เทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล แนะป้องกันระเบิดเวลาทางใจ ใช้เครื่อง EEG ตรวจคลื่นความคิด ความเครียด ความกดดัน

บทความ

เทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล แนะป้องกันระเบิดเวลาทางใจ ใช้เครื่อง EEG ตรวจคลื่นความคิด ความเครียด ความกดดัน

คณะเทคนิคการแพทย์ ม.มหิดล ริเริ่มใช้เครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง (EEG) ดูพัฒนาการฝึกสติ และสมาธิ ส่งเสริมสุขภาวะทางใจ

ณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล , Electroencephalography , เครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง

 - News Update วันอาทิตย์ที่ 23 กุมภาพันธ์  2563 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ให้คำนิยามเรื่อง "สุขภาวะ" (Well-being) ที่ครอบคลุมทั้ง 4 มิติที่มีความสัมพันธ์กัน ทั้งในเรื่องสุขภาพกาย สุขภาพใจ สุขภาวะทางสังคม และสุขภาวะทางปัญญา

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กล่าวในการสนทนาธรรม "สติ..กับการกู้ใจ ให้ไร้ระเบิดเวลา" กับ แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน และ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม ว่า

"ระเบิดเวลาทางใจ" เกิดจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะทางใจ โดยเฉพาะในสังคมเสมือนจริงที่อยู่บนโลกออนไลน์ พบว่าผู้คนเริ่มแยกกันมาอยู่กับตัวเอง อยู่กันไม่เป็นสังคมกันมากขึ้น

เพราะฉะนั้นหากเราไม่รู้เท่าทัน เสพสื่อโดยขาดสติ จะทำให้สุขภาพทางใจเราเริ่มเสียไปด้วย

"ความเครียด" โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อเกิดของอนุมูลอิสระ เป็นปัจจัยที่มีส่วนสัมพันธ์กับโรคต่างๆ โดยมีข้อมูลว่าเกี่ยวเนื่องกับการเกิดโรคมะเร็ง โรคหัวใจ

ซึ่งรวมไปถึงการแก่ก่อนวัย ปัจจุบันเรามีการริเริ่มใช้ เครื่องวิเคราะห์คลื่นสัญญาณไฟฟ้าสมอง

( Electroencephalography หรือ EEG) มาทำให้เรื่องสุขภาพทางใจเป็นเรื่องที่จับต้องได้ ซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการช่วยดูพัฒนาการฝึกสติ และสมาธิได้

เครื่อง EEG สามารถใช้วิเคราะห์คลื่นสมองหลัก 4 คลื่น คือ คลื่นเบต้า ซึ่งสามารถบอกได้ทั้งความคิดและความเครียดที่ก่อเกิดอยู่

คลื่นแอลฟ่า ที่บอกถึงการผ่อนคลายในระดับหนึ่ง ซึ่งอาจหมายถึงการรับรู้เท่าทันกับความเครียดและพยายามกำหนดวิถีในการผ่อนคลาย และอีก 2 คลื่น คือ ธีต้า และ เดลต้า ที่สามารถบ่งชี้ภาวะความผ่อนคลายในระดับที่ลึกขึ้น และการมีระดับของสมาธิที่สูงขึ้นได้

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ถ้าเรามีความเครียดสูง เมื่อตรวจด้วยเครื่อง EEG จะพบว่ามีคลื่นเบต้า ค่อนข้างสูงในแต่ละช่วงเวลา

แต่เมื่อมีการควบคุมความเครียดได้ดีขึ้น หรืออีกนัยคือผ่อนคลายดีขึ้น คลื่นแอลฟ่าก็จะสูงขึ้นตาม โดยคลื่นสมองที่มีสัดส่วนแอลฟ่าสูงกว่าเบต้า จะถูกวิเคราะห์และแสดงผลออกมาเป็นกราฟ ซึ่งเกิดมาจากการฝึกสติให้รู้เท่าทัน

โดยผลจากการวัดคลื่นไฟฟ้าสมองจะสามารถช่วยยืนยันได้ว่า ที่เราฝึกมานั้น ทำได้ถูกต้อง ถูกทางเพียงใด

ในขณะเดียวกัน คนที่ไม่สามารถที่จะครองสติอยู่ได้ มีแต่ความเครียดสะสม จะไม่เห็นคลื่นสมองในสัดส่วนหรือสมดุลที่ดีได้ เนื่องจากมีคลื่นเบต้าสูงกว่าคลื่นแอลฟ่ามาก

แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต แห่งเสถียรธรรมสถาน และ ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา

คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ร่วมกับ เสถียรธรรมสถาน และศูนย์คุณธรรม ขับเคลื่อน "Mindfulness & Moral-based Learning Society" ซึ่งหมายถึงการใช้เรื่องของสติ และคุณธรรมต่างๆ เข้ามาช่วยกันเพื่อให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้

สังคมแห่งสุขภาวะที่ดี ที่คณะเทคนิคการแพทย์เรามีศูนย์ส่งเสริมสุขภาวะแบบองค์รวม ที่ดูแลทั้งมิติสุขภาพกายและใจ และล่าสุดได้มีความร่วมมือกับ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จัดตั้งคลินิกส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคของ สปสช.เขต 13 กรุงเทพมหานคร

โดยสามารถที่จะให้บริการตามสิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อการดูแลสร้างเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคด้วย ซึ่งผู้สนใจสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่โทร. 092 554 5230

"คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จะนำเอาความพร้อมและศักยภาพต่างๆ ที่มีอยู่มาช่วยทำให้ประสบผลมากที่สุด

โดยจะทำให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ที่สามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ทรัพยากรบุคคล ข้อมูล และเทคโนโลยี เพื่อการร่วมขับเคลื่อนเพื่อการพัฒนาสังคมแห่งสุขภาวะ ให้คนในสังคมมีสุขภาพกายและใจที่สมบูรณ์แข็งแรง

เรามุ่งหวังที่จะทำให้ประเทศไทย และโลกของเราเป็นสังคมแห่งศานติสุข" ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวทิ้งท้าย

นับว่าเป็นความตื่นตัว และ ให้ความสำคัญต่อสถานการณ์ต่างๆ ในปัจจุบัน ที่ประชาชนมีความเครียด ความกดดัน  ของ ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ที่มีวิสัยทัศน์ยอดเยี่ยม

ศาสตราจารย์ ดร. ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา

และ เป็นความก้าวหน้าของ “เทคนิคการแพทย์ชุมชน”  ที่คณะเทคนิคการแพทย์ เปิดมุมมองของวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ด้วยการเชื่อมโยงภารกิจของคณะฯ ไปสู่ชุมชนและสังคม

โดย คณะฯได้จัดกระบวนการเรียนการสอนในห้องเรียนควบคู่กับการพัฒนาบุคลากรและนักศึกษานอกชั้นเรียน อีกทั้งขยายผลเพื่อส่งต่อความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์สู่ชุมชนในทุกมิติ

ฐิติรัตน์ เดชพรหม / รายงาน

23 กุมภาพันธ์ 2563

ผู้ชม 4827 ครั้ง

Engine by shopup.com