สั่งถอดเปเปอร์งานวิจัย สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อหัวใจ ออกจากวารสารการแพทย์ AHA/ASA Journals เหตุบิดเบือนข้อมูล
สั่งถอดเปเปอร์งานวิจัย สูบบุหรี่ไฟฟ้า มีผลต่อหัวใจ ออกจากวารสารการแพทย์ AHA/ASA Journals เหตุบิดเบือนข้อมูล
บุหรี่ไฟฟ้า , เว็บไซต์สุขภาพ , อาสา ศาลิคุปต , ตัวแทน , เครือข่ายบุหรี่ไฟฟ้า , การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก่อความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย
- News Update วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม 2563 เครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าเผย วารสารการแพทย์ชื่อดัง สั่งถอดงานวิจัยหัวข้อ
“การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก่อความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย” ในการเผยแพร่ผลงานวิจัยและผลงานวิชาการ
เนื่องจากใช้ข้อมูลเพียงบางส่วนมาวิเคราะห์ ตีพิมพ์บทความวิจัยที่ไม่ได้ศึกษาตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้อง เผยงานวิจัยและนักวิจัยคนนี้ถูกนำมาอ้างอิงบ่อยโดยกลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่ไฟฟ้าในไทย
เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ สาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook รายงานว่า นายอาสา ศาลิคุปต ตัวแทนเครือข่ายผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้า “ลาขาดควันยาสูบ”
ระบุว่า “ผลการวิจัยที่ระบุว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเป็นประจำเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจขาดเลือดเพิ่มมากขึ้นถึง 2.25 เท่า
เป็นข้อมูลที่บิดเบือนและไม่เป็นไปตามหลักการวิจัยที่ถูกต้อง เพราะผู้วิจัยไม่มีความเป็นกลาง วารสารการแพทย์ของสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน จึงถอดออกงานวิจัยจากวารสารดังกล่าวแล้ว
ดังนั้น จึงเป็นสิ่งสะท้อนให้เห็นถึงอันตรายของการใช้และอ้างอิงข้อมูล ที่ไม่ถูกต้อง โดยกลุ่มรณรงค์ต่อต้านบุหรี่และบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยซึ่งมีการอ้างถึงนักวิจัยดังกล่าวบ่อยครั้ง
การวิจัยหัวข้อ “การใช้บุหรี่ไฟฟ้าก่อความเสี่ยงกล้ามเนื้อหัวใจตาย” จัดทำโดย ดร. สแตนตัน แกลนซ์ และ ดร. ดาร์มา ภัทรา จากศูนย์ศึกษายาสูบ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย
และได้รับการตีพิมพ์ใน วารสารการแพทย์ AHA/ASA Journals ของ สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกา ( American Heart Association ) หรือ AHA
แต่ต่อมา บรรณาธิการวารสาร ตรวจพบว่าผู้ทำวิจัยเลือกเอาเฉพาะผู้ที่ใช้บุหรี่ไฟฟ้ามาทำการวิจัย และไม่มีการวางแผนการเก็บข้อมูลที่ถูกต้อง
จึงเรียกร้องให้มีการวิเคราะห์ข้อมูลซ้ำใหม่และขอให้ชี้แจงความถูกต้องของการเก็บข้อมูล แต่คณะผู้ทำการวิจัยไม่สามารถชี้แจงได้
กองบรรณาธิการจึงต้องเพิกถอนงานวิจัยดังกล่าวออกก่อน โดยให้เหตุผลว่าการข้อสรุปของงานวิจัยนี้ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อไม่เป็นการนำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาดออกสู่สาธารณชน
“หน่วยงานต่อต้านบุหรี่ หรือ สธ. บ้านเรามักจะให้ข้อมูลด้านลบ แต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งสร้างความตื่นตระหนกให้กับสังคมอย่างมาก
โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่ ที่เปลี่ยนมาใช้บุหรี่ไฟฟ้า เพราะอยากลดอันตรายให้กับตัวเอง ยกตัวอย่าง เช่น การวิจัยล่าสุดของศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.)
ซึ่งสรุปว่าควรแบนบุหรี่ไฟฟ้าต่อ ประชาชนก็ไม่เคยทราบหรือรับรู้เลยว่าทำการศึกษากันจริงหรือไม่อย่างไร เราจึงเรียกร้องให้มีการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยอย่างเป็นกลาง
และอยู่บนพื้นฐานของการวิจัยที่ถูกต้องบ้าง เพราะถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของพวกเราผู้สูบบุหรี่และผู้ใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่ควรได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง”
ผลกระทบจากเรื่องนี้ยังส่งผลให้วารสารทางการแพทย์ ต่างๆ ที่เคยตีพิมพ์ผลงานวิจัย และเคยตีพิมพ์บทความวิจัยที่ไม่ได้ศึกษาตามหลักทางวิทยาศาสตร์ที่ถูกต้องต้องทบทวนตัวเอง
ตั้งแต่ ผู้แต่งร่วม (co-authors) และผู้ประเมินบทความ (reviewers) ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเปเปอร์ที่ถูกถอด เป็นการกระทำที่ไร้จิตสำนึก
และไม่สามารถยอมรับได้ และ บรรณาธิการถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าควรมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบหรือไม่
เป็นบทเรียนสำคัญของ การทำวิจัย ที่นักวิจัยควรทำงานวิจัยอย่างตรงไปตรงมา เก็บข้อมูล ทำการทดลอง วิเคราะห์ผล
หากผลออกมาอย่างไรควรรายงานผลไปตามข้อเท็จจริง กรณี ผลออกมาไม่สอดคล้องกับทฤษฎี ก็ควรตรวจสอบว่าเป็นเพราะเหตุใดก่อน โดยอาจลองทำซ้ำเพื่อยืนยันว่าสิ่งที่ค้นพบนั้นถูกต้องจริงหรือไม่
05 มีนาคม 2563
ผู้ชม 2509 ครั้ง