รักซึมเศร้า ว่าที่บัณฑิตหนุ่ม วัย 24 "ภาวะซึมเศร้า" หลังเลิกแฟน รมควันฆ่าตัวตายคาคอนโดฯ คนใกล้ตัวช่วยได้
รักซึมเศร้า ว่าที่บัณฑิตหนุ่ม วัย 24 "ภาวะซึมเศร้า" หลังเลิกแฟน รมควันฆ่าตัวตายคาคอนโดฯ คนใกล้ตัวช่วยได้
News Update วันอังคารที่ 25 มิถุนายน 2562 : ว่าที่บัณฑิตหนุ่ม รักซึมเศร้า หลังเลิกแฟนสาว ดื่มเบียร์ย้อมใจ ก่อนรมควันฆ่าตัวตายคาคอนโดฯ ย่านบางบ่อ
ทิ้งจม.ขอโทษครอบครัวและเพื่อน ชี้ โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด
medhubnews.com เว็บไซต์สุขภาพ และ เพจ sasook รายงานว่า ร.ต.อ.ภารดร เพ็งคต รองสารวัตรสอบสวน สภ.บางบ่อ สมุทรปราการ ได้รับแจ้งมีผู้เสียชีวิตในห้องพักของคอนโดฯแห่งหนึ่ง
ภายในซอยเอแบค ตำบลบางบ่อ อำเภอบางบ่อ สมุทรปราการ จึงเข้าตรวจสอบ
ในที่เกิดเหตุเป็นคอนโดหรูแห่งหนึ่งที่ชั้น 6 พบศพนายจิรภัทร ลิ้นอานุภาวะ อายุ 24 ปี นอนเสียชีวิตอยู่บนเตียง สวมกางเกงยีนส์ตัวเดียว บนหัวเตียงและที่พื้นห้องข้างเตียง พบกระป๋องและขวดเบียร์
ใกล้กันพบเต่าถ่านและหม้อแกงสภาพใหม่ ภายในหม้อพบเศษขี้เถ้า ที่ช่องลมประตูห้องนอนถูกติดด้วยเทปกาว ที่โต๊ะภายในห้องด้านนอกพบจดหมายลาตาย 1 ใบ
จากการสอบถามเพื่อนของผู้ตาย เล่าว่า ผู้ตายเป็นเพิ่งเรียนจบปริญญาตรี และกำลังจะรับปริญญาอีกไม่นาน หลังจากที่ผู้ตายเลิกกับแฟนสาวก็มีอาการซึมเศร้า เมื่ออาทิตย์ที่แล้วผู้ตายเคยพยายามฆ่าตัวเองมาแล้วครั้งหนึ่ง ด้วยดรายไอซ์หวังรมควันฆ่าตัวตายแต่ไม่สำเร็จ เพราะเพื่อนๆ ช่วยกันห้ามไว้
เบื้องต้น เจ้าหน้าที่สันนิษฐานว่า ผู้ตายเสียใจจากเรื่องความรัก จนทำให้อาการซึมเศร้า จึงไปซื้อเบียร์มาดื่มย้อมใจ ก่อนจะจุดถ่านใส่เตาถ่านและหม้อแกงที่พึ่งซื้อมา
แล้วนอนรมควันตัวเองจนเสียชีวิตดังกล่าว อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ได้ส่งมอบศพให้มูลนิธิดำเนินการส่งศพชันสูตรที่สถาบันการแพทย์จักรีนฤบดินทร์ ย่านบางพลี เพื่อดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
สำหรับ โรคซึมเศร้า เป็นโรคหนึ่งซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงชีวิตของคนเรา เหมือนกับโรคทางกายอื่นๆ เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่า ผู้ที่เป็นนั้นจะเป็นคนอ่อนแอ ล้มเหลว หรือไม่มีความสามารถ
แต่เป็นเพียงการเจ็บป่วยอย่างหนึ่ง เกิดได้ทั้งมีสาเหตุ เช่น การสูญเสีย การหย่าร้าง ความผิดหวัง และเกิดได้เองโดยไม่มีสาเหตุใดๆ ซึ่งในปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาหายได้ด้วยการใช้ยา การรักษาทางจิตใจ หรือทั้งสองอย่างรวมกัน
สาเหตุของ โรคซึมเศร้า หากมีประวัติการเจ็บป่วยโรคนี้ในญาติของท่าน ก็เพิ่มการป่วยโรคนี้กับสมาชิกอื่นในบ้าน แต่ก็มิได้หมายความว่า จะเป็นกันทุกคน
ปัจจัยที่กระตุ้นให้คนที่มีปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีโอกาสเกิดอาการก็คือ ความเครียด แต่ทั้งนี้คนที่ไม่มีญาติเคยป่วยก็อาจเกิดเป็นโรคนี้ได้ มักพบว่าผู้ป่วยโรคนี้จะมีความผิดปกติของระดับสารเคมี ที่เซลล์สมองสร้างขึ้น เพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์
