เจาะลึกประวัติ โสภณ พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิตด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก เคยเขียนหนังสือ #ทีมพี่โส เลี้ยง "เด็กหญิงแตงโม" ไม่ง่ายนะครับ

บทความ

เจาะลึกประวัติ โสภณ พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิตด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก เคยเขียนหนังสือ #ทีมพี่โส เลี้ยง "เด็กหญิงแตงโม" ไม่ง่ายนะครับ

โสภณ พัชรวีระพงษ์, โสภณ พัชรวีระพงษ์ ประวัติ, โสภณพัชรวีระพงษ์, 

เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข เศรษฐกิจ - โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก หากพ้นระยะแรก โอกาสรอดยาก

เจาะลึกประวัติ โสภณ พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิตด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก เคยเขียนหนังสือ #ทีมพี่โส เลี้ยง "เด็กหญิงแตงโม" ไม่ง่ายนะครับ

News Update วันอาทิตย์ที่ 20 กันยายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้  : กรณี โสภณ พัชรวีระพงษ์ บิดา ของ ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือชื่อในวงการบันเทิงว่า แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ 

เสียชีวิตด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก หรือ ในระยะที่ 4 ซึ่งก่อนหน้านี้ แตงโม นิดา ออกมาบอกว่า คุณพ่อหายแล้ว 

เช่นเดียวกับ กรณี โรเบิร์ต สายควัน ป่วย เป็นมะเร็งปอด จนเพื่อนในวงการตลก แถลงข่าวว่าโรเบิร์ต สายควันหายจากมะเร็งปอดแล้ว เนื่องจากได้ของดี 

แต่รุ่งขึ้นอีกวัน โรเบิร์ต สายควัน เสียชีวิต แล้ว ท่ามกลางสังคม สงสัยว่า โรเบิร์ต สายควัน ป่วยเป็นอะไร

โสภณพัชรวีระพงษ์ คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า โสภณ พัชรวีระพงษ์ เป็นคนในแวดวงสื่อมวลชน เคยเป็นหัวหน้าของผู้สื่อข่าว medhubnews.com ด้วย 

โสภณ พัชรวีระพงษ์ ประวัติ : โสภณ พัชรวีระพงษ์ เคยเขียนหนังสือหลายเล่ม อาทิ คอลัมม์นิสต์ของนิตยสารชีวิตต้องสู้ เป็นบรรณาธิการ

เป็นผู้ใหญ่ ใน บริษัท โรงพิมพ์ตะวันออก จำกัด (มหาชน) บมจ.(EPCO) ของคุณยุทธ ชินสุภัคกุล บิดาของคนเก่งระดับแนวหน้าของไทย อย่าง ยอด ชินสุภัคกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร LINE MAN Wongnai ceo วงใน

ซึ่งกองบรรณาธิการ นิตยสารชีวิตต้องสู้ อยู่ตึกเดียวกันกับ โรงพิมพ์ตะวันออก ในซอย นสพ.แนวหน้า ตรงหลักสี่ กทม. 

เล่มแรก โสภณ พัชรวีระพงษ์ เขียนเล่าถึงลูก แตงโม ภัทรธิดา ตามประสาพ่อ

โดยหนังสือเล่มที่หยิบยกมานี้ เกี่ยวกับชีวิตของพ่อ ลูก และ ความเป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว 

“แรงบันดาลใจในการเขียนหนังสือเล่มนี้ มาจากสาเหตุหลายประการ ประการแรก มีแฟนคลับของน้องโมจำนวนไม่น้อยที่รู้สึกชื่นชมในครอบครัวเรา

และอยากรู้ว่าคุณพ่อมีวิธีการเลี้ยงลูกสาวคนนี้อย่างไรจึงโตขึ้นมาเป็น แตงโมภัทรธิดา ที่ท่านๆได้รู้จักกัน กับอีกประการหนึ่งที่ค่อนข้างเจาะจงด้วยเป็น คุณแม่เลี้ยงเดี่ยวบ้าง คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยวบ้าง

พอเห็นคุณพ่อเป็น คุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว ก็ถือเป็นพวกเดียวกัน ก็อยากจะรู้เคล็ดลับว่าต้องทำอย่างไร หรืออยากทราบว่าเหนื่อยยากกันแค่ไหน

