สัญลักษณ์ กลางสะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว หมายถึงอะไร ปลุกนักท่องเที่ยว ขึ้นเหนือ ไปหา คน เมือง ลำปาง ชมมิวเซียม สะพานรัษฎาภิเศก

บทความ

สัญลักษณ์ กลางสะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว หมายถึงอะไร ปลุกนักท่องเที่ยว ขึ้นเหนือ ไปหา คน เมือง ลำปาง ชมมิวเซียม สะพานรัษฎาภิเศก

เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว - สัญลักษณ์ กลางสะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว หมายถึงอะไร ปลุกนักท่องเที่ยว ขึ้นเหนือ ไปหา คน เมือง ลำปาง ชมมิวเซียม สะพานรัษฎาภิเศก

News Update วันอาทิตย์ที่ 30 สิงหาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้  : หลังจาก สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์กรมหาชน) หรือ สบร. หน่วยงานภายใต้การกำกับดูแลของสำนักนายกรัฐมนตรี

มอบ นิทรรศการถาวร “คน เมือง ลำปาง” และ อุทยานการเรียนรู้มิวเซียมลำปาง โดยมีนายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

ร่วมด้วยคณะผู้บริหาร ประกอบด้วย ดร. อธิปัตย์ บำรุง ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ นายราเมศ พรหมเย็น ผู้อำนวยการสถาบันพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้แห่งชาติ (มิวเซียมสยาม)

ทั้งนี้ ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า เป็นที่น่าเสียดาย เมื่อ งานรำลึกประวัติศาสตร์สะพานรัษฎาภิเศก ประจำปี 2563

“103 ปี ขัวหลวงรัษฎา” กำหนดการเดิมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26 – 29 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ได้เลื่อนออกไป

นายอธิปัตย์ กล่าวว่า “การดำเนินงานพัฒนาจัดตั้งมิวเซียมลำปางให้เป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในภูมิภาคมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่เผยแพร่องค์ความรู้ไปสู่สาธารณะ

สร้างความร่วมมือกับเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ในด้านต่างๆ และส่งเสริมให้คนไทย นักท่องเที่ยว ได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

โดยใช้พื้นที่ของศาลากลางจังหวัดลำปางเดิมเป็นสถานที่จัดตั้ง โดยเทศบาลนครลำปางดำเนินการในด้านการปรับปรุงพัฒนาพื้นที่ทางกายภาพให้มีความพร้อม

ส่วน สบร. โดย มิวเซียมสยาม และ ที เค พาร์ค ทำหน้าที่ในการพัฒนาจัดทำนิทรรศการถาวร “คน เมือง ลำปาง” และ ส่วนของพื้นที่ห้องสมุด

อุทยานการเรียนรู้มิวเซียมลำปาง พร้อมทั้งเป็นหน่วยงานให้คำปรึกษาในการบริหารจัดการและการดำเนินงานของมิวเซียมลำปาง”

ทั้งนี้ การส่งมอบนิทรรศการถาวร “คน เมือง ลำปาง” และอุทยานการเรียนรู้มิวเซียมลำปาง เพื่อให้ มิวเซียมลำปาง เป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์

และเป็นต้นแบบของพิพิธภัณฑ์การเรียนรู้ในระดับภูมิภาคที่จะมีบทบาทสำคัญในการทำหน้าที่ส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ผ่านพิพิธภัณฑ์ไปสู่สาธารณะด้วยการสร้างความร่วมมือ

และเป็นศูนย์กลางในการเชื่อมโยงกับเครือข่ายพิพิธภัณฑ์และแหล่งเรียนรู้ประเภทอื่นๆ ที่มีอยู่ทั้งในจังหวัดลำปางและจังหวัดอื่นๆ ที่อยู่ใกล้เคียง

พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมให้คนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล

และเป็นพื้นที่แห่งการเรียนรู้สร้างสรรค์สำหรับเยาวชน ครอบครัว ชุมชน และ ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสในการท่องเที่ยวเชิงแหล่งเรียนรู้ในระดับพิพิธภัณฑ์เมือง

และเป็นการเสริมสร้างโอกาสการค้นคว้าหาความรู้ในทางสร้างสรรค์แห่งใหม่ของคนลำปาง และดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยวชาวไทย และชาวต่างประเทศให้เข้ามาท่องเที่ยวเรียนรู้ในอนาคตอีกด้วย

พื้นที่จัดแสดง นิทรรศการถาวร “คน เมือง ลำปาง” อยู่บริเวณชั้น 2 ของอาคาร ซึ่งนิทรรศการดังกล่าวมีการนำเสนอผ่านหัวข้อหลักๆ ว่าด้วยเรื่อง “คน”  ที่มีบทบาทสำคัญปรากฏอยู่ในเรื่องราวของจังหวัดลำปาง

โดยเฉพาะผู้มีส่วนสำคัญต่อประวัติศาสตร์ โบราณคดี เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม เรื่องของ “เมือง” ลำปาง

การเปลี่ยนผ่านและเหตุการณ์สำคัญในอดีตส่งผลอย่างไรมาถึงภาพของลำปางในยุคปัจจุบัน

และสุดท้ายในหัวข้อ “ลำปาง” มิวเซียมได้สำรวจและเก็บรวบรวมทั้งความเหมือนและแตกต่างเพื่อตามหา “ลำปางแต๊ๆ” ทุกซอกทุกมุมจากทั้ง 13 อำเภอ นำมาจัดแสดงด้วยรูปแบบการนำเสนอที่ทันสมัยผสมผสานเทคโนโลยี

