จุฬา ไม่อนุญาตให้บุคลากร-นิสิต เดินทางไปประเทศ พื้นที่เสี่ยงต่อติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนตื่นกลัวมากขึ้น

บทความ

จุฬา ไม่อนุญาตให้บุคลากร-นิสิต เดินทางไปประเทศ พื้นที่เสี่ยงต่อติดเชื้อโรคโควิด-19 ทำให้ประชาชนตื่นกลัวมากขึ้น

จุฬา , ประกาศ , ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 , ข่าวด่วน , ไวรัสโควิด 19  , ไวรัสโคโรนา , #หน้ากากอนามัย , อู่ฮั่น  - News Update วันพฤหัสบดีที่ 20 กุมภาพันธ์  2563  

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ออกประกาศวานนี้ ไม่อนุญาตให้บุคลากร-นิสิต เดินทางไปประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ระหว่างวันที่ 20 ก.พ.ถึงวันที่ 19 เม.ย.63

ประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 ตามที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่อง ให้หยุดเรียนหรือหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาโดยไม่นับเป็นวันลา

ลงวันที่ 27 มกราคม 2563 ไปแล้วนั้น แต่เนื่องจากยังมีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 เป็นจำนวนมาก และเชื้อโรคดังกล่าวยังคงแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงไปยังหลายประเทศในภูมิภาคต่างๆ ของโลก

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน นิสิต และบุคลากร

จึงได้ออกประกาศจุฬาฯ ลงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563 เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 และประกาศจุฬาฯ เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศหรือพื้นที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ซึ่งมีรายละเอียดตามประกาศดังนี้

ตามที่มหาวิทยาลัยได้ออกประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ให้หยุดเรียนหรือหยุดงานในช่วงสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา ลงวันที่ 27 มกราคม พ.ศ.2563 ไปแล้วนั้น

แต่เนื่องจากปรากฏข้อเท็จริงเป็นที่ประจักษ์ว่า บัดนี้มีผู้ติดเชื้อโรคโควิด-19 แล้วเป็นจำนวนมากและเชื้อโรคดังกล่าวยังได้แพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและรุนแรงไปยังหลายประเทศในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก

มหาวิทยาลัยจึงจำเป็นต้องเพิ่มมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคดังกล่าว เพื่อมิให้ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของนักเรียน นิสิต และบุคลากร ตลอดจนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย

 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 มาตรา 77 และมาตรา 86 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 ประกอบกับข้อ 15 วรรคสาม แห่งระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.2555

และข้อ 10 วรรคสอง แห่งระเบียบจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ว่าด้วยการลาของพนักงานมหาวิทยาลัย พ.ศ.2551 จึงเห็นสมควรให้ดำเนินการดังนี้

ข้อ 1 ไม่อนุมัติหรืออนุญาตให้นักเรียน นิสิต หรือบุคลากรลาเพื่อเดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Transit) ประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19

ตามที่มหาวิทยาลัยประกาศกำหนด ซึ่งมีกำหนดการเดินทางระหว่างวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พศ.2563 จนถึงวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2563

ข้อ 2  กรณีที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้ลาเพื่อเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงดังกล่าวอยู่ก่อนวันประกาศนี้ ให้นักเรียน นิสิต

หรือบุคลากรงดหรือเลื่อนการเดินทางออกไปให้พันระยะเวลาที่กำหนดไว้ในข้อ 1.และถ้ามีค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติไว้แล้วเกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ให้สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามจริง 

กรณีที่มีเหตุผลหรือความจำเป็นอย่างยิ่งไม่อาจหลีกเลี่ยงการเดินทางไปยังประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 ได้

ให้นักเรียน นิสิตหรือบุคลากรแจ้งเหตุผลหรือความจำเป็นดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน/คำกับดูแล แล้วแต่กรณีเพื่อพิจารณา และเมื่อเดินทางกลับมาถึงประเทศไทยแล้วให้ดำเนินการตามข้อ 3.

ข้อ 3. นักเรียน นิสิต หรือบุคลากรที่เดินทางไปยังหรือแวะผ่าน (Tansit) ประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 กลับมาถึงประเทศไทยภายในวันที่ 19 เมษายน พ.ศ.2563 ไม่ว่าจะเป็นกรณีที่ได้รับอนุมัติหรืออนุญาตให้เดินทางหรือเดินทางด้วยภารกิจส่วนตัว

ให้ผู้นั้นมีหน้าที่ปรับการตรวจคัดกรองและฝ้าระวังเชื้อโรคโควิด-19 ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์หรือสถานพยาบาลอื่นที่มีมาตรฐานในการตรวจคัดกรองและเฝ้าระวังเทียบเท่ากับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ในวาระแรกที่สามารถกระทำได้

แล้วรายงานผลการตรวจดังกล่าวต่อหัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน กำกับดูแล แล้วแต่กรณี

ถ้าหากตรวจพบหรือมีภาวะเสี่ยงที่จะติดเชื้อโรคโควิด-19 ให้หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงานกำกับดูแล แล้วแต่กรณี

