ปลัดสุขุม ฉุน หมอตีกับพยาบาล ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ เชิญด่วน สหวิชาชีพ หารือมาตรการจัดบริการผู้ป่วย

บทความ

ปลัดสุขุม ฉุน หมอตีกับพยาบาล ในโรงพยาบาลอำนาจเจริญ เชิญด่วน สหวิชาชีพ หารือมาตรการจัดบริการผู้ป่วย

News Update  : เว็บไซต์สุขภาพเบื้องต้น , แนะนำเว็บไซต์ สุขภาพ , 10 TopWebsites , web สุขภาพ , ข้อมูล สุขภาพ  

กระทรวงสาธารณสุข เชิญวิชาชีพที่เกี่ยวข้องหารือมาตรการและระบบการให้บริการ เพื่อเป็นมาตรฐานการจัดบริการในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพบริการประชาชน

มดฮับ นิวส์ medhubnews.com web สุขภาพ เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ เว็บไซต์สุขภาพเบื้องต้น ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว รายงานว่า  โรงพยาบาล หรือ สถานพยาบาล หรือ ศูนย์การแพทย์ เป็นสถานที่สำหรับให้บริการด้านสุขภาพให้กับผู้ป่วย โดยมุ่งเน้นการส่งเสริม ป้องกัน รักษา และฟื้นฟูภาวะความเจ็บป่วย

กระบวนการ Hospital Accreditation การดูแลผู้ป่วยแบบสหสาขาวิชาชีพ เป็นแนวทางตามโรงพยาบาลต่างๆ  เรียกว่า ทีม PCT  มาจากคำว่า patient care team เป็นทีมดูแลผู้ป่วย

อาจแบ่งออกเป็นตามสาขาสูตินรีเวช ศัลยกรรม กุมารเวชกรรม พยาบาลวิชาชีพ  

การดูแลแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary teamwork) เพราะวิทยาการทางด้านสุขภาพมีมากขึ้นทำให้เกิดความเฉพาะด้านของแต่ละวิชาชีพที่แพทย์คนเดียวอาจจำได้ไม่หมด

จึงต้องใช้ความสามารถของวิชาชีพอื่นๆ มาช่วยเสริมในการดูแลผู้ป่วยด้วย เพื่อให้มีการดูแลแบบผสมผสาน (comprehensive care) และองค์รวม (holistic care)  

ทีม PCT  มีตัวแทนกรรมการมาจากวิชาชีพต่างๆ เป็นสหสาขาวิชาชีพทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ เภสัช กายภาพ เทคนิคการแพทย์ รังสีเทคนิค แพทย์แผนไทย  

ในส่วนพยาบาลก็แยกออกเป็นพยาบาลฉุกเฉิน พยาบาลหอผู้ป่วย พยาบาลสุขศึกษา พยาบาลชุมชน โดยเน้นที่ตัวผู้ป่วยหรือตัวโรค

หลักการทำงานเป็นทีมสหสาขาวิชาชีพเป็นการดูแลผู้มารับบริการหรือผู้ป่วยร่วมกัน แต่ไม่จำเป็นต้องดูแลพร้อมกัน

ไม่ใช่การเกณฑ์เอาทุกวิชาชีพ มาดูผู้ป่วยพร้อมกัน หากเป็นการทบทวนขณะดูแลเฉพาะรายครั้งคราว

การดูแลผู้รับบริการไม่พร้อมกันก็สามารถดูแลร่วมกันได้ถ้ามีการสื่อ ความถึงกันอย่างชัดเจน ที่ทำได้ง่ายก็คือการขอคำปรึกษาและการใช้ progress note มาช่วย

ทุกวิชาชีพในโรงพยาบาลเป็นเจ้าของไข้ร่วมกัน หัวใจสำคัญคือทำให้ทุกวิชาชีพมีความโดดเด่นขึ้นมาในการดูแลผู้ป่วยโดยเสนอความเห็นและวิธีการรักษาที่เหมาะสมไว้ในแฟ้มผู้ป่วย

โดยมีแพทย์เป็นหัวหน้าทีม ทำให้ทุกวิชาชีพมีศักดิ์ศรี เป็นการเอาความสามารถทางวิชาชีพของตนเองออกมาช่วยในการดูแลเพื่อให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดต่อผู้ป่วยหรือผู้มารับบริการ

เคสที่เกิดขึ้น  เป็นข่าวดัง โลกออนไลน์ได้แชร์คลิปเหตุการณ์ ที่มีคนใส่ชุดเจ้าหน้าที่ห้องผ่าตัด กำลังมีปากเสียงกันคล้ายกับการทะเลาะวิวาทกัน

ซึ่งระบุข้อความว่า เป็นโรงพยาบาลแห่งหนึ่งใน จ.อำนาจเจริญ เนื่องจากหมอแย่งห้องผ่าตัด แล้วเข้าไปทำร้ายพยาบาลที่ทำหน้าที่จัดคิวห้องผ่าตัด แต่ห้องเต็ม ต้องรอคิวห้องว่าง

