ทิวากร รักษาตัวที่ ตึกชงโค รพ.จิตเวชขอนแก่น ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2562 นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซัดอ้าง ทิวากร ป่วยจิตเวช นำไปถูกคุมขัง

บทความ

ทิวากร รักษาตัวที่ ตึกชงโค รพ.จิตเวชขอนแก่น ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต 2562 นักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซัดอ้าง ทิวากร ป่วยจิตเวช นำไปถูกคุมขัง

เว็บไซต์สุขภาพ - ทิวากร รักษาตัวที่ ตึกชงโค โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ตาม พ.ร.บ.สุขภาพจิต พ.ศ.2562 หลังบรรดานักเคลื่อนไหวทางการเมือง ซัดทิวากร ถูกคุมตัว หรือ คุมขัง

News Update วันพุธที่ 22 กรกฎาคม 2563  : หนึ่งสัปดาห์ที่ ทิวากร วิถีตน ผู้ใช้เฟสบุ๊ค Tiwagorn ได้สวมเสื้อยืดที่มีข้อความเกี่ยวกับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเสื้อยืดที่มีข้อความดังกล่าว มีการแชร์ในเฟสบุ๊ค จำนวนมาก

บรรดานักเคลื่อนไหวทางการเมือง และ ทวิตเตอร์ได้ติดแฮชแท็ก #saveทิวากร  มีคนนำภาพเสื้อของ ทิวากร มาโพสต์ว่า “#Saveทิวากร หยุดพฤติกรรมคุกคามประชาชน”

ภาพดังกล่าวถูกแชร์ และ มีบางคนนำภาพเสื้อของ ทิวากร มาใช้เป็น ปกเฟสบุ๊ค ซึ่งทำให้ภาพดังกล่าว แชร์ว่อนเน็ต เป็นภาพสาธารณะ

ข้อความ บนภาพของ ทิวากร ตำรวจพิจารณาว่า เข้าข่ายหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์หรือไม่ ? แต่ยังไม่มีการตั้งข้อหาใดๆ  

"ปัญหาคือเรื่องนี้มันลึกลับเกินกว่าจะเข้าใจได้"

แม้ว่าจะมี สมาชิกกลุ่มแนวร่วมนิสิต มมส.เพื่อประชาธิปไตย บอกว่า ต้องการมาพิสูจน์ว่า ทิวากร ไม่ได้ป่วยด้วยอาการทางจิต

เขายังเชื่อว่าเหตุที่นายทิวากรถูกนำตัวมารักษาที่ รพ.จิตเวช เกิดจากการที่สวมใส่เสื้อที่มีข้อความนั้น ต้องการปิดกั้นการรับรู้เรื่องเสื้อตัวนี้ด้วยการยัดให้ ทิวากร เป็นคนบ้าคนวิกลจริต แต่ความจริงในสังคมมีคนที่มีความคิดหลากหลาย

ล่าสุด เว็บ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้  รายงานว่า พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สุขภาพจิต (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2562 มีการประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2562

เป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยสุขภาพจิต โดยเพิ่มเติมการส่งเสริมป้องกันด้านสุขภาพจิต ควบคุมปัจจัยคุกคามด้านสุขภาพจิต ฟื้นฟูสมรรถภาพ และคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยให้ได้รับการคุ้มครองจากการเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ในสื่อทุกประเภท

ตลอดจนเพิ่มสิทธิให้ผู้ดูแลเพื่อสามารถให้ดูแลผู้ป่วย อันจะนำไปสู่การอยู่ร่วมกันในสังคมไทยอย่างมีความสุข

ทั้งนี้ เดิมที เรามี พระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 มีการบังคับใช้มาเป็นเวลานาน โดยเน้นการบำบัดรักษาผู้ป่วยเป็นหลัก ซึ่งยังไม่ครอบคลุมการส่งเสริม ป้องกันด้านสุขภาพจิต และบทบัญญัติบางประการไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน          

อีกทั้งบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต ยังไม่ได้รับการคุ้มครองสิทธิอย่างถูกต้องและเพียงพอ มีการเผยแพร่ข้อมูลสื่อสิ่งพิมพ์ สื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือสื่ออื่นใด ในทางที่ก่อให้เกิดทัศนคติไม่ดีต่อบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต

รวมทั้งขาดการช่วยเหลือและให้สิทธิผู้ดูแลผู้ป่วยซึ่งเป็นบุคคลสำคัญ ตลอดจนขาดกลไกการฟื้นฟูสมรรถภาพอย่างเป็นระบบ เพื่อให้ผู้ป่วยที่มีอาการทุเลาสามารถกลับไปใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

สมควรกำหนดกฎหมายที่เกี่ยวกับการส่งเสริม การป้องกัน และการควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิตขึ้นมา จึงเป็นเหตุผลและความจำเป็นหลักในการประกาศใช้พระราชบัญญัติสุขภาพจิตฉบับใหม่นี้

สาระสำคัญของพ.ร.บ.สุขภาพจิตฉบับใหม่นี้ คือ การเพิ่มเติมอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติให้ครอบคลุมด้านการส่งเสริม การป้องกัน การควบคุมปัจจัยที่คุกคามสุขภาพจิต

การคุ้มครองสิทธิของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต การเข้าถึงบริการด้านสุขภาพจิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมของบุคคลที่มีความผิดปกติทางจิต

