ยุคที่ “โรคซึมเศร้า” กลายเป็นโรคทางจิตเวช ที่มีผู้คนให้ความสำคัญมาก
ยุคที่ “โรคซึมเศร้า” กลายเป็นโรคทางจิตเวช ที่มีผู้คนให้ความสำคัญมาก
ยุคที่ “โรคซึมเศร้า” กลายเป็นโรคหนึ่งที่มีผู้คนให้ความสำคัญมาก ความรู้สึกแรกที่ผมได้รับหลังจากดูซีรีย์ SOS skate ซึม ซ่าส์ ตอนแรก ในฐานะที่ผมป่วยเป็นโรคนี้ด้วย คือ “เราโชคดี ที่มีคนเข้าใจมากขึ้นแล้ว”
ยอมรับว่าที่ผ่านมา ผมไม่ค่อยได้เปิดเผย หรือ ให้ใครเห็นตัวยาง่ายๆ หรือ ไปเจอผมตามโรงพยาบาลบ้า และ คนรอบข้างไม่ให้ความสำคัญกับโรคนี้เท่าไรนัก
แถมเพื่อนบางคนที่มองว่าเราเป็นโรคนี้ เป็นแค่ อาการ ภาวะผิดปกติอย่างหนึ่ง ให้คำปรึกษาว่า ....เรื่องเล็กๆ น้อยๆ ก็แค่ความเศร้า เศร้าเหรอ ? ออกไปปาร์ตี้ , ไปเดินห้าง สวดมนต์, เจอเพื่อน , นั่งสมาธิทำใจให้สบาย เดี๋ยวก็ดีขึ้นเอง
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ได้มีโอกาสหาข้อมูลเพิ่มเติม ศึกษาจากแพทย์เก่งๆ หลายท่าน แพทย์ระดับเบอร์หนึ่งของเมืองไทย ที่ติดต่อคุยทางไลน์หรือ โทรศัพท์ส่วนตัว ก็เพราะความเป็นสื่อมวลชนนี่แหละ
เริ่มทำความเข้าใจในรายละเอียดบ้าง จนกระทั่งตัวละคร บู ( เจมส์-ธีรดนย์ ศุภพันธุ์ภิญโญ ) ทำให้คนรอบข้างเข้าใจว่าผมเป็นโรคที่น่ากลัวไม่น้อย
รู้จักดีกว่าที่เคยรู้จักหลายเท่าตัว พูดถึง เจมส์-ธีรดนย์ ตัวละครหลักในซีรีส์ SOS ทำให้เห็นว่าการต้องตื่นมาทุกเช้าด้วยความรู้สึกไร้ค่า ว่างเปล่า หมดความสนใจต่อโลกภายนอก
ไม่รู้ว่าจะลุกขึ้นมาเพื่ออะไร มันเป็นความรู้สึกที่เลวร้ายมากขนาดไหน เมื่อรู้ว่าตัวเองผิดปกติก็พยายาม ‘บูรณะ’ ตัวเองเหมือนชื่อจริงของเขาเพื่อให้พ้นจากสภาวะแบบนี้
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com
ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
ภาพจาก SOS skate ซึม ซ่าส์
14 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 6140 ครั้ง