เหมือนกันกับเขาไหมประเภทหัวอกเดียวกันว่างั้นเถอะ จึงได้คิดเขียนขึ้นมาให้ได้อ่านกันเอากันตั้งแต่น้องโมเกิดมาจนเริ่มก้าวเข้าสู่วงการตามที่มีคนสนใจ

ข้อความจากหนังสือที่ โสภณ พัชรวีระพงษ์ เขียนลงในพ็อกเก็ตบุ๊ค เรื่อง #ทีมพี่โส เลี้ยงเด็กหญิงแตงโม ไม่ง่ายนะครับ

หลังจาก เมื่อช่วงเวลาเที่ยงคืนของวันที่ 20 ก.ย. โสภณ พัชรวีระพงษ์ บิดา ของ ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์ หรือชื่อในวงการบันเทิงว่า แตงโม นิดา พัชรวีระพงษ์ เสียชีวิตด้วย มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก หรือ ในระยะที่ 4 

ซึ่งระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามไปทั่วร่างกายแล้ว   

โดยก่อนหน้านี้ หากไล่ดูไทม์ไลน์ อาการป่วยของโสภณ พัชรวีระพงษ์ บิดา แตงโม ภัทรธิดา พัชรวีระพงษ์

เริ่มจากเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2563 นักแสดงสาว แตงโม นิดา ได้โพสต์เล่ามรสุมชีวิต

โดยระบุว่า คุณพ่อต่อมลูกหมากโต ซูบลงไปมากกินข้าวไม่ลงเลยค่ะ

น้ำหนักเหลือ 44 กิโลกรัมแล้ว แถมเครียดอีก รอลุ้นอาทิตย์หน้าว่าจะไม่เป็นมะเร็งหรือไม่ ซึ่งแฟน ๆ ต่างเอาใจช่วยขออย่าเป็นมะเร็ง

แตงโม ได้ออกมาอัปเดตข่าวร้ายว่า ขอความคิดเห็นค่ะ คุณพ่อเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 (ลามขึ้นกระดูกสันหลัง) ตอนนี้ค่าเลือด 300 ปวดหลัง

บางคนแนะนำให้ผ่า+ทำคีโม แต่บางคนไม่แนะนำให้ผ่า ใครมีประสบการณ์ฝากแชร์หน่อยค่ะ คุณพ่ออายุ 70 ค่ะ ขอบคุณล่วงหน้านะคะ

ต่อมา 20 กุมภาพันธ์ 2563 - แตงโม นิดา โพสต์ประกาศข่าวดี คุณพ่อหายแล้ว หน้าตาสดใส แข็งแรงขึ้นเยอะ

หลังป่วยมะเร็งต่อมลูกหมากระยะที่ 4 พร้อมทั้งขอบคุณทุกคำแนะนำทุกกำลังใจ

กระทั่ง เราทราบว่า คุณพ่อแตงโม นิดา มีอาการทรุดลงเรื่อยๆ ตั้งแต่ต้นกันยายน 2563 

โดยมี ญาติผู้ป่วยมะเร็งต่อมลูกหมาก จำนวนมาก อยากติดต่อกับเธอ เพื่อขอแนวทางการรักษาให้หาย

ในทางการแพทย์ สำหรับ โรคมะเร็งต่อมลูกหมากจะแบ่งออกเป็น 4 ระยะ  ระยะที่ 1 ระยะเริ่มต้นของโรค  ระยะเริ่มต้นนี้ก้อนมะเร็งจะมีขนาดเล็ก

อีกทั้งยังไม่สามารถตรวจพบได้จากการคลำหาก้อนเนื้อผ่านทางทวารหนัก แต่จะมีการพบมะเร็งเฉพาะในต่อมลูกหมากเพียงกลีบเดียว ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็งแต่อย่างไร

ระยะที่ 2  ระยะนี้ก้อนมะเร็งจะมีขนาดที่โตขึ้นเล็กน้อย แต่ค่อนข้างมีความรุนแรง อีกทั้งยังสามารถพบได้จากการคลำหาก้อนเนื้อผ่านทางทวารหนัก โดยพบในทั้งสองกลีบของต่อมลูกหมาก แต่ก็ยังไม่มีการแพร่กระจายของเซลล์มะเร็ง

ระยะที่ 3  ระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มมีการลุกลามออกมานอกต่อมลูกหมากไปยังอวัยวะที่อยู่ข้างเคียง

