ถามใจ ชาวมนุษย์เงินเดือน หลังเลิกงาน เคยถูกสั่งงานผ่านไลน์ ข้อความเฟสบุ๊ค อีเมลล์ นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่ ?
ถามใจ ชาวมนุษย์เงินเดือน หลังเลิกงาน เคยถูกสั่งงานผ่านไลน์ ข้อความเฟสบุ๊ค อีเมลล์ นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่ ?
News Update วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 : กรณีศึกษา จากบทความ "การสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำงาน" ทำได้หรือไม่ ??? จากคณะผู้วิจัย ระบุว่า การสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ นอกเวลาทำงาน
ถือเป็นการให้ลูกจ้างทำงานนอกเวลาทำงานปกติ ย่อมเป็นการทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ซึ่งลูกจ้างมีสิทธิที่จะปฎิเสธการทำงานได้ หรือถ้าลูกจ้างทำงานนายจ้างควรต้องจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดให้
ซึ่งทางฝรั่งเศส มีหลัก "สิทธิจะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน" ที่กฎหมายให้อำนาจลูกจ้างที่จะไม่อ่าน ไม่ตอบการสื่อสารนอกเวลาทำงานได้โดยไม่มีความผิด
"การสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำงาน" ทำได้หรือไม่ ?
เบื้องต้นขอเรียนว่าเรื่องที่ท่านกำลังอ่านนี้เป็นเพียงความเห็นทางกฎหมาย
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า ทุกวันนี้พนักงานออฟฟิศรับข้อมูลการสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ มากกว่าเมื่อสี่ปีก่อนถึง 7 เท่า และจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 32 เท่าในปี 2563 ซึ่งข้อมูลที่ล้นเกินก็ไม่จำเป็นต้องสนใจ
เมื่อพิจารณาจากกฎหมายคุ้มครองแรงงาน มาตรา 23 กำหนดว่าให้นายจ้างประกาศเวลาทำงาน โดยวันหนึ่งไม่เกิน 8 ชั่วโมง
การทำงานนอกเหนือหรือเกินจากเวลาทำงานปกติ 8 ชั่วโมงข้างต้นเรียกว่า "ล่วงเวลา" และถ้าเป็นการทำงานล่วงเวลานายจ้างต้องจ่าย "ค่าล่วงเวลา" ถ้าล่วงเวลาวันธรรมดาจ่าย 1.5 เท่า ถ้าล่วงเวลาในวันหยุดจ่าย 3 เท่า
ปัญหาว่าการสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ เช่น ไลน์ ข้อความเฟสบุ๊ค อีเมลล์ ฯ นายจ้างสามารถทำได้หรือไม่ จะขอแยกอธิบายเป็น 3 ประเด็น คือ
1 สั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ในช่วงเวลาทำงานปกติ เช่นนี้ การสั่งการดังกล่าวสามารถทำได้เพราะนายจ้างมีอำนาจบังคับบัญชาลูกจ้าง ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวนายจ้างได้ชำระหนี้ต่างตอบแทนในรูปของ "ค่าจ้าง" อยู่แล้ว
2 สั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ "นอกเวลาทำงานปกติ" หรือ "ในวันหยุด"
และผลจากคำสั่งนั้นทำให้ลูกจ้างต้อง "ทำงาน" ให้แก่นายจ้าง เช่น นายจ้างกำหนดให้ลูกจ้างคำนวณต้นทุน หรือทำเอกสาร
หรือค้นคว้าหาข้อมูล จะเห็นได้ว่าผลจากคำสั่งดังกล่าวลูกจ้างต้อง "ทำงาน" และเป็นการทำ "นอกเหนือเวลาทำงานปกติ" หรือ "ทำงานในวันหยุด"
ความเห็นทางกฎหมาย การสั่งงานดังกล่าวมีผล ดังนี้ 1 ลูกจ้างปฏิเสธที่จะทำได้ เพราะมาตรา 24 กำหนดว่าการทำงานล่วงเวลาจะต้องได้รับความยินยอมจากลูกจ้างด้วย
