น่าใจหาย สนามบินดอนเมือง จากที่เคยคึกคัก วันนี้ เงียบสงัดคล้ายเมืองร้าง ส่งผลกระทบจ้างงานทุกระบบ
น่าใจหาย สนามบินดอนเมือง จากที่เคยคึกคัก วันนี้ เงียบสงัดคล้ายเมืองร้าง ส่งผลกระทบจ้างงานทุกระบบ
#covid-19 #โคโรนาไวรัส #ทอท. #ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 , ข่าวด่วน , ไวรัสโควิด 19 , ไวรัสโคโรนา , #หน้ากากอนามัย , อู่ฮั่น , คนไทยจากอู่ฮั่น - News Update วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563
วิกฤตไวรัสโควิด-19 ยังถือเป็นปัจจัยหลักกระทบภาพรวมเศรษฐกิจทั้งท่องเที่ยวและส่งออก นักเศรษฐศาสตร์หลายธนาคาร คาดผลกระทบที่เลวร้ายสุดจากไวรัสโควิด-19 จะอยู่ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. ซึ่งรับผิดชอบดูแลบริหารงานท่าอากาศยานหลัก 6 แห่งของไทย
โดยนายนิตินัย ศิริสมรรถการ โพสต์ภาพผ่านเฟสบุ๊ค ภายในอาคารผู้โดยสารสนามบินดอนเมืองช่วงเช้าของวันนี้ที่อยู่ในสภาพที่ว่างเปล่าแทบไม่มีผู้โดยสารเข้ามาใช้บริการเลย
ซึ่งเป็นผลกระทบจากปัญหาการระบาดของไวรัส COVID-19 พร้อมกันนี้ยังมีการโพสต์ข้อความประกอบรูปไว้ด้วยว่า "สนามบินดอนเมือง เช้าวันนี้ครับ #covid-19 #โคโรนาไวรัส #ทอท."
นายนิตินัย เปิดเผยว่า ปัญหาครั้งนี้ส่งผลกระทบกับการท่องเที่ยวหนักมาก อยากให้กำลังใจสายการบิน ผู้ประกอบการ และการจ้างงานทุกระบบที่อาจได้รับผลกระทบ
ทั้งนี้ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) (ทอท.) ได้มีมาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการตารางบินในท่าอากาศยาน ทอท. ทั้ง 6 แห่ง
ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานหาดใหญ่ และท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
เนื่องมาจากสาเหตุหลักที่สายการบินไม่สามารถขอเพิ่มเที่ยวบินได้ เป็นผลมาจากความหนาแน่นของเที่ยวบิน โดยเฉพาะที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมือง
แม้จะมีการขอยกเลิกเที่ยวบินเนื่องจากปัญหาจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาแล้วก็ตาม สายการบินก็ยังคงไม่สามารถเพิ่มเที่ยวบินได้ตามอุปสงค์ (demand) ที่มีอยู่
เนื่องจากสายการบินเจ้าของเวลาทำการบิน (Slot) มักใช้กลยุทธ์ทำการตลาดจนถึงนาทีสุดท้าย ทำให้บางครั้งเกิดการยกเลิกเที่ยวบินล่าช้าจนทำให้สายการบินอื่นที่สนใจเข้ามาทดแทน ไม่สามารถขอใบอนุญาต และทำการตลาดได้ทันท่วงที
จึงเห็นควรให้มีโครงการส่งเสริมการบริหารจัดการตารางการบินเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว สำหรับเที่ยวบินขาออก ณ ท่าอากาศยาน 6 แห่งของ ทอท. โดยมีระยะเวลาโครงการตั้งแต่วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 - 26 มีนาคม 2565
โดยมอบโบนัสแก่สายการบินที่ขอยกเลิกตารางการบินล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วันก่อนวันที่ทำการบินของเที่ยวบินที่ได้รับอนุญาตตามตารางการบิน เพื่อกระตุ้นให้สายการบินส่งคืนตารางการบินที่ไม่ใช้ในระยะเวลาที่เหมาะสมเพียงพอ
ให้สายการบินอื่นที่มีความประสงค์จะเข้ามาทำการบิน สามารถดำเนินกระบวนการขออนุญาตบริหารจัดการเพื่อเข้ามาทำการบินได้ทันเวลา
โดยสนับสนุนเงินโบนัส 200 บาทต่อผู้โดยสาร 1 คนของเที่ยวบินที่ทำการบินขาออกทดแทน พร้อมให้ส่วนลดค่าบริการขึ้นลงอากาศยาน (Landing Fee) ในอัตราร้อยละ 50 ของอัตราปกติ ให้กับเที่ยวบินพิเศษ (Extra Flight) และเที่ยวบินเช่าเหมาลำ (Charter Flight) ที่เข้ามาทดแทน บนเงื่อนไขที่ผู้ยกเลิกจะได้รับ
สิทธิพิเศษก็ต่อเมื่อมีสายการบินใหม่เข้ามาทดแทนเที่ยวบินเดิมที่ผู้ประกอบการแจ้งยกเลิกเที่ยวบินไปแล้ว ซึ่งมาตรการนี้จะหมดในวันสุดท้ายของตารางบินฤดูหนาวปี 2565 หรือในช่วงเดือนเมษายน 2565
ทั้งนี้ ทอท. เชื่อว่ามาตรการกระตุ้นตลาดการบินในครั้งนี้ จะสามารถส่งเสริมการท่องเที่ยว และช่วยเหลือธุรกิจการบินในช่วงที่มีโรคระบาด อีกทั้งยังเป็นการช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารเที่ยวบินให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้โดยสาร
และยังสร้างโอกาสให้กับสายการบินที่สนใจเข้ามาทำการบินได้ทันเวลา นับว่าเป็นการบริหารทรัพยากรท่าอากาศยานให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
19 กุมภาพันธ์ 2563
ผู้ชม 2881 ครั้ง