นัท ณัฐวุฒิ เครือวัง วัย 22 ปี

นายแบบดาวรุ่ง "เด็กเทคนิคลำปาง"

คลิ๊กอ่านข่าว  นัท ณัฐวุฒิ เครือวัง นายแบบดาวรุ่ง "เด็กเทคนิคลำปาง" พาเที่ยวสะพานรัษฎาภิเศก

และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ชม (Interactive) โดยแบ่งการจัดแสดงออกเป็น 16 ห้องนิทรรศการด้วยกัน

ส่วนบริเวณชั้น 1 มีการจัดสรรพื้นที่ของอุทยานการเรียนรู้มิวเซียมลำปางเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ส่งเสริมการอ่านและการเรียนรู้ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปวัฒนธรรมและประเพณี

ตลอดจนปลูกฝังทักษะการเรียนรู้ พัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การแสวงหาความรู้ด้วยตนเองและสร้างแรงบันดาลใจให้แก่เด็ก เยาวชนคนรุ่นใหม่

และประชาชนชาวลำปาง รวมไปถึงพื้นที่ใกล้เคียง โดยภายในประกอบไปด้วยพื้นที่การเรียนรู้ มีงานวิจัย วิทยานิพนธ์ หนังสือ หายาก รวมถึงหนังสือ และสื่อการเรียนรู้มากกว่า 3,000 รายการ

นอกจากนี้ มิวเซียมลำปางยังมีการวางมาตรการรองรับความปลอดภัยระดับมาตรฐานสาธารณสุขเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19

ประกอบไปด้วย การตั้งจุดคัดกรองบริเวณก่อนเข้าชมนิทรรศการและใช้บริการในอาคาร โดยจำกัดผู้เข้าชมรอบละไม่เกิน 5 คน มีการตรวจวัดอุณภูมิ สแกน QR Code ไทยชนะ

ทั้งทางเข้า-ออก พร้อมตั้งจุดเจล แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อทุกห้องนิทรรศการและพื้นที่บริการ และขอความร่วมมือผู้เข้าชมจะต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยทุกครั้งในการเข้าชม

มิวเซียมลำปางจะเป็นแหล่งเรียนรู้และแหล่งท่องเที่ยวอีกหนึ่งแห่งที่ห้ามพลาดของจังหวัดลำปางและเป็นอีกทางเลือกในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนคนรุ่นใหม่

ที่สามารถมาแสวงหาความรู้ และความสนุกสนานไปพร้อมๆ กัน เพื่อส่งเสริมให้สังคมไทยเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนต่อไป

ผู้สนใจสามารถเข้าชมมิวเซียมลำปางได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป เปิดบริการทุกวันอังคาร – วันอาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์ เวลา 09.00 – 17.00 น. (ปิดทุกวันจันทร์) 

ส่วน สะพานรัษฎาภิเศก หรือ สะพานขาว ตั้งอยู่ที่ถนนรัษฎา เป็นสะพานข้ามแม่น้ำวัง ตั้งอยู่ในเขตตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง

เจ้าผู้ครองนครเป็นผู้ที่ตั้งชื่อจากพิธีเฉลิมฉลองรัษฎาภิเษก สมัยรัชกาลที่ 5

สะพานรัษฎาเป็นสะพานร่วมสมัยกับยุคอารยธรรมรถไฟมีอายุผ่านสงครามโลกครั้งที่ 1 และ 2 มาแล้ว

และรอดพ้นจากการโจมตีทิ้งระเบิดของฝ่ายสัมพันธมิตรมาได้ด้วยการทาสีพรางตา

และมีการอ้างว่าสะพานแห่งนี้ไม่มีประโยชน์ทางยุทธศาสตร์ของนางลูซี สคาร์ลิง อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนวิชานารีซึ่งเป็นที่ปรึกษาของกองทัพสัมพันธมิตรในขณะนั้น

นอกจากนี้ เดิมเป็นสะพานไม้เสริมเหล็กชำรุดผุพัง จึงมีการก่อสร้างใหม่เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2460 ถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปาง

ซึ่งมีชื่อเรียกกันหลายชื่อเช่น ขัวสี่โก๊ง สะพานสี่โค้ง ขัวหลวง สะพานใหญ่ ขัวขาว สะพานขาว ถือว่าเป็นสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีความคงทนมากกว่าสะพานรุ่นเดียวกันที่ไม่เหลืออยู่แล้วในปัจจุบัน

นอกจากนี้ตรงหัวของสะพานยังมีสัญลักษณ์ที่สื่อความหมายถึงความเป็นมาดังนี้ - เสาสี่ต้น ที่ตั้งอยู่หัวสะพานฝั่งละสองต้น หมายถึงความมั่นคงแข็งแรง

ครุฑสีแดงด้านหน้าของเสาทุกต้น เป็นตราสัญลักษณ์ของแผ่นดินในสมัยรัชกาลที่ 6 - พวงมาลัยยอดเสาทั้งสี่ด้านของเสา

หมายถึง เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ส่วน ไก่หลวง หรือ ไก่ขาว ตรงกลางเสา เป็นสัญลักษณ์ประจำนครลำปาง

29 สิงหาคม 2566

ผู้ชม 3517 ครั้ง

Engine by shopup.com