#จุฬาซอย10 ไม่ใช่เหตุกราดยิง ผู้ก่อเหตุ นายเอกชัย เจ้าของร้านเสื้อกีฬาเสื้อฟุตบอล ใช้ปืนระบายอารมณ์ Emotional shooting
#จุฬาซอย10 ไม่ใช่เหตุกราดยิง ผู้ก่อเหตุ นายเอกชัย เจ้าของร้านเสื้อกีฬาเสื้อฟุตบอล ใช้ปืนระบายอารมณ์ Emotional shooting
#ยิงกลางกรุง #จุฬาซอย10 Emotional shooting - News Update วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 กลายเป็นเหตุสะเทือนขวัญประชาชนอีกแล้ว
เนื่องจากหลายคนยังคงสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่โคราชอยู่ เมื่อได้เกิดเหตุ Emotional shooting
มีการใช้อาวุธปืนยิงภายในบริเวณจุฬา ซอย 10 ถนนบรรทัดทอง เหตุเกิดตั้งแต่ตี 3 จนถึงเกือบ 6 โมงเช้าแล้วก็เงียบ บ้านหลังที่ก่อเหตุเป็นร้านเสื้อกีฬาเสื้อฟุตบอล และชุดกีฬาอื่นๆ ทำชื่อโลโก้ จำหน่ายชุดกีฬาปลีกและส่ง
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษกตำรวจ ระบุว่า ควบคุมสติ นายเอกชัย จารึกศิลป์ ผู้ก่อเหตุ ที่มีความเครียด ปัญหาครอบครัว และอีกหลายๆ ปัจจัย
ไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต ยืนยันว่า เจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้แล้ว
อย่างไรก็ตาม ขอเรียนชี้แจงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ไม่ได้เป็นเหตุกราดยิงตามประเด็นที่เป็นข่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ ขอให้รับฟังข้อมูลจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจเท่านั้น
ด้าน "กรมสุขภาพจิต" เผยความโกรธ หรือ เพลิงโทสะ ทำให้อุณหภูมิเครียดเพิ่ม มีโอกาสทำสิ่งผิดพลาดได้สูง ทำลายล้างต่อคนและสิ่งของ แนะประชาชนฝึกการ “ติดเบรก” ควบคุมอารมณ์ ระงับสติ
กรมสุขภาพจิต ระบุถึงกรณีสื่อมีการเผยแพร่เรื่องราวความโกรธ ความอาฆาต พยาบาท ความแค้น ซึ่งอารมณ์โกรธนี้ เป็นเรื่องปกติที่พบได้ในคนทั่วไป
หากไม่สามารถควบคุมได้ จะกลายเป็นพลังทำลาย ทำอะไรหุนหันพลันแล่น การตัดสินใจผิดพลาดง่ายนำไปสู่ปัญหาต่างๆทั้งความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ปัญหาครอบครัว ปัญหาในการทำงาน
ก่อให้ ประสิทธิภาพการทำงานลดลง ความโกรธจะนำไปสู่การเพิ่มความเครียด และในทำนองเดียวความเครียดก็มักจะทำให้มีความโกรธเพิ่มมากขึ้น และอาจมีผลกระทบทางกาย
หากเกิดในผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิตสูงอยู่เดิม อาจเพิ่มความเสี่ยงอันตราย อาจทำให้เส้นเลือดในสมองตีบหรือแตก เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาตได้ด้วยเช่นกัน
ประชาชนทุกคนควรฝึกการติดเบรค โดยใช้วิธีฝึกการถามใจตัวเองในเบื้องต้น 4 ข้อดังนี้
1 มองและคิดไปให้ไกลถามตัวเองว่าเรื่องที่โกรธอยู่นี้สำคัญต่อตัวเราเองมากน้อยแค่ไหน 2 ให้ถามตัวเองว่า ถ้าเราตอบโต้อะไรลงไปทันทีตามความโกรธ จะเกิดอะไรขึ้น “ได้แค่สะใจชั่วคราวแต่ต้องเสียใจเสียชื่อไปตลอดชีวิตหรือไม่”
3 ให้ลองถามตัวเองว่า เราได้เคยทำสิ่งเดียวกับที่คนอื่นทำกับเราในวันนี้หรือไม่ และเราเองก็ไม่รู้ตัวว่าทำให้คนอื่นโกรธเช่นกัน
และ 4 ลองถามตัวเองว่า เพราะเหตุใดคนอื่น จึงทำเช่นนี้กับเราให้ลองคิดแบบมีเหตุมีผลว่าเขาอาจมีความจำเป็นจึงทำเช่นนั้น การถามตัวเอง จะช่วยประวิงเวลา ทบทวนตัวเอง
เมื่อมีความโกรธเกิดขึ้น ขอให้ใช้วิธีจัดการกับความโกรธ โดยเบี่ยงเบนความสนใจออกไปจากเหตุการณ์ที่ทำให้โกรธ
“สิ่งที่ไม่ควรทำขณะที่รู้สึกว่าตนเองโกรธจนควบคุมตัวเองได้ยาก ได้แก่ 1 ไม่ควรโพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวระบายอารมณ์ขณะยังมีความโกรธรุนแรง
เพราะจะทำให้ขาดความยับยั้งชั่งใจ ขาดสติเผลอตัวเขียนระบายอารมณ์ในสิ่งที่ไม่สมควรและต้องมานึกเสียใจภายหลังที่แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว
2 ห้ามขับรถ เพราะอารมณ์โกรธ เครียด จะทำให้เราหุนหันพลันแล่น ขาดสติ
3 ไม่ระบายอารมณ์ด้วยการใช้ความรุนแรง ใช้อาวุธเช่น ปืน ยิงระบายอารมณ์ Emotional shooting หรือ ดื่มเหล้า
4 หลีกเลี่ยงการทะเลาะเพราะจะลุกลามใหญ่โตได้ง่ายเนื่องจากการควบคุมตนเองไม่ได้
5 ห้ามคิดหมกมุ่นอยู่กับคนหรือเรื่องที่ทำให้โกรธ เนื่องจากจะทำให้ความรู้สึกโกรธเพิ่มมากขึ้นและอาจทำให้เกิดความรุนแรง”
17 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้ชม 2385 ครั้ง