ลิ้นหัวใจยาวออกมาตั้งแต่เกิด ปัญหาสุขภาพของ นนท์ ธนนท์ อาการ สาเหตุ ตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญที่สุด
ลิ้นหัวใจยาวออกมาตั้งแต่เกิด ปัญหาสุขภาพของ นนท์ ธนนท์ อาการ สาเหตุ ตรวจสุขภาพประจำปีสำคัญที่สุด
News Update วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2562 : ปัญหาสุขภาพ สามารถเกิดขึ้นได้ทุกคน ไม่ว่าจะคนดัง หรือ คนธรรมดา
เช่น บอยปกรณ์ป่วย ที่สังคมเรียกชื่อโรคว่า โรคบอยปกรณ์ แมลงกินเนื้อที่ญี่ปุ่น , แมลงกินเนื้อญี่ปุ่น , กันหมดแล้ว หรือ ธีร์ ภูมิธนะวัชร์ หรือชื่อเต็ม ภูมิธนะวัชร์ บุญลือประดิษฐ์ ที่ป่วยเป็นวัณโรค
วันนี้ คอลัมน์สุขภาพกับคนดัง เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า เป็นนักร้องที่เคยออกมาเปิดเผยเรื่องสุขภาพ
สำหรับนักร้องหนุ่ม นนท์ ธนนท์ หรือ นนท์ เดอะวอยซ์ เจ้าของเพลงฮิตหลายเพลง ซึ่งตอนนี้หนุ่มนนท์ ต้องแบ่งเวลามาดูแลสุขภาพของตัวเองให้เต็มที่ เพราะสุขภาพสำคัญที่สุด
ต้องย้ำว่าการทำงานของ นนท์ ธนนท์ ไม่ได้น้อยลง แต่แค่กลับไปปกติ “เพราะ รู้สึกอยากแข็งแรงมากกว่ามีเงิน สำหรับผมตอนนี้ เราเห็นถึงความสำคัญแล้ว”
ที่ผ่านมา นนท์ ธนนท์ ทำงานค่อนข้างหนัก ทำงานเกินร้อยทุกงาน บางทีก็น็อกบ้าง คุณหมอก็สั่งดูแลสุขภาพ เพราะเราก็มีปัญหาเรื่องสุขภาพประมาณนึง
ถือเป็นเรื่องที่คนทั่วไป คนรักสุขภาพต้องทำ คือ การตรวจสุขภาพประจำปี เลือก โรงพยาบาลเอกชนที่ดีที่สุด นนท์ ธนนท์ ก็ตรวจสุขภาพประจำปีครั้งใหญ่
เนื่องจาก ปี 2562 ปีทองของนนท์ ธนนท์ ต้องใช้ร่างกายหนักมาก ทำให้เหนื่อยง่ายขึ้น เรื่องระบบทางเดินหายใจยังมีปัญหา
สาเหตุปัญหาสุขภาพ นนท์ ธนนท์ บอกว่ามาจากอาการลิ้นหัวใจยาวตั้งแต่กำเนิด ซึ่งเจ้าตัวก็ได้เผยว่า
“สุขภาพตอนนี้แข็งแรง แต่เหมือนแม่บอกว่าเรามีลิ้นหัวใจยาวออกมาตั้งแต่เกิด ซึ่งผมไม่เคยรู้เลย
มันมีวันนึงที่หัวใจเต้นผิดจังหวะแล้วเข้าโรงพยาบาล ตอนแรกก็คิดแค่ว่าหายใจไม่ทัน หมอก็ขอตรวจใหญ่เลยก็เจอ ซึ่งเราไม่เคยตรวจเลยเพราะรู้สึกว่าแข็งแรง พอตรวจก็ทราบลิ้นหัวใจยาวออกมาตั้งแต่เกิด”
สำหรับ โรคลิ้นหัวใจยาว ( prolapsed ) เว็บไซต์สุขภาพ เรียกว่า ลิ้นหัวใจยาวออกมาตั้งแต่เกิด Mitral Valve Prolapse( MVP) อุบัติการณ์ของโรคนี้ร้อยละ 1- 2.5 ความชุกไม่ขึ้นอายุ หรือ เพศใดเป็นพิเศษ
สาเหตุอาจเกิดพันธุกรรม โรคลิ้นหัวใจยาว ( prolapsed ) กลุ่มผู้ป่วยโรคเนื้อเยื่อเกี่ยวพันผิดปกติ ( connective tissue diseases )
