แพทย์ชี้ คุณแม่จำนวนมาก ตั้งครรภ์ พร้อมโรคแทรกซ้อน ชี้ ความดันโลหิตสูง อันตรายที่สุด ขณะ สธ.ตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง

บทความ

แพทย์ชี้ คุณแม่จำนวนมาก ตั้งครรภ์ พร้อมโรคแทรกซ้อน ชี้ ความดันโลหิตสูง อันตรายที่สุด ขณะ สธ.ตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง

 เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว - แพทย์ชี้ คุณแม่จำนวนมาก ตั้งครรภ์ พร้อมโรคแทรกซ้อน ชี้ ความดันโลหิตสูง อันตรายที่สุด ขณะ สธ.ตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง

News Update  - ข่าวล่าสุดวันนี้  : สถานการณ์ Maternal death or maternal mortality  หรือ แม่เสียชีวิตหลังคลอด จาก WHO

มี ผู้หญิง 295,000 คนเสียชีวิตในปี 2560 แต่ แนวโน้มจำนวน แม่เสียชีวิตหลังคลอด ลดลง 35% ระหว่างปี 2543 - 2560 ในทั่วโลก

เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า ในช่วงวันเด็กแห่งชาติ มีคุณแม่มือใหม่จำนวนมาก

โดยสถานการณ์ Maternal death or maternal mortality  หรือ แม่เสียชีวิตหลังคลอด เกิดขึ้นได้หากมีเหตุสุดวิสัย 

ทั้งนี้ รองศาสตราจารย์นายแพทย์วิทยา  ถิฐาพันธ์ ภาควิชาสูติศาสตร์ – นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า คุณแม่มีการตั้งครรภ์ ร้อยทั้งร้อยต่างก็ต้องการให้การตั้งครรภ์และการคลอดจบลงอย่างสมบูรณ์แบบที่สุด

ในลักษณะที่พูดง่ายๆ ว่า ลูกเกิดรอด แม่ปลอดภัยแต่ในความเป็นจริงไม่ง่ายอย่างที่ต้องการ มีคุณแม่จำนวนไม่น้อยที่เมื่อมีการตั้งครรภ์กลับมีโรคแทรกซ้อนเกิดขึ้นสารพัดโรค

บางโรคก็รุนแรงไม่มาก บางโรคก็รุนแรงมากจนอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้ ลองมาดูข้อมูลของจริงเกี่ยวกับโรคแทรกซ้อนที่พบในคุณแม่ตั้งครรภ์ในโรงพยาบาลศิริราช มีหลายโรค

ผมจะนำเสนอเฉพาะโรคที่พบบ่อยๆ และค่อนข้างเสี่ยงต่อสุขภาพของคุณแม่และลูกในท้องนะครับ

เช่น โรคความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์ มี 2 กลุ่มคือ ผู้หญิงบางคนเป็นความดันโลหิตสูงอยู่แล้วก่อนตั้งครรภ์ กับผู้หญิงอีกกลุ่มหนึ่งตอนที่ไม่ตั้งครรภ์ความดันไม่สูง

แต่เมื่อตั้งครรภ์แล้วความดันกลับสูงได้ กลุ่มหลังเราจะเรียกว่าความดันโลหิตสูงจากการตั้งครรภ์ ซึ่งพบได้บ่อย คุณแม่จะมีอาการบวม ตรวจปัสสาวะเจอไข่ขาวหรือโปรตีนในปัสสาวะ

ถ้าอาการรุนแรงและรักษาได้ไม่ดี คนไข้จะชัก อาจจะมีเส้นเลือดในสมองแตกเสียชีวิตได้ สมัยก่อนเรียกโรคนี้ว่าครรภ์เป็นพิษ

ส่วนลูกในครรภ์ ถ้าแม่มีอาการรุนแรงมาก เช่น ชัก เด็กมักตายในท้อง หรือถ้าแม่มีอาการนานๆ จะมีผลกับการเจริญเติบโตของลูกในครรภ์ เด็กอาจตัวเล็ก แต่ถ้าควบคุมอาการได้ดี ส่วนมากเด็กจะเจริญเติบโตได้ปกติ ไม่มีความพิการใดๆ