แต่ไม่ยอมรอ เพราะรับฝากพิเศษคนไข้ ต้องผ่าคลอดตามเวลาฤกษ์ยาม เหตุเกิดเมื่อวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา

ล่าสุด วันนี้ (19 พฤศจิกายน 2562) นายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ได้สั่งการเร่งด่วนให้ผู้ตรวจราชการเขตสุขภาพที่ 10

ตั้งกรรมการสอบข้อเท็จจริงกรณีการจัดคิวการผ่าตัดของโรงพยาบาลอำนาจเจริญ  โดยในวันศุกร์นี้จะประชุมวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

ประกอบด้วยผู้แทน/ผู้ทรงคุณวุฒิจากสภาการพยาบาล แพทยสภา สมาคมแพทย์ ราชวิทยาลัยสูตินรีแพทย์แห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการกลุ่มเสริมสร้างวินัย ศูนย์สันติวิธี กองการพยาบาล

ประธานแผนพัฒนาระบบบริการสาขาสูตินรีแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เพื่อตั้งคณะกรรมการบูรณาการการทำงานของสหวิชาชีพ

ร่วมกันวางมาตรการและระบบการให้บริการ เป็นมาตรฐานการจัดบริการในโรงพยาบาลทั่วประเทศ เพิ่มประสิทธิภาพบริการประชาชน ลดความขัดแย้ง

นายแพทย์ยงยศ กล่าวต่อว่า ในวันนี้ได้รับรายงานจากผู้อำนวยการโรงพยาบาลอำนาจเจริญว่า ได้ประชุมคณะกรรมการไกล่เกลี่ยของโรงพยาบาลอำนาจเจริญเพื่อสรุปข้อเท็จจริงเบื้องต้น

และทบทวนแนวทางการดำเนินงานของห้องผ่าตัดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริการแล้ว

เวลาต่อมา มดฮับ นิวส์ medhubnews.com รายงานว่า นายแพทย์สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม

โดยระบุว่า การทำงานร่วมกันในกระทรวงสาธารณสุข เป็นการทำงานร่วมกันเป็นทีมในหลายสาขาวิชาชีพ

สำหรับเรื่องที่เกิดขึ้นที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดอำนาจเจริญนั้น กระทรวงสาธารณสุขก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ ตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงทั้งในส่วนจังหวัด และส่งทีมจากส่วนกลาง มีนายแพทย์ยงยศ ธรรมวุฒิ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ดูแลด้านพัฒนาการแพทย์เป็นหลัก

พร้อมตัวแทนสหวิชาชีพ อาทิ สภาการพยาบาล สำนักการพยาบาล แพทยสภา แพทยสมาคม ราชวิทยาลัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือและหาทางออกที่เหมาะสม

นายแพทย์สุขุม กล่าวต่อว่า สำหรับการให้บริการผู้ป่วยเน้นคนไข้เป็นศูนย์กลาง ให้บริการตามความเร่งด่วนจำเป็น เช่นกรณีห้องผ่าตัด มีเกณฑ์อันดับแรกคือผู้ป่วยฉุกเฉินต้องได้รับการผ่าตัดทันที และผู้ป่วยที่นัดผ่าตัดตามคิวปกติ

ซึ่งต้องดูความจำเป็นในหลายมิติ ส่วนกรณีที่เกิดขึ้นที่อำนาจเจริญเป็นการนัดผ่าตัดในเวลาราชการ แต่มีการขอแทรกคิว ทำให้ผู้ป่วยที่นัดไว้ไม่ได้ทำการผ่าตัดตามเวลาที่กำหนดจึงเกิดปัญหาขึ้น

ส่วนกรณีที่มีข้อมูลจากสื่อโซเชียลว่ามีการเรียกรับเงินพิเศษต้องขอสอบข้อเท็จจริงก่อน อย่างไรก็ตาม การรับเงินพิเศษจากผู้รับบริการถือว่าเป็นสิ่งไม่สามารถกระทำได้

หากผู้ป่วยต้องการบริการพิเศษ กระทรวงสาธารณสุขได้ผลักดันให้อยู่ในระบบบริการคลินิกเฉพาะทางนอกเวลาราชการ ประชาชนสามารถใช้บริการได้

“เราให้ความสำคัญกับบุคลากรทุกระดับ ทุกวิชาชีพมีความสำคัญและมีคุณค่า ขอให้ยึดหลักความปลอดภัยของผู้ป่วย และคุณภาพมาตรฐานการบริการ การทำงานเป็นทีมต้องไม่ใช้อารมณ์ส่วนตัว

และต้องให้เกียรติทุกคน เบื้องต้นต้องสอบหาข้อเท็จจริงจากคู่กรณีและรอบด้าน พร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย” นายแพทย์สุขุมกล่าว

19 พฤศจิกายน 2562

ผู้ชม 4614 ครั้ง

Engine by shopup.com