ไอซ์ หีบเหล็ก เลี้ยง ปลาอัลลิเกเตอร์ นิสัยดุร้าย กัดเนื้อคน ส่วน ปลาช่อนอเมซอน ปลาที่กินทุกอย่างในแม่น้ำ ยกเว้นมนุษย์
ไอซ์ หีบเหล็ก เลี้ยง ปลาอัลลิเกเตอร์ นิสัยดุร้าย กัดเนื้อคน ส่วน ปลาช่อนอเมซอน ปลาที่กินทุกอย่างในแม่น้ำ ยกเว้นมนุษย์
News Update วันเสาร์ที่ 18 มกราคม 2563 : กรณีตำรวจจับกุม นายอภิชัย องค์วิศิษฐ์ หรือ ไอซ์ หีบเหล็ก อายุ 40 ปี ลูกชายเจ้าของตลาดรายใหญ่ฝั่งธนบุรี ในซอยเพชรเกษม 47
จากกรณีฆ่า น.ส.กิ๊ก สาวไซด์ไลน์ ฝังหีบเหล็กไว้แถวบริเวณบ้าน ล่าสุดยังเจอกระดูกมนุษย์ ถูกถ่วงน้ำไว้ในบ่อ โดยมีการนำประตูทับศพ และเอาเก้าอี้ทับประตูอีกชั้นหนึ่งเพื่อไม่ให้ศพลอยขึ้นมานั้น
มีรายงานความคืบหน้าคดี ไอซ์ หีบเหล็ก ว่า ภายในสระบ้าน ไอซ์ หีบเหล็ก เจ้าหน้าที่ได้ลงไปดำน้ำ เพื่องมหาศพเพิ่มเติม
โดยพบว่า บ่อดังกล่าวมีการเลี้ยงปลาอัลลิเกเตอร์ หรือที่เรียกว่า ปลาจระเข้ เอาไว้ด้วย รวมทั้ง ปลาอะราไพม่า หรือที่นิยมเรียกกันในภาษาไทยว่า ปลาช่อนอเมซอน
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ในส่วนของ ปลาช่อนอเมซอน ไม่มีนิสัยดุร้าย กินเนื้อมนุษย์
ปลาช่อนอเมซอน
ขณะที่ ปลาอัลลิเกเตอร์ ซึ่งเป็นปลากินเนื้อน้ำจืด ขนาดใหญ่ มีปากยาวคล้ายปากจระเข้ อุปนิสัยทั่วไปจะเชื่องกับคนที่ให้อาหาร แต่เวลากินอาหารจะดุร้าย
ซึ่งอาหารที่ชอบเป็นปลาตัวเล็ก หรือเนื้อสัตว์ อาจจะเป็นไปได้ที่โยนศพลงไปเพื่อให้ปลากิน
สำหรับ ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้ เป็นปลากินเนื้อน้ำจืดขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มปลาการ์ มีลักษณะเด่น คือ มีส่วนปากยาวคล้ายกับจระเข้หรืออัลลิเกเตอร์ รูปร่างกลมยาว ตากลมสีดำ บริเวณลำตัวจรดหางคล้ายปลา
มีครีบเล็กใต้ท้อง 2 ครีบคู่ ใต้ท้องสีขาว บริเวณปลายหาง ใกล้หางมีครีบใหญ่อีก 2 ครีบ ซึ่งโคนหางด้านบนมีขนาดใหญ่กว่าโคนหางด้านล่างอย่างเห็นได้ชัดเจน
ครีบหางกลมมนเป็นรูปพัด เป็นปลาที่กระจายพันธุ์อยู่ในแหล่งน้ำจืดต่าง ๆ เช่น แม่น้ำ หรือทะเลสาบ ของสหรัฐอเมริกาทางตอนใต้ เช่น รัฐฟลอริดา และหลุยส์เซียนา
ปลาอัลลิเกเตอร์มีปากเรียวยาวเหมือนอัลลิเกเตอร์ ที่ภายในมีฟันที่แหลมคม 2 แถว ประมาณ 500 ซี่ ใช้สำหรับงับเหยื่อก่อนที่จะกลืนลงไป เกล็ดของปลาอัลลิเกเตอร์มีความหนาและแข็ง
ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมเหมือนเพชร มีสารเหมือนกับสารเคลือบฟันเคลือบอยู่ มีความคมเมื่อถูจะถูกบาดทำให้เกิดบาดแผลได้ อินเดียนแดง ซึ่งเป็นชนพื้นเมืองของอเมริกาใช้เกล็ดของปลาอัลลิเกเตอร์ทำเป็นหัวลูกศร
ปลาอัลลิเกเตอร์สามารถที่จะดำรงชีวิตอยู่ได้ในแหล่งน้ำที่มีคุณภาพต่ำ มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำต่ำ เช่น น้ำที่ขุ่นข้นสภาพพื้นน้ำเป็นโคลน เนื่องจากมีถุงลมที่ทำหน้าที่เสมือนปอดช่วยในการหายใจ ทำให้สามารถขึ้นมาฮุบอากาศบนผิวน้ำได้
