุกคนมากครับที่เป็นห่วง มีหลายคนเลยที่พยายามติดต่อมา หรือส่งกระเช้ามาเยี่ยม ผมสามารถกลับมารับงานได้แล้วครับ แค่ต้องระมัดระวังตัวให้มากขึ้น จริงๆ ก็อยากจะฝากทุกคนเหมือนกันนะครับให้เฝ้าระวังอาการนี้เอาไว้ เพราะหากเป็นขึ้นมามันอันตรายมากจริงๆ"
"วันแรกที่ผมถูกแมลงกัด อาการของมันคล้ายๆ กับเป็นตุ่มยุง แต่พอเวลาผ่านไปสักประมาณ 24 ชั่วโมง ตุ่มที่เห็นมันลักษณะเปลี่ยนไปคล้ายกับฝี และก็เริ่มมีผื่นขึ้นรอบๆ ฝีนั้น ลามเร็วมากครับ ต้องรีบหาหมอให้เร็วเลยถ้าเป็นแบบนี้"
"โรคเนื้อเน่า แบคทีเรียกินเนื้อคน" ระบาดหน้าฝน เสี่ยงเสียอวัยวะ-ชีวิต
สถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ ชี้โรคเนื้อเน่า (Necrotizing fasciitis) หรือแบคทีเรียกินเนื้อคน เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ผิวหนัง
ส่วนใหญ่จะระบาดในฤดูฝน ช่วงเกษตรกรลงดำนา ลุยโคลน การติดเชื้อมักมีอาการรวดเร็ว และรุนแรง ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง อาจนำมาซึ่งการสูญเสียอวัยวะและอาจรุนแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้
โรคเนื้อเน่า คืออะไร ?
นายแพทย์มานัส โพธาภรณ์ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคเนื้อเน่าเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดใดชนิดหนึ่งเพียงชนิดเดียว หรืออาจเป็นจากการติดเชื้อแบคทีเรียหลาย ๆ ชนิดพร้อมกัน
พบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีประวัติไปดำนา ลุยโคลน และโดนหอย หรือเศษแก้วบาด เศษไม้ตำเท้า และไม่ได้ทำแผลหรือรักษาใด ๆ
เนื่องจากต้องทำนาให้เสร็จ ทำให้เชื้อโรคเข้าไปในบาดแผล และเพิ่มจำนวนจนเกิดอาการรุนแรงได้ ซึ่งเชื้อเหล่านี้จะเข้าสู่ผิวหนังผ่านทางบาดแผล หรือรอยแตกของผิวหนัง และเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้ว จะสามารถสร้างเอนไซด์มาย่อยสลายเนื้อเยื่อในร่างกายของผู้ที่ได้รับเชื้อเข้าไป ทำให้มีการกระจายของเชื้อไปได้อย่างรวดเร็วในชั้นใต้ผิวหนังภายในระยะเวลาไม่นานนัก
ระวังภัย กลุ่มเสี่ยงโรคเนื้อเน่า
โรคเนื้อเน่าพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย แต่คนที่มีโรคประจำตัวบางชนิดพบมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากกว่าคนอื่น ๆ ซึ่งโรคดังกล่าวได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคตับแข็ง โรคมะเร็ง โรคไตวาย
คนที่มีภาวะกดภูมิจากการใช้สารสเตียรอยด์คนที่ใช้สารเสพติดฉีดเข้าเส้น คนที่มีปัญหาของหลอดเลือดบริเวณขา คนอ้วน คนสูบบุหรี่ คนที่ติดแอลกอฮอล์
อาการโรคเนื้อเน่า หรือ แมลง กิน เนื้อ
แพทย์หญิงมิ่งขวัญ วิชัยดิษฐ ผู้อำนวยการสถาบันโรคผิวหนัง กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะมีอาการดังนี้ ผิวหนังบวม แดง ปวด กดเจ็บในตำแหน่งที่มีการติดเชื้อ
ถ้าไม่ได้รับการรักษา ผิวหนังบริเวณดังกล่าวจะบวมแดง หรือเปลี่ยนเป็นสีม่วงคล้ำอย่างรวดเร็วภายใน 36 ชั่วโมงหลังการติดเชื้อพบมีตุ่มน้ำพองที่ผิวหนังมีการตายของชั้นใต้ผิวหนังและผิวหนังบริเวณดังกล่าว
เมื่อเป็นมากขึ้นเชื้อจะทำลายเส้นประสาท ทำให้อาการปวดที่พบในตอนแรกหายไป กลายเป็นชาบริเวณผิวหนังส่วนที่ติดเชื้อตามมาแทนอาจมีไข้ หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว คลื่นไส้ อาเจียน
ถ้าเป็นมากอาจมีหัวใจเต้นเร็วผิดปกติ กรณีไม่ได้รับการรักษา การติดเชื้อจะแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือด ทำให้ระบบต่างๆ ของร่างกายล้มเหลว ทำให้ผู้ป่วยมีความรู้สึกตัวลดน้อยลง ช็อค และเสียชีวิต การรักษาต้องรีบดำเนินการอย่างรวดเร็ว
วิธีการรักษาโรคเนื้อเน่าแมลงกินเนื้อญี่ปุ่น
ผู้ป่วยที่สงสัยโรคนี้ควรนอนรักษาในโรงพยาบาล โดยการรักษาหลักคือการผ่าตัดให้ลึกจนถึงชั้นฟาสเชีย คือชั้นพังผืดที่ห่อหุ้มชั้นกล้ามเนื้อและอวัยวะภายในของร่างกายและเอาเนื้อเยื่อบริเวณที่ตายออก
ร่วมกับการให้ยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด ซึ่งมักต้องให้ร่วมกันหลายชนิดเพื่อให้ครอบคลุมเชื้อที่ก่อโรค มีการให้สารอาหารอย่างเพียงพอในระหว่างการรักษา
และต้องมีการติดตามอาการอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดตามมาได้ บางครั้งถ้าการติดเชื้อลุกลามมากอาจต้องมีการตัดอวัยวะที่ติดเชื้อทิ้งไปเพื่อควบคุมไม่ให้การติดเชื้อลุกลามมากขึ้นได้
การป้องกัน ไม่ให้เป็น โรคเนื้อเน่า หรือ แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น
สำหรับการป้องกันนั้น ระมัดระวังดูแลทำความสะอาดบาดแผลบริเวณผิวหนัง ไม่แกะเกาบริเวณผื่นหรือแผลที่มีอยู่เดิม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญเพื่อลดโอกาสของการเกิดโรคดังกล่าว
หมั่นสังเกตตนเอง ถ้าพบว่ามีบาดแผล ที่มีอาการปวดบวมแดง หรือมีอาการผิดปกติอื่น ๆ บริเวณแผล ควรรีบไปพบแพทย์ เพื่อทำการรักษาก่อนที่โรคจะมีการลุกลามติดเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น
บอย ปกรณ์ ig @boy_pakorn
05 มกราคม 2564
ผู้ชม 2430 ครั้ง