ระยะที่ 4  ระยะนี้เซลล์มะเร็งเริ่มลุกลามเข้าไปยังกระเพาะปัสสาวะ และ/หรือลำไส้ตรง และ/หรือเนื้อเยื่อในบริเวณช่องท้องน้อย หรือต่อมน้ำเหลือง หรือแพร่กระจายเข้าสู่กระแสเลือดไปยังกระดูก ปอด ประสาทไขสันหลัง สมอง หรืออวัยวะอื่นๆ

การรักษามะเร็งต่อมลูกหมากในระยะนี้เป็นการให้ยาฮอร์โมน การผ่าตัดอัณฑะเพื่อลดฮอร์โมนเทสโทสเทอโรน ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง

การฉายรังสีรักษาและการให้ยาเคมีบำบัด โดยการรักษานั้นอาจะใช้เพียงวิธีเดียว หรือหลายวิธีร่วมกัน ขึ้นอยู่กับอาการ อายุ สภาพของผู้ป่วย

และการแพร่กระจายของโรค และจะอยู่ในดุลยพินิจของแพทย์และความประสงค์ของผู้ป่วย รวมถึงครอบครัวเป็นหลัก

จึงเป็น ฝันร้ายของชายไทย กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะที่ดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก

ได้มารวมตัวกันในนามกลุ่มแพทย์ PARANG ( Prostate cancer AwaReness for pAtieNt by expert Group )

ประกาศให้คนไทยทราบว่า ชายไทยมีแนวโน้มเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งต่อมลูกหมากมากขึ้น

ด้วยปัจจัยอายุที่มากขึ้น 50 ปีขึ้นไป อาหารไขมันสูง ความอ้วน มีความเสี่ยงเกิดโรคควรตรวจคัดกรอง ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากทั่วโลกกว่า 1 ล้านราย

กลุ่มแพทย์ PARANG จึงเร่งให้ความรู้ประชาชน เพื่อให้ตื่นตัว รู้เท่าทันโรค

ผศ.นพ. ชูศักดิ์ ปริพัฒนานนท์ ประธานกลุ่ม PARANG กลุ่มแพทย์ผู้เชี่ยวชาญศัลยกรรมทางเดินปัสสาวะที่ดูแลรักษาโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ได้มารวมตัวกันในนามกลุ่ม PARANG 

ระบุว่า แนวโน้มผู้ป่วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเพิ่มสูงขึ้น เป็นมะเร็งที่พบได้เป็นอันดับ 4 ของมะเร็งที่เกิดในชายไทย โดยมีอุบัติการณ์ของโรคประมาณ 7.5คนต่อประชากร 1 แสนคน (หรือประมาณ 3,233 ราย)

โดยในปีที่ผ่านมามีผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยใหม่ว่าเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก ประมาณ 1,276,106 รายทั่วโลก มีผู้ป่วยประมาณ 358,989 รายทั่วโลกเสียชีวิตจากมะเร็งต่อมลูกหมาก จึงถือว่าโรคมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่ร้ายแรง

และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสาเหตุปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญ คือ อายุ โดยเฉพาะหลังอายุ 50 ปี เชื้อชาติ คนเชื้อชาติผิวสีดำ (แอฟริกัน-อเมริกัน) จะมีความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากมากกว่าประชากรชายผิวขาว

ประวัติครอบครัว โดยพบว่าหากมีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมากจะมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น 20% เนื่องจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรม

โดยเฉพาะครอบครัวที่มีบิดาหรือพี่ชาย/น้องชายเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก หรือมีคนในครอบครัวที่เป็นมะเร็งชนิดอื่น แต่ปัจจุบันแม้ว่าอุบัติการณ์ของโรคสูงขึ้น แต่อัตราการเสียชีวิตกลับมีแนวโน้มลดลง

เนื่องจากมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นโรคที่มีระยะเวลาพัฒนาช้า ดังนั้นหากได้รับการตรวจคัดกรองและตรวจพบตั้งแต่ระยะเริ่มต้น จะสามารถรักษาให้หายขาดได้

โดยแพทย์จะทำการตรวจคัดกรองเบื้องต้น การตรวจทางทวารหนัก Digital rectal examination (DRE) แพทย์จะใช้นิ้วมือสอดเข้าทางทวารหนักเพื่อตรวจคลำดูขนาด รูปร่าง