ขณะที่ สาเหตุ ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จะพบบ่อยๆ ในแม่บางกลุ่ม เช่น แม่ท้องที่อายุน้อยๆ หรืออายุมากๆ กลุ่มนี้มีปัญหาทั้งคู่

แต่ในคนวัยธรรมดา เช่น 20 - 30 ปี เจอน้อย และมักเจอในท้องแรก ท้องหลังไม่ค่อยเจอ เจอได้บ่อยในครรภ์แฝด คนเป็นเบาหวาน หรือมีประวัติคนในครอบครัวที่แม่เคยโรคนี้ขณะตั้งครรภ์

จึงสันนิษฐานว่าอาจจะเป็นโรคที่เกี่ยวกับกรรมพันธุ์ หรือเกี่ยวกับอาหารการกิน หรืออาจจะเกี่ยวกับฮอร์โมนที่สร้างจากรก หรือจากตัวเด็กที่ทำให้ความดันขึ้น เพราะสังเกตว่าเมื่อมีการคลอดเสร็จแล้วส่วนใหญ่แม่ก็จะหายเป็นปกติ

การป้องกัน ควรจะตั้งครรภ์ในอายุที่เหมาะสม รีบไปฝากครรภ์ หมอจะได้ตรวจเจอตั้งแต่แรก และให้การรักษาได้ทันท่วงที

สำหรับ คุณแม่ตั้งครรภ์ทุกคน มีสิทธิใช้โครงการ ฝากท้องทุกที่ ฟรีทุกสิทธิ ซึ่งจะได้รับบริการดูแลสุขภาพทั้งแม่และบุตรตามมาตรฐาน คือ การฝากครรภ์คุณภาพ ต้องครบ 5 ครั้งตามมาตรฐานสากล

กรณี สำนักงานทนายความคู่ใจ ถนนแจ้งวัฒนะ ต.บางตลาด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี นายอภิชาติ แย้มอยู่ อายุ 55 ปี ชาว จ.สมุทรสงคราม

พร้อมด้วย นายกนก ขุนพรหม อายุ 33 ปี ลูกเขย เข้าร้องเรียนขอความเป็นธรรมกับ นายรณณรงค์ แก้วเพ็ชร ประธานเครือข่ายทวงคืนความยุติธรรมในสังคม เพื่อขอให้ช่วยเหลือกรณีลูกสาวคลอดลูกที่โรงพยาบาลแล้วเสียชีวิตระหว่างกลับมาพักฟื้นที่บ้าน

โดย นางกฤษณา แย้มอยู่ อายุ 33 ปี คนท้องใช้สิทธิบัตรทองคลอดลูกฟรี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ 5 ศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรีประวัติผู้รับบริการของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพที่ 5 ได้มาเสียชีวิตหลังจากผ่าตัดและไปรักษาตัวที่บ้านหลังจากผ่าตัดคลอด 15 วัน

ดูจากประวัติแล้วผู้รับบริการได้มาคลอดเป็นท้องที่ 2 มารับการผ่าตัดคลอด ตรงจุดฝากครรภ์ได้มีการตรวจวัดความดันพบว่ามีความดันสูง

ไม่มีอาการปวดศีรษะ ตาพร่ามัว เบื้องต้นมีแค่ภาวะความดันสูงขณะตั้งครรภ์ จึงเป็นภาวะแทรกซ้อนของการผ่าตัด

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์

แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก รับเรื่องร้องเรียนกรณีหญิงไทยอายุ 33 ปี ผ่าคลอดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพศูนย์อนามัยที่ 5 ราชบุรี

เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2563 กลับมาเสียชีวิตขณะพักฟื้นที่บ้านได้เพียง 15 วัน

กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการหาข้อเท็จจริง เพื่อให้ความเป็นธรรมทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้รับผลกระทบและผู้ให้บริการและดำเนินการคือการช่วยเหลือเยียวยา

ตามกระบวนการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากบริการสาธารณสุข ตามพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มาตรา 41 และกฎหมายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

08 มกราคม 2564

ผู้ชม 3316 ครั้ง

Engine by shopup.com