IO คืออะไร ถล่มยับ พลังประชารัฐ แขวะคนไทยเป็น ซอมบี้ แค่รู้เท่าทัน เบื้องหลัง ทีมงาน ไอโอรัฐบาล

บทความ

IO คืออะไร ถล่มยับ พลังประชารัฐ แขวะคนไทยเป็น ซอมบี้ แค่รู้เท่าทัน เบื้องหลัง ทีมงาน ไอโอรัฐบาล

พวก io คือ , io ทหารคืออะไร , io+คือ , แฉ IO ทหารกลางสภา , IO คือ , ความหมาย IO , IO คืออะไร , จิตวิทยา io คือ , พวก io , สงคราม ข่าวสาร คือ - News Update 

โซเชียลติดแฮชแท็ก #รู้ทันIO  จากกรณี นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปรายว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

io+คือ

มีประชาชนจำนวนมากอยากรู้ว่า ไอโอคืออะไร ? พวก io คือ ? พฤติกรรมยุยงปลุกปั่นสร้างความแตกแยกในหมู่ประชาชนปัจจุบัน หากเข้าโลกออนไลน์จะพบบัญชีรายชื่อปลอม เพจปลอม

โดยเอารูปการ์ตูน รูปต่าง ๆ ที่ไม่ใช่ตัวเองมาตั้งเป็นรูปโปรไฟล์ และออกปฏิบัติการคุกคามประชาชน นี่คือคำตอบของคำถาม ไอโอคืออะไร ? ปฏิบัติการ io คืออะไร ? เราเรียกภารกิจแบบนี้ว่า "ไอโอ"  หรือ ปฏิบัติการข่าวสาร

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้  และ เพจ sasook รายงานว่า วันที่ 26 ก.พ. เฟสบุ๊คแฟนเพจ พลังประชารัฐ ได้โพสต์ภาพข้อความ

ภายหลังจากที่ นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ส.ส.บัญชีรายชื่อ อดีตพรรคอนาคตใหม่ อภิปราย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม

เกี่ยวกับเรื่องไอโอ โดยระบุว่า "ช่างกล้าพูดว่ารัฐบาลมี IO แอดโดนซอมบี้รุมทุกวันถ้าไม่เชื่อลงไปดูคอมเม้นต์ข้างล่างสิ"

หลังจากโพสต์ดังกล่าวถูกเผยแพร่ออกไป ก็มีผู้เข้าไปแสดงความคิดเห็นเป็นจำนวนมาก โดยส่วนมากวิพากษ์วิจารณ์ไม่เห็นด้วยกับการโพสต์ข้อความดังกล่าว

เพราะอาจเป็นการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้น รวมถึงไม่พอใจที่เพจดังกล่าวเรียกประชาชนว่าเป็น ซอมบี้

การปฏิบัติการสารสนเทศ (Information Operation) ในยุคแห่งสงครามสารสนเทศ (Information Warfare) และ กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้ “IO” ระหว่าง “ศอฉ.” และ “นปช.” (ตอนที่ 1)

คำว่า “Information Operation” (นิยมเรียกว่า IO) คืออะไร ? ทำไมหลายฝ่ายจึงเอ่ยถึงคำนี้ให้ได้ยินกันบ่อยๆทางโทรทัศน์และหน้าหนังสือพิมพ์จนกลายเป็นคำยอดฮิตของวันนี้ จะสังเกตุได้ว่าหลายเดือนที่ผ่านมา เราได้ยินคำนี้อยู่เป็นประจำไม่ว่าจะเป็นบนเวทีเสื้อแดง หรือ บนจอโทรทัศน์เวลาที่ ศอฉ. ออกมาแถลง แม้กระทั่งในการอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ ในรัฐสภาก็ยังมีการพูดถึงคำว่า “IO” เช่นกัน

คำว่า อินฟอร์เมชั่น โอเปอร์เรชั่น หมายถึง “การปฏิบัติการสารสนเทศ” ตรงกับภาษาอังกฤษว่า Information Operations  (เรียกย่อว่า Info Ops หรือ IO)

เป็นการนําเอาพันธกิจการปฏิบัติการทางทหารหลายประการมาบูรณาการเพื่อสร้างผลกระทบต่อการคิด ตัดสินใจของฝายตรงข้าม หรือ สร้างอิทธิพลต่อการคิด

การตกลงใจ จากข้อมูลข่าวสารและระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม แม้ว่า กองทัพอากาศไทย จะเรียกว่าการปฏิบัติสารสนเทศ

 ส่วน กองทัพบกไทย จะเรียกต่างกันเล็กน้อยว่า การปฏิบัติการข่าวสารก็ตาม แต่ความหมายก็คือ “Information Operations” เหมือนกัน

IO คืออะไร IO  เป็นส่วนหนึ่งของ “Information Warfare” หรือ “สงครามสารสนเทศ” ซึ่งบางท่านเรียกว่า “สงครามข่าวสาร” ซึ่งอาจเรียกว่า “Cyber War” หรือ “Net War”

คำว่า “Information Operation” หรือ “การปฏิบัติการสารสนเทศ” นั้นเป็นหลักการที่ออกเป็นเอกสารอย่างเป็นทางการครั้งแรกโดยกระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกาในปี 2003 อนุมัติหลักการ

โดย นายโดนัล รัมเฟล (Donald Rumsfeld) รัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯและเป็นเอกสารที่เปิดเผย (Declassified) ในเดือนมกราคม 2006 ซึ่งเป็นการขยายผลจากหลักการที่เกี่ยวข้องกับ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ในมุมมองของกองทัพสหรัฐฯ

หลักการแล้ว “IO” มีความเกี่ยวพันธ์กับหลักการการปฏิบัติการด้านการข่าวทางทหาร ซึ่งเป็นแนวคิดจากการบูรณาการสงครามการควบคุมบังคับบัญชา (Command and Control Warfare) และ สงครามสารสนเทศ (Information Warfare) ของกองทัพสหรัฐฯ

โดยการนำเอาบทเรียนจากการรบกับอิรักในสงครามอ่าว (Gulf Wars) หรือ ที่นิยมเรียกกันว่า “CNN Effect” มาเป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา

อาจกล่าวได้ว่า “การปฏิบัติการสารสนเทศ” คือ การสนธิการปฏิบัติต่างๆ เพื่อทำให้มีอิทธิพล ทำลาย ลดประสิทธิภาพ ในการตัดสินใจและการปฏิบัติการของฝ่ายตรงข้าม

รวมทั้งดำเนินการป้องกันการกระทำของฝ่ายตรงข้ามต่อฝ่ายเราในลักษณะเดียวกัน

เอกสารคำสั่งให้ทหารเป็น io มอบเงินรางวัลให้ผู้ที่ทำเพจเชียร์รัฐบาลเดือนละ 300 บาท

การปฏิบัติต่างๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติการข่าวสาร (IOs) ซึ่งอาจเรียกว่า “ขีดความสามารถ” นั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1 การปฏิบัติหลัก หรือ ขีดความสามารถหลัก (core capabilities)

2  การปฏิบัติสนับสนุน หรือ ขีดความสามารถสนับสนุน (supporting capabilities) และ 3 การปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง หรือขีดความสามารถที่เกี่ยวข้อง (related capabilities)

27 ตุลาคม 2564

ผู้ชม 19387 ครั้ง

Engine by shopup.com