กู้ภาพลักษณ์ “สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” 1669 หน่วยงานที่มักโดนวิจารณ์ยับ แต่เคสของฮีโร่ ทำคนกลับใจ
กู้ภาพลักษณ์ “สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ” 1669 หน่วยงานที่มักโดนวิจารณ์ยับ แต่เคสของฮีโร่ ทำคนกลับใจ
ทีมข่าว เว็บไซต์ Medhubnews.com รายงานว่า .... “ความเจ็บป่วยเกิดขึ้นได้ทุกที่ทุกเวลา ไม่ว่าจะเกิดจากอุบัติเหตุ หรืออาการป่วยเฉียบพลันจากโรคภัย
หากรักษาไม่ทันการณ์โอกาสรอดชีวิตอาจมีไม่มาก “สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) จึงพร้อมปฏิบัติหน้าที่ 24 ชม. เพื่อนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในโรงพยาบาลอย่างทันท่วงที พวกเขาอุทิศตัวเพื่อคนไข้โดยไม่หวังผลตอบแทน ทันทีที่โทร. แจ้ง 1669 พวกเขาจะไปถึงที่......
“แม้ว่าปีนี้ มีข่าวเกี่ยวกับ การประสานของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) บ้าง แต่สังคมเริ่มเข้าใจการทำงานของการแพทย์ฉุกเฉินดีขึ้นมากจากเดิม ด้วยข่าวที่ออกมาจากทางโซเชี่ยลมีเดียเอง การันตีเบอร์ 1669 ช่วยชีวิตประชาชนได้"
ทั้งนี้ แหล่งข่าวระบุว่า บางจังหวัดมีการตั้งข้อสังเกตการตั้งงบเบิกจ่าย ผ่านงบประมาณการจัดอบรมอาสาสมัครต่างๆ การฝึกซ้อม ซึ่งต้องผ่าน สสจ.แต่กระบวนการในการฝึกอบรมยังมีปัญหาอยู่ บางครั้งกำหนดการอีกอย่าง แต่พอมาอบรมจริงๆ เป็นอีกอย่าง แม้กระทั่งของว่าง ชากาแฟ ก็ยังไม่มีตามแผนงานที่ของบไป ถามว่าปัญหานี้ต้องแก้ไขอย่างไร
ระยะหลังๆ มานี้ บรรดาอาสาฯ จึงไม่ค่อยเข้าร่วมกับทาง สพฉ.จึงทำให้เกิดปัญหา เพราะทางหน่วยงานตรวจสอบจะดูหลักฐาน เช่น ภาพถ่ายการอบรม ตามงบที่ให้ไป แต่ก็ไม่มีให้ จึงทำให้ถูกเด้งกันตามข่าวที่เคยปรากฏ
อย่างไรก็ตาม บางจังหวัดก็ทำได้ดีมาก มีระบบ แผนงาน เว็บไซต์ข้อมูลให้อาสาฯ อย่างดี มีกำหนดการของ “หน่วยแพทย์ฉุกเฉิน 1669 ประจำจังหวัด” ที่ต้องประชุม ซักซ้อมแผน หรือ อัพเดต นวัตกรรมกันอยู่เสมอ
แหล่งข่าววงในระบุว่า เรื่องนี้มีการพูดถึงปัญหากันมานาน หัวหน้า สพฉ.ท้องถิ่นประจำจังหวัดต่างๆ บริหารงานได้ประสิทธิภาพแค่ไหน ไม่ได้อยู่ที่จำนวนบุคลากร ไม่ได้อยู่ที่ระบบ แต่อยู่ที่คน เพราะเครื่องไม้ เครื่องมือที่ทาง สพฉ.จะบริหารจัดการมีเพียงพอต่อความต้องการอยู่แล้ว
สพฉ.ก่อตั้งขึ้นมาไม่กี่ปี ไม่ได้ทำงานเพียงลำพัง จำนวนบุคลากรย่อมไม่เพียงพออยู่แล้ว แต่มีผู้ที่มีจิตอาสาคอยสนับสนุนจำนวนมากที่อยากทำงานตรงนี้ เขามีรถอยู่แล้ว ก็ไปปรับเปลี่ยนรถให้ได้มาตรฐาน มีเครื่องมือกู้ชีพครบครัน ทำด้วยเงินส่วนตัว
จากนั้นก็ไปส่งให้ทาง สพฉ.ตรวจประเมินว่ารถกู้ภัยสามารถช่วยชีวิตคนได้ในระดับไหน บางคนซื้อเครื่องมือ อุปกรณ์ ดีกว่ารถโรงพยาบาลอีก"
แม้ว่าที่ผ่านมา เกิดการประสานงานผิดพลาด เมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวถูกกระแสวิพากษ์วิจารณ์ แสดงความคิดเห็นกันไปต่างๆ นานาทั่วโลกออนไลน์ แต่สิ่งที่พิสูจน์แล้วก็คือความจริงใจในการบริการ แม้จะอยู่ในเวลาส่วนตัวก็ตาม
เคสของ นายสันติสุข พรรณไวย หรือ น้องลูกชิด อายุ 20 ปี ผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมีย เสียชีวิตกลางดึกจากภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หลังโทร. แจ้งเจ้าหน้าที่ 1669 สายด่วนของ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) และประสานมาทางศูนย์วิทยุโรงพยาบาลประจวบคีรีขันธ์ว่ามีอาการปวดศีรษะ
สำหรับ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ.) มีการยกระดับขึ้นมาจากหน่วยงานเล็กๆ ของกระทรวงสาธารณสุข สังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ( สป.)
ซึ่งดั้งเดิมเกิดจากการการตั้งใจทำงานตอบแทนสังคมของคนไทยเชื้อสายจีน จากที่เขาหอบเสื่อผืนหมอนใบ เข้ามาเมืองไทย กระทั่งทำมาหากิน เกิดความมั่งมี คนเหล่านี้มีความกตัญญูสูง ก็อยากทำสิ่งดีๆ บนแผ่นดินไทย มีการก่อตั้งมากว่า 100 ปีแล้ว แต่ไม่ได้อยู่ในภาคราชการ จึงมีขอบเขต และ ก.ม.บางอย่างไม่เอื้ออำนวย
แต่หากถามว่าเขามีประสบการณ์มากไหม ต้องบอกว่าชั่วโมงบินเขาเยอะกว่า เขามีการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการที่ได้มาตรฐาน เช่น การช่วยฟื้นคืนชีพ ( CPR : Cardiopulmonary resuscitation ) ตั้งแต่ระดับพื้นฐาน ไปจนเชี่ยวชาญ ช่วยชีวิตผู้ป่วยที่หยุดหายใจหรือหัวใจหยุดเต้น ให้มีการหายใจและการไหลเวียนกลับคืนสู่สภาพเดิมได้เลย
ซึ่งอยากจะบอกกับทุกคน ทุกชุมชนว่า การช่วยฟื้นคืนชีพขั้นพื้นฐาน ( Basic life support ) หรือ การผายปอด และ การนวดหัวใจภายนอก ให้ไปฝึกเรียนรู้ไว้ได้เลย เพราะหากเกิดเหตุการณ์จำเป็นจะได้ช่วยคนใกล้ตัวด้วย
ทีมข่าว เว็บไซต์ Medhubnews.com / รายงาน
ภาพจาก สพฉ.-รายการเรื่องเล่าเช้านี้
05 มกราคม 2562
ผู้ชม 5989 ครั้ง