กวาง กมลชนก โพสต์ ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน มหาวิทยาลัยที่ ปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎร ก่อตั้งขึ้น
กวาง กมลชนก โพสต์ ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน มหาวิทยาลัยที่ ปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎร ก่อตั้งขึ้น
เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว เศรษฐกิจ - กวาง กมลชนก โพสต์ ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน มหาวิทยาลัยที่ ปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎร ก่อตั้งขึ้น
News Update - ข่าวล่าสุด วันนี้ กรณี ดราม่าร้อน การชุมนุมทางการเมืองในประเทศไทย ทำให้คนบันเทิงหลายคนออกมาแสดงความคิดเห็น
ไม่สนับสนุนการใช้ความรุนแรง และเกิดการโต้เถียงกันระหว่างชาวเน็ต
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า กวาง กมลชนก เขมะโยธิน
โพสต์คลิปร้องเพลง “เพื่อมวลชน” กับ น็อต นุติ เขมะโยธิน สามี ลงไอจีส่วนตัว พร้อมทั้งยืนยันไม่สนับสนุนความรุนแรง
โดยบอกว่า เพลงเพื่อมวลชน #รักความยุติธรรม #รักประชาธิปไตย #ไม่สนับสนุนความรุนแรง #ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน #ชีวิตคิดบวกของกวางกมลชนก”
ต้องบอกว่า ความคิด อุดมการณ์ ของ กวาง กมลชนก เขมะโยธิน ฉลาดล้ำลึกกว่า ดาราบางคนมาก เพราะมีความคิดทางการเมืองการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย อย่างเป็นระบบ
ไม่ว่าจะมหาวิทยาลัยไหน คณะรัฐศาสตร์ สอนหลักการ การเมืองการปกครอง ตามระบอบประชาธิปไตย เหมือนกันทุกแห่ง
ผู้เขียนเจอ กวาง กมลชนก เขมะโยธิน ล่าสุดเมื่องานแถลงข่าว บริษัทรับหาแม่บ้านให้ปลอดภัย ไม่เสียแรงที่ กวาง กมลชนก เขมะโยธิน เป็นนางเอกเรตติ้งอันดับหนึ่ง จากละครคู่กรรม ช่อง 7 ที่ไม่มีใครทำลายสถิติได้
กวาง กมลชนก ระบุว่า #ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน #ชีวิตคิดบวกของกวางกมลชนก”
หลายๆ คน เคยได้ยิน คำว่า ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน จากสถานที่ต่างๆ
โดย ห้องสมุดมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า “วาทะสำคัญนี้ ดัดแปลงมาจากบทความของ กุหลาบ สายประดิษฐ์ ว่า “ชาว มธก. รักมหาวิทยาลัยของเขา
เพราะว่ามหาวิทยาลัยของเขาสอนให้รู้จักรักคนอื่นด้วย” กลุ่มนักศึกษากิจกรรม 14 ตุลา จึงได้นำข้อความนี้ดัดแปลงเป็น “ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน” และเผยแพร่ที่งานนิทรรศการการเมืองในปี 2518
สะท้อนชัดหลักการของ ประชาคมธรรมศาสตร์ นับแต่มหาวิทยาลัยนี้กำเนิดขึ้นมาเมื่อ 2477 ภายใต้อุดมการณ์ประชาธิปไตย เสรีภาพ และ ความเสมอภาคทางการศึกษา และไม่เคยทอดทิ้งอุดมการณ์เพื่อประชาชน”
กุหลาบ สายประดิษฐ์ หรือ ศรีบูรพา นักคิด นักเขียน นักหนังสือพิมพ์คนสำคัญ เป็นศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง (มธก.)