ปลาอัลลิเกเตอร์มีความยาวโดยเฉลี่ยได้ถึง 6–7 ฟุต น้ำหนักมากกว่า 100 ปอนด์ มีอายุขัยได้มากถึง 60 ปี ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้
แต่ก็มีคำกล่าวอ้างจากนักตกปลาพื้นถิ่นว่าเคยพบเห็นตัวที่ยาวถึง 14 ฟุต ในปี ค.ศ. 1987 และในปี ค.ศ. 1910 ที่รัฐมิสซิสซิปปี มีผู้จับตัวที่มีความยาวถึง 10 ฟุตได้ จึงจัดเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบได้ในสหรัฐอเมริกา และเป็นปลาน้ำจืดชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดในโลก
ตัวที่มีความยาว 10 ฟุต ในปี ค.ศ. 1910 ด้วยขนาดที่ใหญ่และรูปลักษณ์ที่น่ากลัว ทำให้ปลาอัลลิเกเตอร์เป็นที่ร่ำลือว่าทำร้ายมนุษย์ในพื้นที่ต่าง ๆ เช่น ในฤดูร้อน ค.ศ. 1932 ที่หลุยส์เซียนา
มีรายงานว่าเด็กผู้หญิงรายหนึ่งถูกปลาอัลลิเกเตอร์ทำร้ายที่ขา ขณะที่เธอลงไปใกล้ทะเลสาบพร้อมกับพี่ชายวัย 13 ขวบของเธอ
แพทย์ที่ทำการรักษาเธอ เป็นแพทย์มานานกว่า 40 ปี ได้บันทึกไว้ว่าไม่เคยเห็นบาดแผลที่เหวอะหวะแบบนี้มาก่อน เหมือนกับเข็มหยาบ ๆ ที่เจาะทะลุกระดาษ ซึ่งหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นรายงานตามคำบอกเล่าของพี่ชายเธอว่า เป็นการกระทำของปลาอัลลิเกเตอร์ความยาว 7 ฟุต
ในปี ค.ศ. 1933 คณะกรรมการตกปลาเท็กซัสได้มีมติล่าทำลายปลาอัลลิเกเตอร์ครั้งใหญ่ เนื่องจากถูกพิจารณาว่าเป็นต้นเหตุของการสูญพันธุ์ของปลาพื้นเมืองชนิดต่าง ๆ
เนื่องจากปลาอัลลิเกเตอร์เป็นปลากินเนื้อขนาดใหญ่ ที่อาจหากินได้วันละ 2 ครั้ง กินอาหารมากกว่าขนาดน้ำหนักตัวของตัวเอง 3 ทศวรรษผ่านไป มีปลาอัลลิเกเตอร์นับล้านตัวที่ถูกกำจัดไป
ปัจจุบัน ปลาอัลลิเกเตอร์ เป็นปลาที่นิยมตกเป็นเกมกีฬา โดยมักจะตกได้ในช่วงพลบค่ำก่อนพระอาทิตย์จะตก โดยใช้เหยื่อเป็นชิ้นปลาเช่น ปลาบัฟฟาโล ซึ่งเป็นปลาซัคเกอร์ชนิดหนึ่ง และนิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม และจัดแสดงตามพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำต่าง ๆ
ซึ่งในปัจจุบัน สามารถที่จะเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้แล้ว จนกระทั่งมีปลาที่มีสีแตกต่างจากปลาดั้งเดิมในธรรมชาติ เช่น ปลาพลาตินั่ม ที่มีลำตัวสีขาวแวววาว ซึ่งมีราคาแพงกว่าปลาปกติหลายเท่า มีปลาที่ถูกเลี้ยงไว้ตั้งแต่เล็ก ๆ
เมื่อโตขึ้นมา ผู้เลี้ยงไม่สามารถเลี้ยงต่อไปได้ปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่แหล่งกำเนิดดั้งเดิมในหลายพื้นที่ สามารถที่จะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่นั้น ๆ ได้
26 มกราคม 2563
ผู้ชม 10713 ครั้ง