สภาพจิตใจที่เกิดจากการเลี้ยงดูก็เป็นปัจจัยที่เสี่ยงอีกประการหนึ่งต่อการเกิดโรคซึมเศร้าเช่นกัน คนที่ขาดความภูมิใจในตนเองมองตนเองและโลกที่เขาอยู่ในแง่ลบตลอดเวลา หรือเครียดง่ายเมื่อเจอกับมรสุมชีวิต ล้วนทำให้เขาเหล่านั้นมีโอกาสป่วยง่ายขึ้น
นอกจากนี้ หากชีวิตพบกับการสูญเสียครั้งใหญ่ต้องเจ็บป่วยเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดไม่ราบรื่น หรือต้องมีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ไม่ปรารถนา ก็อาจกระตุ้นให้โรคซึมเศร้ากำเริบได้
โรคซึมเศร้า สามารถรักษาให้หายได้ด้วยวิธีการรักษาทางจิตใจ และการรักษาด้วยยาหลายชนิด โดยที่แต่ละคนอาจตอบสนอง ต่อการรักษาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน บางคนอาจต้องการการรักษาหลายอย่างร่วมกัน
การรับประทานยาจะทำให้อาการของโรคดีขึ้นเร็ว ในขณะที่การรักษาทางจิตใจจะช่วยให้คุณเหมือนมี “ภูมิคุ้มกัน” สามารถต่อสู้กับปัญหาที่จะย่างกรายเข้ามาได้ดีกว่าเดิม ส่วนใหญ่แล้วการรักษาโรคซึมเศร้าไม่จำเป็นต้องมานอนรักษาในโรงพยาบาล
เมื่ออาการของโรครุนแรง จนอาจมีอันตรายจากการพยายามฆ่าตัวตาย หรือผู้ป่วยไม่สามารถกินยาได้ หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยยา อาจให้การรักษาด้วยไฟฟ้า แต่จะใช้ในกรณีที่จำเป็นจริงๆเท่านั้น
ยารักษาโรคซึมเศร้า ในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าแบ่งออกได้หลายกลุ่ม ตามลักษณะโครงสร้างทางเคมีและวิธีการออกฤทธิ์ คือ
กลุ่ม tricyclic (คือยาที่มีโครงสร้างทางเคมีสามวง) กลุ่ม monoamine oxidase inhibitors เรียกย่อๆ ว่า MAOI กลุ่ม SSRI (serotonin-specific reuptake inhibitor)
ซึ่งแต่ละกลุ่มมีข้อดีข้อเสียต่างกัน แต่ประสิทธิภาพการรักษาเท่าเทียมกัน แพทย์อาจเริ่มจ่ายยากลุ่มใดแก่ผู้ป่วย ก่อนก็ได้เพื่อดูผลตอบสนอง
เนื่องจากเราไม่อาจทราบก่อนได้เลยว่า ผู้ป่วยคนใดจะ ถูก กับยาชนิดใด แล้วแพทย์จะค่อยๆปรับขนาดยาให้เหมาะสมกับอาการต่อไป
ยารักษาโรคซึมเศร้าออกฤทธิ์โดยปรับระดับสารเคมีในสมองให้สมดุล เป็นการรักษาโรคโดยตรง มิใช่เป็นเพียงยาที่ทำให้ง่วงหลับ จะได้ไม่ต้องคิดมากเช่นที่คนมักเข้าใจผิดกัน
ผู้ป่วยส่วนใหญ่ มักต้องการหยุดกินยาเร็วกว่าที่ควรเป็น ข้อสำคัญและพึงปฏิบัติที่สุดก็คือ การกินยาอย่างต่อเนื่อง จนกว่าแพทย์จะบอกให้ท่านหยุด ถึงแม้ว่าจะรู้สึกดีขึ้นแล้วก็ตามยาบางตัวต้องค่อยๆลดขนาดลง เพื่อให้โอกาสร่างกายปรับตัว
โรคซึมเศร้า
ยารักษาโรคซึมเศร้าเป็นยาที่กินแล้วติดหยุดยาไม่ได้ อย่างไรก็ตาม ก็เช่นเดียวกับการรักษาโรคอื่นๆ แพทย์อาจให้ตรวจวัดระดับยาให้ถูกต้องกับอาการเป็นระยะๆ คนใกล้ตัวต้องหมั่นสังเกตใกล้ชิดจะช่วยได้
ดังนั้นควรไปพบจิตแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ หรือ โทร สายด่วนสุขภาพจิต 1323
โรคซึมเศร้า
ภาพจาก club friday the series 11
25 มิถุนายน 2562
ผู้ชม 6463 ครั้ง