และความยืดหยุ่นของต่อมลูกหมาก การเจาะเลือดเพื่อหาสารบ่งชี้มะเร็ง Prostate Specific Antigen (PSA)

เป็นการเจาะเลือดเพื่อดูสาร PSA โดยสาร PSA ถูกสร้างและหลั่งมาจากต่อมลูกหมาก ดังนั้นหากพบว่ามีค่า PSA ที่สูงกว่าค่าปกติ (ค่าปกติ 4 ng/mL) แสดงว่าต่อมลูกหมากอาจมีความผิดปกติ หรือสังเกตจากอาการในระยะแรกๆ หรือระยะเริ่มต้นของมะเร็งต่อมลูกหมากส่วนใหญ่มักไม่แสดงอาการ

ดังนั้นการตรวจคัดกรองหรือตรวจสุขภาพจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการตรวจพบมะเร็งได้เร็วซึ่งในผู้ป่วยบางราย

หากรอให้มีอาการแล้วจึงไปตรวจอาจพบในระยะที่ลุกลามหรือระยะท้ายๆ แล้วจนเป็นอุปสรรคในการรักษาได้

สำหรับการสังเกตอาการของมะเร็งต่อมลูกหมาก มีดังนี้ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะเวลากลางคืน ปัสสาวะลำบากหรือกลั้นปัสสาวะไม่ได้

ปวดเวลาปัสสาวะ พบเลือดในน้ำปัสสาวะหรือน้ำอสุจิ ปวดหรือแน่นตึงบริเวณบั้นเอว เชิงกราน หรือต้นขา เป็นต้น

ปัจจุบันมีการรักษามะเร็งต่อมลูกหมากอยู่หลายวิธี เช่น การผ่าตัด การฉายรังสี การรักษาด้วยเคมีบำบัด หรือ การรักษาด้วยการควบคุมฮอร์โมนเพศชาย

ในผู้ป่วยบางรายอาจรักษาโดยใช้หลายวิธีร่วมกันตามระยะการลุกลามของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ

ผศ.นพ. ชูศักดิ์ กล่าวว่า ชายไทยสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งต่อมลูกหมากได้โดย การออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก ไม่รับประทานอาหารที่มีไขมันสูง และรับประทานอาหารที่มีกากใยอาหาร

เช่น ผัก ผลไม้ ถั่ว และธัญพืช เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ทางกลุ่มแพทย์ PARANG จึงให้ความสำคัญในการให้ความรู้

ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวโรคจะเป็นไม่ว่าจะเป็นประชาชนทั่วไป ตัวผู้ป่วยเอง หรือญาติผู้ดูแลก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

สุดท้ายแล้ว ขอให้พี่โสภณ สู่สุขคติ และ ขอแสดงความเสียใจต่อครอบครัว พัชรวีระพงษ์ ด้วยครับ

แท็ก : โรเบิร์ตสายควันป่วยเป็นอะไร, โรเบิร์ตสายควัน สูง, อายุโรเบิร์ตสายควัน, โร เบิ ร์ ต สาย ค. วัน pantip, โรเบิร์ตสายควันเสียแล้ว, โรเบิร์ต สายควัน, โรเบิร์ต สายควัน เสียชีวิต, โรเบิร์ต สายควัน เสียแล้ว, อายุโรเบิร์ต สายควัน, โรเบิร์ตสายควันป่วย

โรเบิร์ต สายควัน ป่วย, โรเบิร์ตสายควัน, โรเบิร์ตสายควัน ig, โรเบิร์ต สายควัน ig, โรเบิร์ต สายควัน สูง, โรเบิร์ตสายควัน pantip, โรเบิร์ต สายควัน สมัยก่อน, โรเบิร์ต สายควัน pantip, โรเบิร์ต สายควัน ป่วยเป็นอะไร

โสภณ พัชรวีระพงษ์, โรเบิร์ต สายควัน มะเร็งระยะไหน, มะเร็งต่อมลูกหมาก ลามไปกระดูก อาการ, แชร์ประสบการณ์ มะเร็ง ต่อมน้ำ เหลือง, แตงโม นิดา, พ่อแตงโมนิดาตาย 

02 มีนาคม 2565

ผู้ชม 37077 ครั้ง

Engine by shopup.com