พิจารณาสั่งให้ผู้นั้นงดเข้าชั้นเรียนหรือหยุดมาปฏิบัติงานเพื่อรับการรักษาจนหายเป็นปกติหรือเพื่อเฝ้าดูอาการ เป็นวลา 14 วัน นับจากวันที่กลับมาถึงประเทศไทย โดยไม่ถือเป็นการขาดเรียน หรือขาดการปฏิบัติงาน และไม่นับเป็นวันลา

หัวหน้าส่วนงานหรือรองอธิการบดีที่กำกับการปฏิบัติงาน/คำกับดูแล แล้วแต่กรณี ที่สั่งให้นักเรียน นิสิตบุคลากรคนใดงดเข้าชั้นเรียนหรือหยุดมาปฏิบัติงานเพื่อเฝ้าดูอาการตามวรรคหนึ่ง อาจมอบหมายงานให้ผู้นั้นปฏิบัติในระหว่างที่หยุดเฝ้าดูอาการนั้นก็ได้

 ข้อ. 4 ให้งดหรือเลื่อนการเชิญบุคคลจากต่างประเทศร่วมกิจกรรมการเรียนการสอน การประชุม การสัมมนา หรือการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับมหาวิทยาลัย ระหว่างวันที่ 20 ก.พ.-19 เม.ย. 2563 ออกไปก่อน และถ้าหากมีค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนมัติไว้แล้วเกิดขึ้นก่อนวันที่ประกาศนี้ให้สามารถเบิกจ่ายค่าใช้จ่ายดังกล่าวได้ตามจริง

 ข้อ 5 ให้นักเรียน นิสิต และบุคลากรถือปฏิบัติตามประกาศนี้โดยเคร่งครัด

 ทั้งนี้ตั้งแต่วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เป็นต้นไป

เรื่อง กำหนดรายชื่อประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พ.ศ.2551

ประกอบกับข้อ 1.ของประกาศจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง มาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคโควิด-19 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563

มหาวิทยาลัยจึงกำหนดให้ประเทศดังมีรายชื่อต่อไปนี้เป็นประเทศหรือเขตการปกครองที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคโควิด-19

1สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) 2 สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) 3  สาธารณรัฐประชาชนจีน 4 เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

5  เขตบริหารพิเศษมาเก๊าแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน 6 ญี่ปุ่น 7 มาเลเชีย 8 สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม 9 สาธารณรัฐสิงคโปร์

สำนักข่าว ไชน่าเดลีและ เอเอฟพี รายงานความคืบหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ว่า พบผู้เสียชีวิตรายใหม่ในจีนเพิ่มขึ้นอีก 108 ราย ส่งผลให้ยอดผู้เสียชีวิตเฉพาะในประเทศเพิ่มเป็น 2,112 ราย

มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในมณฑลหูเป่ยพบเพิ่ม 615 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ป่วยในเมืองอู่ฮั่น พื้นที่ศูนย์กลางการระบาด 13 คน ส่งผลให้ยอดผู้ติดเชื้อในจีนเพิ่มเป็นอย่างน้อย 74,546 คน

ศูนย์วิศวกรรมและระบบวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยจอห์นส์ ฮอพกินส์ ในสหรัฐอเมริกา สรุปยอดรวมผู้ป่วยรวมทั่วโลกว่ามีอย่างน้อย 75,641 คน

 สิงคโปร์ตรวจพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นอย่างน้อย 84 คน ญี่ปุ่นพบเพิ่มอีก 10 คน รวม 74 คน เป็นผู้เสียชีวิต 1 คน ฮ่องกงมีป่วยเพิ่ม 1 คน รวม 63 คน ในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 1 คน

ประเทศไทยคงที่ 35 คน เกาหลีใต้ 31 คน สหรัฐอเมริกา 29 คน รวมผู้ติดเชื้อจากเรือสำราญไดมอนด์ปริ๊นเซส 14 คน ไต้หวันเพิ่ม 1 คน เป็น 23 คน

มีผู้เสียชีวิต 1 คน มาเลเซียคงที่ที่ 22 คน เยอรมนี 16 คน เวียดนาม 16 คน ออสเตรเลีย 15 คน ฝรั่งเศส 12 คน มี 1 คนเสียชีวิต มาเก๊า 10 คน

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (ยูเออี) 9 คน สหราชอาณาจักร 9 คน แคนาดา 8 คน อิตาลี 3 คน ฟิลิปปินส์ 3 คน รวมผู้เสียชีวิต 1 คน อินเดีย 3 คน อิหร่านพบผู้ติดเชื้อและเสียชีวิต 2 คน รัสเซีย 2 คน สเปน 2 คน เนปาล 1 คน กัมพูชา 1 คน เบลเยียม 1 คน ฟินแลนด์ 1 คน สวีเดน 1 คน อียิปต์ 1 คน ศรีลังกา 1 คน

20 กุมภาพันธ์ 2563

ผู้ชม 1508 ครั้ง

Engine by shopup.com