เมืองไทย ศูนย์กลาง “แล็บ” นานาชาติ คาดมูลค่าธุรกิจ "ห้องปฏิบัติการ" พุ่ง
เมืองไทย ศูนย์กลาง “แล็บ” นานาชาติ คาดมูลค่าธุรกิจ "ห้องปฏิบัติการ" พุ่ง
ทีมข่าว เว็บไซต์ Medhubnews.com รายงานว่า หลังจากเคยนำเสนอข่าวการจัดงานไทยแลนด์แล็บ อินเตอร์เนชั่นแนล 2017 ล่าสุด นายธีรยุทธ ลีลาขจรกิจ ผู้อำนวยการสายงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บริษัท วีเอ็นยู เอ็กซิบิชั่น เอเชีย แปซิฟิค จำกัด ผู้จัดงานไทยแลนด์ฯ เผยว่า จากการจัดงานไทยแลนด์แล็บ ที่ผ่านมา มีผู้เข้าร่วมชมงานกว่า 9,000 คน จาก 60 ประเทศทั่วโลก
ในจำนวนนี้เป็นนักธุรกิจ นักลงทุน ผู้ประกอบการ ตลอดจนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้เจรจาจับคู่ธุรกิจและเกิดความร่วมมือหลายราย ซึ่งถือว่าประสบความสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ โดยประมาณการมูลค่าธุรกิจที่จะเกิดขึ้นภายใน 6 เดือน นับจากนี้จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 60,000 ล้านบาท
“จากความสำเร็จที่เกิดขึ้น ผู้จัดงานฯ ซึ่งมีเป้าหมายชัดเจน ที่จะผลักดันงานไทยแลนด์แล็บฯ ให้เป็นงานแสดงเทคโนโลยีเครื่องมือห้องปฏิบัติการที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งในภูมิภาค
เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมและรัฐบาล ตลอดจนการเติบโตด้านเทคโนโลยีทางห้องปฏิบัติการฯ จึงได้กำหนดจัดงานอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8
ด้าน ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการศุนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) ในฐานะเป็นผู้ร่วมจัดงานในส่วนของงาน Life Science & Bio Investment Asia 2017 ได้มีกิจกรรมการการฝึกอบรมในหัวข้อการเจรจาต่อรองในการถ่ายทอดเทคโนโลยี
โดยมีผ้เข้าร่วมงานทั้งสิ้น 62 คนจาก 8 ประเทศ คือ ไทย ลาว กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น และจีน เป็นการสร้างขีดความสามารถของบุคลากรใน ด้านการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการถ่ายทอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีทางด้านการแพทย์
นอกจากนี้ยังมีการลงนามความร่วมมือ “โครงการพัฒนายา ชีววัตถุและวัคซีน เพื่อลดการนำเข้าและเพิ่มโอกาสการส่งออก ระหว่าง TCELS และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล สภากาชาดไทย สถาบันวัคซีนแห่งชาติ บริษัทเบอร์รี่ยุคเกอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัทฟาร์มานูวา
โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนงานวิจัยและเทคโนโลยีชีวภาพทางด้าน ชีววิทยาศาสตร์ รวมทั้งการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์
โดยเฉพาะยาชีววัตถุและวัคซีน เพื่อผลักดัน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เน้นการลงทุน ในอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
ซึ่งสอดคล้องกบันโยบายของรัฐในการสร้างเศรษฐกิจชีวภาพ ซึ่งความร่วมมือนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของทกุภาคส่วน เพื่อผลักดันให้เกิดการวิจัยพัฒนาตลอดจนการผลิตยา ชีววัตถุและวัคซีน รวมถึงบคุลากร อันจะเป็นพื้นฐานเศรษฐกิจของประเทศไทยต่อไป
นอกจากนี้ยังมีการ เป็นการนำเสนอผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านชีววิทยาศาสตร์ให้กับนักลงทุน หรือผ้ทูี่สนใจฟัง เพื่อต่อยอดงานวิจัยออกสู่ตลาด หรือหาผู้ร่วมทุนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ซึ่งในงานดังกล่าวเกิดการเจรจาธุรกิจระหว่างนักวิจัยและบริษัทสตาร์ทอัพ กับนักลงทุนในบริษัทใหญ่จำนวนมาก
13 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 2011 ครั้ง