โดยคำนึงถึงหลักการมีส่วนร่วมของหน่วยงานของรัฐและประชาชนในทุกภาคส่วน อีกทั้งยังเพิ่มหน้าที่ให้คณะกรรมการสุขภาพจิตแห่งชาติ เสนอยุทธศาสตร์และแผนการดำเนินงานสุขภาพจิตระดับชาติต่อคณะรัฐมนตรี

ตลอดจนกำหนดห้ามสื่อทุกประเภทเผยแพร่ข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ประโยชน์ไม่ว่าทางใดๆ อันจะทำให้เกิดความรังเกียจเดียดฉันท์ หรือความเสียหายแก่จิตใจ ชื่อเสียง เกียรติคุณ ของผู้ป่วยและครอบครัว

อีกทั้งในกรณี การเผยแพร่ข้อมูลใดๆ ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ ให้อธิบดีกรมสุขภาพจิต มีอำนาจออกคำสั่งให้ผู้เผยแพร่ดำเนินการ ดังต่อไปนี้

1 ให้แก้ไขข้อความหรือวิธีการในการเผยแพร่ข้อมูล 2  ห้ามการใช้ข้อความบางอย่างที่ปรากฎในการเผยแพร่ข้อมูล 3 ระงับการเผยแพร่ข้อมูลหรือห้ามใช้วิธีการนั้นในการเผยแพร่ข้อมูล

และ 4  ให้เผยแพร่ข้อมูลเพื่อแก้ไขความเข้าใจผิดของผู้อื่นที่อาจเกิดขึ้น หากมิกระทำการจะมีโทษตามบทบัญญัติที่กำหนดเกี่ยวกับการเปรียบเทียบไว้

พ.ร.บ.สุขภาพจิต มีผลในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วย และความปลอดภัยของสังคม ซึ่งประชาชนทั่วไปสามารถช่วยกันสังเกตอาการทางจิตของผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที

โดยสังเกตจากลักษณะ ดังต่อไปนี้ คือ หูแว่ว เห็นภาพหลอน หวาดระแวงไร้เหตุผล พูดจาเพ้อเจ้อ พูดจาก้าวร้าว คิดว่าตนเองมีความสามารถพิเศษเหนือคนปกติ

แต่งกายแปลกกว่าคนปกติ ร่วมกับมีแนวโน้มจะมีอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม เช่น พยายามฆ่าตัวตาย ทำร้ายตัวเอง หรือ ทำร้ายผู้อื่น

หากประชาชนพบเห็นผู้ที่มีลักษณะที่กล่าวมาและมีภาวะอันตราย ให้ดำเนินการดังนี้ 1 กรณีไม่เร่งด่วน ให้ปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุข หรือ โทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323

หากพิจารณาแล้วยังมีภาวะเสี่ยงอาการทางจิตไม่ทุเลา ให้ส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน

2  กรณีเร่งด่วน คือ มีภาวะอันตรายทั้งต่อตนเอง ผู้อื่น และสังคม ซึ่งมีความจำเป็นต้องได้รับการบำบัดรักษา ให้รีบโทรแจ้งสายด่วนการแพทย์ฉุกเฉิน 1669 และสายด่วนตำรวจ 191

นอกจากนี้ ยังสามารถแจ้งบุคคลหรือหน่วยงานต่อไปนี้ ได้แก่ บุคลากรทางการแพทย์ ตำรวจ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) มูลนิธิกู้ชีพกู้ภัย อบต. เทศบาล เพื่อให้เจ้าหน้าที่นำตัวเข้ารับการบำบัดรักษาตามกฎหมาย

โดยส่งตัวไปที่โรงพยาบาลใกล้เคียง สถานบำบัดรักษา และโรงพยาบาลจิตเวช เพื่อทำการรักษาผู้ป่วยต่อไป

หากบุคคลเหล่านี้ ได้รับการดูแลรักษาและอยู่ในระบบอย่างต่อเนื่อง บางโรคอาจรักษาให้หายขาดได้ จะช่วยให้สามารถกลับมาใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข

เจ้าหน้าที่ระดับสูงของ โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ให้ข้อมูลกับผู้ที่ขอเข้าเยี่ยม ทิวากร ว่า ทิวากร พักอยู่ที่ตึกชงโค

และยืนยันว่าเขามีสภาพจิตใจดี แต่เหตุที่บุคคลภายนอกไม่ได้รับอนุญาตให้เยี่ยมเนื่องจากเป็นความประสงค์ของญาติที่ไม่ต้องการให้เยี่ยม

โดย ตึกชงโค โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ ให้การดูแล  ผู้ป่วยโรคจิตเภท ( schizophrenia ) และ จิตเวช กับ จิตเภท เป็นต้น   

ตึกชงโค เป็นอาคารสูง 2 ชั้น ตั้งอยู่ในกลุ่มอาคารที่เป็นหอผู้ป่วยชาย ล้อมรอบด้วยรั้วสูงประมาณ 2 เมตร ด้านหน้าตึกมีเจ้าหน้าที่ตำรวจในเครื่องแบบยืนเฝ้าอยู่ 2 นาย เจ้าหน้าที่ตำรวจคนหนึ่งบอกว่ามีการจัดกำลังดูแลตลอด 24 ชม. และช่วงนี้ถือว่าต้องมีการดูแลพื้นที่ "เป็นพิเศษ"

สำหรับ สายด่วนสุขภาพจิต โทรฟรีไหม  บอกเลยว่า ฟรีมาก บริการโดย กรมสุขภาพจิต สายด่วน 1323  โทรเลย !

22 กรกฎาคม 2563

ผู้ชม 2752 ครั้ง

Engine by shopup.com