โรคลมชักคืออะไร ทำไม ผู้เป็นโรคตับ โรคไต เป็นเยอะ โรคลมชัก ไม่ใช่ ผีเข้า รู้จัก โรคลมชัก แบบเหม่อ โรคลมชัก อาการทางจิต
โรคลมชักคืออะไร ทำไม ผู้เป็นโรคตับ โรคไต เป็นเยอะ โรคลมชัก ไม่ใช่ ผีเข้า รู้จัก โรคลมชัก แบบเหม่อ โรคลมชัก อาการทางจิต
โรคลมชักคืออะไร ทำไม ผู้เป็นโรคตับ โรคไต เป็นเยอะ โรคลมชัก ไม่ใช่ ผีเข้า รู้จัก โรคลมชัก แบบเหม่อ โรคลมชัก อาการทางจิต และ ยารักษา ไม่ได้ทำให้ โง่ จากจิตแพทย์ชื่อดัง
คนไทยยังมีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับคนไข้ที่เป็น ลมชัก ที่มีอาการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาสั้นๆ 2-3นาที จนบางครั้งถูกมองว่าผีเข้า
และได้รับคำแนะนำให้ไปรักษาแบบผิดวิธี ทั้ง รดน้ำมนต์ ลงหวาย สาดน้ำร้อน ดื่มน้ำต้มพริกไทย แต่สุดท้ายก็ไม่หาย แนะนำพบแพทย์ ที่ สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ และ มี สมาคมโรคลมชักแห่งประเทศไทย ชมรมโรคลมชักเพื่อประชาชน อีกด้วย
โรคลมชัก เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของร่างกาย เมื่อเกิดการผิดปกติจึงทำให้เกิดอาการชักขึ้นมาได้ โรคลมชักสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย
News Update วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่ง รองปลัดกระทรวง สำนักงานปลัดกระทรวง อดีตรองอธิบดี กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข 6 ปี ซึ่งมีความเชี่ยวชาญมาก
นายแพทย์พงศ์เกษม กล่าวว่า โรคลมชัก ( โรคลมชัก ภาษาอังกฤษ Epilepsy ) คนไทยเรียกว่า ลมบ้าหมู จัดเป็นโรคของการเจ็บป่วยทางสมอง เกิดจากเซลล์สมองปล่อยคลื่นไฟฟ้าออกมาผิดปกติพร้อมกันอย่างเฉียบพลัน
ทำให้การควบคุมการทำงานของสมองเสียไปชั่วคราว สาเหตุมาจากทั้งกรรมพันธุ์ ติดเชื้อในสมอง สมองขาดออกซิเจน ดื่มสุรา อุบัติเหตุทำให้เกิดแผลเป็นในสมอง เซลล์สมองอยู่ผิดที่ หรือมีเนื้องอกในสมอง
ในประเทศไทยคาดว่า มีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ร้อยละ 1 หรือมีประมาณ 650,000 คน แต่ยังเข้ารับการรักษาน้อยประมาณร้อยละ 10 สำหรับ
โรคลมชักคืออะไร โรคลมชัก (epilepsy) - โรคลมชักเป็นโรคที่เกิดจากการมีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติในสมองทำให้เกิดอาการชักพบได้ในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากหลายสาเหตุ ความผิดปกติในเนื้อสมอง เช่น โรคหลอดเลือดสมอง, มีก้อนเนื้อผิดปกติ, มีแผลหรือเลือดออกในสมอง ผู้เป็นโรคตับ โรคไต ความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ ยาหรือสารพิษ
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า คนไทยยังมีความเข้าใจผิด เกี่ยวกับคนไข้ที่เป็น ลมชัก
เนื่องจากเชื่อว่าว่าเป็นโรคจากไสยศาสตร์ และไม่เข้าใจอาการ ซึ่งนอกจากอาการชักแล้ว ยังมีอีกอาการคือ เบลอๆ เหม่อลอย
ไม่รู้สึกตัวหรือที่เรียกว่า วูบไปชั่วขณะ อาจมีตาค้างหรือตาเหลือกด้วยได้ ซึ่งคนไทยยังรู้จักน้อยมาก และมักจะเข้าใจผิดว่าเป็นอาการวูบหรือเป็นลมทั่วไป จึงไม่ไปรักษา
หากมีอาการทั้ง 2 ชนิด ควรรีบพบแพทย์ เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของการชักให้เร็วที่สุดและให้การรักษาตามสาเหตุ
เช่น หากอาการชักเกิดจากคลื่นสมองผิดปกติทั่วไป จะให้การรักษาด้วยยาเพื่อควบคุมอาการชัก โดยปรับกระแสไฟฟ้าในสมองให้กลับมาทำงานเป็นปกติ ป้องกันเซลล์สมองถูกทำลาย