2 หากลูกจ้างไม่ยินยอม นายจ้างจะนำเอาเหตุดังกล่าวไปใช้ในการประเมินผลงานไม่ได้ เพราะสิทธิที่จะปฏิเสธการทำงานล่วงเวลาเป็นสิ่งที่กฎหมายบัญญัติรองรับให้สิทธิ
3 เมื่อการสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์เป็นการ "ทำงานล่วงเวลา" หรือ "ทำงานในวันหยุด" เพราะเป็นการทำงานนอกเหนือจากเวลาทำงานปกติ หรือทำงานในวันหยุด
นายจ้างน่าจะต้องจ่ายค่าล่วงเวลา หรือค่าทำงานในวันหยุดตามที่กฎหมายคุ้มครองแรงงานกำหนดไว้ในมาตรา 61,63 และมาตรา 62
4 หากการสื่อสารผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่เป็นการทำงาน แต่เป็นการสอบถามหรือสื่อสารทั่วไป เช่น ถามที่เก็บกุญแจตู้ หรือขอรหัสผ่านคอมพิวเตอร์ "ไม่ถือว่าเป็นการทำงาน" นายจ้างไม่ต้องรับผิดในการจ่ายค่าล่วงเวลาหรือค่าทำงานในวันหยุด
จะเห็นว่าการทำงานในโลกดิจิทัล ที่มีการเชื่อมต่อนายจ้างเข้ากับลูกจ้างแบบออนไลน์ทำให้นายจ้างมีเครื่องมือในการบังคับบัญชาลูกจ้างได้ตลอดเวลา
แต่หากพิจารณาปฎิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนจะเห็นได้ว่าการสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์เป็นการ "แทรกแซง" ต่อเวลาอันเป็นส่วนตัวของลูกจ้างในช่วงเวลานอกเหนือเวลาทำงานปกติตามที่กฎหมายกำหนดให้อำนาจบังคับบัญชาหรือสั่งงานของนายจ้างเอาไว้ในมาตรา 23 แห่งกฎหมายแรงงาน
อีกทั้งเมื่อพิจารณาจากมาตรา 24 ในกฎหมายฉบับเดียวกันยังได้คุ้มครองลูกจ้างจากการทำงานล่วงเวลาโดยวางหลักห้ามมิให้บังคับให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลา เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง โดยนายจ้างจะต้องจ่ายค่าตอบแทนในช่วงเวลาดังกล่าวเรียกว่า "ค่าล่วงเวลา"
ในประเทศฝรั่งเศสมีการบัญญัติกฎหมายออกมาบังคับใช้เมื่อวันที่ 1 มค 2017 ได้สร้างหลัก "สิทธิที่จะตัดขาดการสื่อสารนอกเวลาทำงาน" ขึ้น
อันเป็นการสอดคล้องกับหลักการเคารพชั่วโมงการทำงานในเวลาทำงานปกติอย่างเคร่งครัด ซึ่งไม่เกิน 35 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ( ในขณะที่ประเทศไทยไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ )
ปัจจุบัน เริ่มมีการออกข้อกฎหมายใหม่ ตามต่างประเทศ ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีข้อบัญญัติกฎหมายออกมารองรับการทำงานในยุคดิจิทัล
อย่างไรก็ตาม การทำงานในยุคดิจิทัล คนไทยควรปรับตัวให้เข้าสถานการณ์ของโลกได้แล้ว เมื่อโลกเปลี่ยนไป หมดเวลาหาข้ออ้างใดๆ
เนื่องจาก การทำงานในยุคดิจิทัล ข้อมูลต่างๆ จะรวมอยู่ในสมาร์ทโฟนที่เราใช้พกพาเพียงเครื่องเดียว ดังนั้นการอ้าง วันเสาร์ อาทิตย์ หรือ หลังเลิกงาน จะหยุดทุกอย่าง เป็นไปไม่ได้
หากยังไม่ปรับตัว รับรองว่าวิชาชีพที่คุณทำอยู่ คุณจะไม่สามารถทำงาน อย่างมีความสุข สนุก และ มั่นคง
หลายๆ อาชีพ เขาเริ่ม ปรับตัวให้เข้าสถานการณ์ของโลกกันแล้ว คุณยังอ้าง วันเสาร์ อาทิตย์ หยุดทุกอย่างทั้งหมด รับรองว่า ตกงานอย่างแน่นอน !
อ้างอิงข้อมูล จาก กรณีศึกษา จากบทความ "การสั่งงานผ่านสื่ออีเล็กทรอนิกส์นอกเวลาทำงาน"
02 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้ชม 4760 ครั้ง