คนไทยเฮ สาธารณสุขใช้เงินกู้ 878.2 ล้านบาท ซื้อเครื่องฉายรังสี Linac สแกนตรวจหาเชื้อมะเร็งระยะแรก หลังสถิติคนไทยพบเนื้อร้ายช้า จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย
คนไทยเฮ สาธารณสุขใช้เงินกู้ 878.2 ล้านบาท ซื้อเครื่องฉายรังสี Linac สแกนตรวจหาเชื้อมะเร็งระยะแรก หลังสถิติคนไทยพบเนื้อร้ายช้า จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย
เว็บไซต์สุขภาพ วาไรตี้ สังคม ท่องเที่ยว - คนไทยเฮ สาธารณสุขใช้เงินกู้ 878.2 ล้านบาท ซื้อเครื่องฉายรังสี Linac เครื่องสแกนตรวจหาเชื้อมะเร็งระยะแรก
หลังสถิติคนไทยพบเนื้อร้ายช้า จนเข้าสู่ระยะสุดท้าย ต้องตายอยู่ดี
นายอนุทิน ชาญวีรกูล
News Update วันศุกร์ที่ 18 กันยายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ - หลังจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า คณะกรรมการกลั่นกรองการใช้จ่ายเงินกู้
ได้พิจารณาผ่าน โครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องฉายรังสี ( Linac )
เครื่องฉายรังสี ( Linac ) แก้ปัญหาผลกระทบจากโควิด 19 ด้านการแพทย์และสาธารณสุข วงเงิน 878.2 ล้านบาท มีประโยชน์มหาศาลต่อระบบสาธารณสุขไทย ไม่เพียงเฉพาะแค่ โควิด 19
ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ ให้แก่โรงพยาบาล 7 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลพุทธชินราช จังหวัดพิษณุโลก
โรงพยาบาลสุรินทร์, โรงพยาบาลร้อยเอ็ด, โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช
โรงพยาบาลสมุทรสาคร, โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา, สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
เครื่องฉายรังสี ( Linac )
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองฯ จะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในสัปดาห์ถัดไป
สาเหตุที่ต้องเสนอโครงการดังกล่าวเนื่องจากสถานการณ์โรคโควิด 19 ผู้ป่วยมะเร็งยังต้องได้รับการรักษา หากเลื่อนการรักษาจะส่งผลให้โรคลุกลามรุนแรงมากขึ้น ไม่สามารถหายขาดได้
ขณะเดียวกันสถานพยาบาลต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบการให้บริการผู้ป่วยรูปแบบใหม่หรือ New Normal ด้วยการฉายรังสีเทคนิคชั้นสูงทดแทนการผ่าตัดได้
เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งที่มีโอกาสติดเชื้อสูงกว่าคนทั่วไป การฉายรังสี จึงเป็นทางเลือกการรักษาที่ปลอดภัย ใช้เวลาครั้งละไม่เกิน 10 นาที
จากการผ่าตัดที่ใช้เวลา 3-4 ชั่วโมง จึงช่วยลดความเสี่ยงของผู้ป่วยจากการอยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน ไม่ต้องพักฟื้นในหอผู้ป่วยระหว่าง และหลังรักษา
ลดความแออัดในโรงพยาบาล สร้างความปลอดภัยของบุคลากรต่อการสัมผัสเชื้อโควิด 19
อย่างไรก็ตาม เครื่องฉายรังสี ยังมีไม่เพียงพอ แม้ในสถานการณ์ปกติก็เกิดการสะสมของผู้ป่วยมะเร็ง ทำให้โรงพยาบาลหลายแห่ง มีระยะเวลารอคอยการรักษามากกว่า 4 เดือน จึงจำเป็นต้องเพิ่มศักยภาพการให้บริการ
โครงการจัดหาครุภัณฑ์เครื่องฉายรังสีให้แก่โรงพยาบาลทั้ง 7 แห่งนี้ ช่วยเพิ่มความสามารถการให้บริการแก่ผู้ป่วยมะเร็งได้ดียิ่งขึ้น รักษาคนไข้ได้ปีละ 500-700 ราย
เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ทำให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง สามารถรักษาได้กับทุกอวัยวะ ไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิด 19 จากการที่อยู่โรงพยาบาลเป็นเวลานาน
ผู้ป่วยสามารถมารับการรักษาที่โรงพยาบาลใกล้บ้านมากขึ้น ไม่ต้องเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ หรือในเขตภูมิภาค สามารถลดระยะเวลารอคอยการรักษามะเร็ง
โดยใช้การฉายรังสีด้วยเทคนิคที่ทันสมัยทดแทนการผ่าตัด ลดการเสียชีวิตจากมะเร็งในประเทศไทย
เครื่องฉายรังสี ( Linac )
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า เครื่องฉายรังสี หรือ เครื่องเร่งอนุภาค LINAC มีความจำเป็นอย่างมาก
โดยมีการถกเถียงกันเรื่องความจำเป็น เกี่ยวกับ โรคมะเร็ง จากรังสีรักษา ที่สามารถตรวจพบมะเร็งได้ในระยะแรก
ขณะที่ระบบสาธารณสุขไทย ยังขาดแคลน ทำให้การตรวจพบมะเร็งในผู้ป่วย ช้าเกินไป
จนลามเข้าสู่ระยะสุดท้าย ต้องตายอยู่ดี
คลิ๊กอ่านข่าว แชร์ประสบการณ์ มะเร็ง ต่อมน้ำ เหลือง
18 กันยายน 2563
ผู้ชม 1606 ครั้ง