หากเกิดจากเนื้องอกในสมองก็อาจใช้วิธีการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อออก เป็นต้น หากได้รับการรักษาเร็ว โดยเฉพาะหลังจากมีอาการครั้งแรก จะมีโอกาสหายขาดได้สูง สามารถเรียนหนังสือ หรือทำงานที่เหมาะสมได้ แต่หากไม่รักษาก็จะมีอาการชักปรากฏบ่อย
บางรายอาจเกิดเป็นชุดๆ หรือเกิดตลอดวันก็ได้ จะมีผลเสียที่เป็นอันตราย โดยเฉพาะการชักแบบลมบ้าหมู อาจทำให้เซลล์สมองตาย และทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมตั้งแต่อายุยังน้อย นอกจากนี้ อาจทำให้เกิดโรคทางจิตเวชตามมาได้ประมาณร้อยละ 30
นพ.พงศ์เกษม กล่าวว่า การรักษาโรคลมชักต้องกินยาต่อเนื่อง อย่าหยุดยาเองและไม่ลดจำนวนยาเอง ต้องใช้เวลารักษาไม่ต่ำกว่า 2 ปี จึงจะควบคุมอาการชักได้ผลดี โดยแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาปรับลดหรือหยุดยาเอง
ผู้ป่วยประมาณกว่าร้อยละ 70 จะมีโอกาสหายขาด อีกร้อยละ 30 มีอาการดีขึ้น แม้ไม่หายชักทั้งหมดก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ป่วยมักจะไม่กินยาตามแผนการรักษาของแพทย์
เพราะเข้าใจผิดว่ายาจะไปกดการทำงานของสมอง ทำให้โง่ ซึ่งข้อเท็จจริงนั้นยาที่รักษาไม่ได้ทำให้โง่ เพียงแต่ยาบางชนิดอาจทำให้ผู้ป่วยคิดช้า
หรือมีอาการเซื่องซึมในระยะต้นๆ เมื่อเริ่มกินยาเท่านั้น การกินยาต่อเนื่องจะทำให้การรักษาได้ผล และสามารถป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทางจิตเวชได้ด้วย
ผู้ป่วยโรคลมชักจะมีความเสี่ยงเสียชีวิตได้สูงกว่าคนปกติทั่วไป 2-3 เท่าตัว โดยเฉพาะในช่วงที่มีการชัก ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงฤดูฝน มีความเสี่ยงเสียชีวิตจากการจมน้ำ แม้จะเป็นน้ำตื้น จึงควรหลีกเลี่ยงการเดินลุยน้ำ และการออกไปหาปลา
สำหรับการช่วยเหลือผู้ที่กำลังมีอาการชัก ผู้ที่พบเห็นขอให้ตั้งสติให้ดี ระวังไม่ให้ผู้ป่วยเกิดอันตรายจากการชัก ไม่สำลักน้ำลายหรืออาหาร โดยให้จับศีรษะและลำตัวตะแคงไปด้านข้าง
และดูแลไม่ให้มีสิ่งของที่จะก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ป่วย เช่น กาน้ำร้อน หรืออุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นของแข็ง เพื่อไม่ให้แขนขาของผู้ป่วยมากระแทก หากเป็นไปได้ ให้บันทึกภาพเคลื่อนไหวของอาการชักที่เกิดขึ้น เพื่อนำไปให้แพทย์วินิจฉัยแยกอาการชักจากโรคลมชักกับโรคอื่นๆ ด้วย จะช่วยให้การรักษาแม่นยำ
อาการของคนที่เป็นโรคลมชักมักมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับเนื้อสมองบริเวณไหนที่มีความผิดปกติ อาการชักที่เราเจอกันบ่อย ๆ
เช่น มีอาการเกร็งหรือมีอาการกระตุกสามารถเกิดในบางส่วนของร่างกายก่อน เช่น หน้า แขน มือ แล้วลุกลามไปเกร็งกระตุกทั้งตัว หรือในบางรายอาจมีการเกร็งกระตุกทั้งตัวตั้งแต่แรกได้เลย
ส่วนอาการชักอื่น ๆ ที่เจอบ่อยแต่คนไข้อาจไม่สึกว่าคือการชัก นั่นคือ การชักมือ อาการชักมือ คนไข้จะมีอาการเหม่อลอย
รวมกับมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายบางส่วน เช่น เคี้ยวปาก เอามือจับส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย จับเสื้อผ้า จับสิ่งของ หรือจับคนรอบข้าง
ซึ่งระหว่างที่มีอาการผู้ป่วยจะไม่รู้สึกตัวครับ อาการชักจะมีอยู่ประมาณ 2 - 3 นาทีแล้วจะหยุดเอง คนไข้บางรายจะมีอาการเตือนก่อนอาการชัก อย่างเช่นที่เราเจอบ่อย ๆ จะรู้สึกใจสั่นแน่นลิ้นปี่
หรือได้ยินเสียงผิดปกติครับ อาการนำจะอยู่ในระยะสั้น ๆ ก่อนมีอาการชักประมาณ 5 - 10 วินาทีแล้วจะลุกลามต่อไปขั้นชักโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัว
09 ตุลาคม 2565
ผู้ชม 3580 ครั้ง