เช่น ผู้ป่วย Marfan syndrome , โรคเลือดบางชนิด Von Willebrand’s disease, coagulopathies ทำให้เกิดความเสื่อมสภาพ หรือ มีการสะสมของสารบางชนิดที่ลิ้นหัวใจมากขึ้น
ทำให้ลิ้นหัวใจ มีความยืดหยุ่นมากผิดปกติและยาวขึ้น ทำให้ลิ้นหัวใจปิดไม่สนิท เกิดการเกยกันของลิ้นหัวใจ
ขณะที่ลิ้นปิด บางส่วนของ ลิ้นหัวใจอาจยื่นเลยเข้าไปในหัวใจห้องบนได้ทำให้ลิ้นหัวใจรั่ว แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะรั่วเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
นอกจากนี้ภาวะลิ้นหัวใจยาว ยังมักพบร่วมกับโรคผนังกั้นหัวใจห้องบนรั้ว โรคหัวใจที่มีทางเดินพิเศษทีมีภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วผิดปกติ
ส่วนใหญ่มักไม่มีอาการ แพทย์มักฟังได้เสียงหัวใจผิดปกติในกลุ่มที่มาตรวจสุขภาพ การตรวจยืนยันเพิ่มโดยอัลตราซาวน์หัวใจ หรือ เรียกว่า เอคโค่คาร์ดิโอแกรม เป็นการตรวจที่สามารถเห็นลิ้นหัวใจได้ชัดเจน และให้การวินิจฉัย ได้ดีที่สุดวิธีหนึ่ง
กรณีมีภาวะลิ้นหัวใจรั่วมากขึ้นอาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวาย ภาวะความดันหลอดเลือดแดงในปอดสูงรุนแรง ภาวะหัวใจห้องบนเต้นพริ้วผิดจังหวะ
นอกจากนี้ผู้ป่วย MVP ที่มีอายุน้อยกว่า45 ปี มีเสี่ยงต่อการเกิดอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตันแต่หลังอายุ 45 ปีจะมีความเสี่ยงเท่าคนทั่วไป
โรคลิ้นหัวใจยาวพบอัตราตายน้อยกว่าร้อยละ1ต่อปี ส่วนภาวะเสียชีวิตเฉียบพลันพบได้น้อยกว่าร้อยละ 2 ในผู้ป่วยที่ได้รับการติดตามในระยะเวลานาน
กรณีที่ไม่มีอาการผิดปกติ ไม่จำเป็นต้องรักษา หากมีใจสั่นผิดปกติจากหัวใจเต้นผิดจังหวะ เจ็บแน่นหน้าอกก็รักษาด้วยยา ผู้ป่วยกลุ่มนี้ก็ยังสามารถดำเนินชีวิต ได้อย่างเป็นปกติ
ออกกำลังกายได้ตามปกติแต่ควรหลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องแข่งขันรุนแรง ควรได้รับคำแนะนำและการตรวจจากแพทย์
โดยควรมาตรวจโดยอัลตราซาวน์หัวใจทุก 3-5 ปีในกรณีลิ้นหัวใจยาว แต่ไม่มีลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วย
แต่ถ้าพบลิ้นหัวใจรั่วร่วมด้วยก็ควรมาตรวจโดยอัลตราซาวน์หัวใจทุกหนึ่งปี
ส่วนในกรณีที่ลิ้นหัวใจรั่วมาก หรือมีอาการหัวใจวาย การรักษาคือการผ่าตัดแก้ไข โดยอาจเป็นการผ่าตัดเพื่อซ่อมแซมลิ้น หรือ การผ่าตัด เปลี่ยนลิ้นหัวใจ
ส่วนในรายที่มีการเกิดอัมพาตเนื่องจากหลอดเลือดเลี้ยงสมองอุดตัน ควรมาติดตามรับยาต่อเนื่อง Aspirin หรือ warfarin
ภาพจาก Twitter #นนท์ธนนท์ , อินสตาแกรม: @tanont916 , เดอะวอยซ์ นนท์ ธนนท์ twitter นนท์ ธนนท์ facebook นนท์ the voice
25 พฤศจิกายน 2562
ผู้ชม 585 ครั้ง