เขียนวลีอันเป็นที่มาของวาทะดังกล่าวในบทความ มองนักศึกษา มธก. ผ่านแว่นขาว เมื่อปี 2496 ความตอนหนึ่งว่า
“นักศึกษาและบัณฑิตของ มธก. มีความรักในมหาวิทยาลัยของเขา มิใช่เพราะเหตุแต่เพียงว่าเขาได้เรียนในมหาวิทยาลัยนี้ เขาได้วิชาความรู้ไปจากมหาวิทยาลัยนี้
เขารักมหาวิทยาลัยนี้ เพราะมีธาตุบางอย่างของมหาวิทยาลัยนี้ที่สอนให้เขารู้จักรักคนอื่นๆ รู้จักคิดถึงความทุกข์ยากของคนอื่น
เพราะว่ามหาวิทยาลัยนี้ ไม่กักกันเขาไว้ในอุปาทาน และความคิดที่จะเอาแต่ตัวรอดเท่านั้น ชาว มธก. รักมหาวิทยาลัยของเขา เพราะว่ามหาวิทยาลัยของเขารู้จักรักคนอื่นด้วย”
สำหรับ มธก. เกิดขึ้นสืบเนื่องจากคณะราษฎร ก่อการปฏิวัติสยามเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 พร้อมประกาศหลัก 6 ประการ
ประการที่ 6 ระบุว่า “จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร” สถาบันศึกษาแบบใหม่ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยามได้รับการศึกษาชั้นสูง
โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมีควบคู่ไปกับการปฏิวัติ
ด้วยเหตุนี้จึงมีการตราพระราชบัญญัติ พ.ศ.2476 ขึ้น ให้จัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง” มีหน้าที่จัดการศึกษาวิชากฎหมาย วิชาการเมือง วิชาเศรษฐการ และบรรดาวิชาอื่นๆ
อันเกี่ยวกับธรรมศาสตร์และการเมือง มีพิธีเปิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2477 สถานที่ตั้งคือที่ตั้งเดิมของโรงเรียนกฎหมาย ริมถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
ปรีดี พนมยงค์ มีบทบาทเป็นผู้ร่างโครงการ หาที่ตั้ง และวางหลักสูตรของมหาวิทยาลัย และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ประศาสน์การคนแรก (พ.ศ.2477–2490)
โดยตั้งใจให้เป็นมหาวิทยาลัยตลาดวิชาให้ราษฎรมีความเสมอภาคในการเข้าถึงการศึกษา เงินทุนของมหาวิทยาลัย
อาศัยเงินค่าสมัครเข้าเรียนของนักศึกษาและดอกผลของธนาคารแห่งเอเชียเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม
ซึ่ง ปรีดี พนมยงค์ เป็น ผู้ก่อตั้ง โดยให้มหาวิทยาลัยถือหุ้น 80% นอกจากนี้ปรีดีได้ยกกิจการ โรงพิมพ์นิติสาส์นของตนให้มหาวิทยาลัยเพื่อพิมพ์ตำรา วันที่ 9 เมษายน 2478
มธก.ขอซื้อที่ดินบริเวณท่าพระจันทร์ ซึ่งเป็นที่ของทหาร และปรับปรุงอาคารเดิม พร้อมทั้งสร้างตึกโดม
กระทั่ง 8 พฤศจิกายน 2490 คณะรัฐประหาร เข้ายึดอำนาจปกครองประเทศ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมือง รัฐบาลตัดคำว่า วิชา และ การเมือง ออก
เหลือเพียงชื่อ “มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เพื่อไม่ให้นักศึกษายุ่งเกี่ยวกับการเมือง แล้วขายหุ้นทั้งหมด ของมหาวิทยาลัยจนไม่มีความสามารถที่จะเลี้ยงตัวเองได้
กลายเป็นมหาวิทยาลัยปิดที่ต้องอาศัยงบประมาณจากรัฐบาล ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495
จะเห็นได้ว่า ปัจจุบัน คนรุ่นใหม่คณะราษฎร 2563 กำลังต่อสู้เพื่อทวงคืนความยุติธรรม ให้กับหลายๆ อย่าง ที่โดนย่ำยี่ จากกลุ่มคนบางกลุ่ม
แท็ก : ฉันรักธรรมศาสตร์เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน, กวาง กมลชนก, จุดเด่นมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, เว็บไซต์สุขภาพ, ข่าวสาธารณสุข, ปรัชญา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต, ธรรมศาสตร์ มีกี่ที่, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รังสิต ที่อยู่
ผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์, คณะราษฎร, ปรีดี พนมยงค์, มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง
25 มกราคม 2564
ผู้ชม 7470 ครั้ง