พ่อแม่ จุกอก ! ค่าใช้จ่ายแสนโหดร้าย ลูกป่วยโรค RSV นอนโรงพยาบาล 11 วัน ผงะค่ารักษา 2 แสน เสียงขอความเมตตา จากประชาชน ต่อระบบจัดซื้อยา
พ่อแม่ จุกอก ! ค่าใช้จ่ายแสนโหดร้าย ลูกป่วยโรค RSV นอนโรงพยาบาล 11 วัน ผงะค่ารักษา 2 แสน เสียงขอความเมตตา จากประชาชน ต่อระบบจัดซื้อยา
น้องเนเน่ rsv, เนเน่ rsv, โรค als คือ, RSV, โรค RSV, สาเหตุที่ทำให้ยามีราคาแพง, จิ๊กซอว์ตัวสำคัญ, บริษัทยา, บริษัทยา, หุ้นกลุ่มเฮลธ์แคร์, หุ้น, โรงพยาบาล, ธุรกิจบริการสุขภาพ
หุ้น, กลุ่มโรงพยาบาล, ข้อมูลหุ้นกลุ่มโรงพยาบาล, ข่าวสุขภาพ, เว็บไซต์สุขภาพ, ข่าวสาธารณสุข, สุขภาพ, ประกันสุขภาพ, กรุงไทย AXA, ประกันสุขภาพ AIA
เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ธุรกิจบริการเพื่อสุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ – พ่อแม่ จุกอก ! ค่าใช้จ่ายแสนโหดร้าย ลูกป่วยโรค RSV นอนโรงพยาบาล 11 วัน ผงะค่ารักษา 2 แสน
เสียงขอความเมตตา จากประชาชน ต่อระบบจัดซื้อยา
น้องเนเน่ rsv
น้องเนเน่ rsv, เนเน่ rsv, โรค als คือ, News Update วันอาทิตย์ที่ 1 พฤศจิกายน 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ จากกรณี น้องเนเน่ ป่วยด้วยโรค RSV พ่อแม่สุดเศร้า ไวรัส RSV คร่าชีวิตลูกน้อยวัยเพียง 10 เดือน
คลิ๊ก ถ้ายากจน ยากไร้ ไม่มีสิทธิ ป่วยด้วยโรค RSV ชี้โรค น้องเนเน่ วัยเพียง 10 เดือนตาย ราคายาเป็นแสน
โดย ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า ระบบสาธารณสุขต่างประเทศ จะมีวิธีรักษา ด้วยยา palivizumab
สามารถป้องกันการติดเชื้อ RSV ได้จริง และไม่ทำให้เกิดโรครุนแรง แต่ราคายาแพงมาก หากรักษาในโรงพยาบาลเอกชน จะมีค่ารักษาพยาบาลที่สูงมาก ราคาหนึ่ง ถึงสองแสนบาท เลยทีเดียว
โดย ยา palivizumab จำหน่ายภายใต้ชื่อ Synagis เป็นโมโนโคลนอลแอนติบอดีที่ผลิตโดยเทคโนโลยีรีคอมบิแนนท์ดีเอ็นเอ
ที่ใช้เพื่อป้องกันโรครุนแรงที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสซินไซเทียทางเดินหายใจ
พ่อแม่ ที่มี ลูกเป็น rsv ยังไม่่เข้าใจ RSV, โรค RSV, RSVอาการ, อาการเริ่มแรกrsv, เสียชีวิตrsv
ระบบสาธารณสุขไทย เบื้องต้น ใช้วิธีรักษา ไวรัส RSV, ไข้ RSV ไวรัส RSV ไปตามอาการ หรือ รักษาประคับประคอง
ส่วน ยาป้องกันการติดเชื้อไวรัส RSV, Palivizumab, ที่จำเป็น ช่วง RSV ระบาดหนัก, ผู้ป่วย rsv เสียชีวิต
แพทย์ จะรักษา ไม่ว่าจะเป็นการให้ยาลดไข้ หรือ เด็กบางรายที่มีลักษณะของหลอดลมตีบ ก็อาจจะมีการให้ยาพ่นเพิ่มเพื่อขยายหลอดลม รวมถึงการเคาะปอดและดูดเสมหะ
ทั้งนี้ สังคมวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง ว่า ตอนนี้จรรยาบรรณของแพทย์ที่มีจริยธรรม เพื่อช่วยเหลือผู้เจ็บไข้ได้ป่วย กำลังเปลี่ยนเป็นมุ่งหวังผลตอบแทนสูงสุด
ทำไม จรรยาบรรณของแพทย์ จึงมอง ชีวิตคน เป็นผลประโยชน์ ดูได้จากคดีความของ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ทั้งๆ ที่ ยา เป็นสินค้าคุณธรรม (MeritGoods) ที่ต้องอาศัยข้อมูลทางวิชาการที่ถูกต้องทั้งข้อดีและข้อเสียในการตัดสินใจเลือก
ระบบสาธารณสุข มีการคอรัปชั่น กระจายไปทั่ว เอกชนก็มี ราชการ กับ นักการเมือง แพร่ลงไปถึงระดับหน่วยงาน ระดับล่าง
เป็นกันทุกหย่อมหญ้า เท่าที่ทราบมา งบของการจัดงานของ กระทรวงสาธารณสุข ถ้าวงในจะทราบดีว่า บริษัทที่จะได้งานประจำ คือ บริษัทที่มีการเลือกไว้แล้ว ทั้งงาน แถลงข่าว งานประชาสัมพันธ์ งานมหกรรมสมุนไพร ประจำปี ที่จัด ณ เมืองทอง
แค่มองหน้า ก็รู้แล้วว่า มีการแบ่งเงินกัน อาจจะระดับหน่วยงาน ผู้อำนวยการ ( รู้ แต่ไม่อยากพูด )
ถึงขนาดคนรับ เล่นตัวเลือกได้ว่าพอใจจะรับจากบริษัทไหน ถ้าไม่ให้ก็ไม่ได้งานหรือไม่ได้ขาย จะโทษคนให้หรือคนรับดี เห็นมีแต่โทษคนอื่น โทษฝ่ายตรงข้าม โทษกันไปมา ก็เป็นกันไปทั้งหมด
ระบบการจัดซื้อยาที่แตกต่างกันของรพ.เอกชน รพ.รัฐบาล และร้านขายยา ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับบริษัทยา 1 รพ.รัฐบาล การประมูลจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ( ซื้อปริมาณมาก ราคาถูกลง )...บริษัทยาต้องมีการล็อบบี้ผู้มีอำนาจจัดซื้อ
คณะกรรมการประมูลของร.พ. เพื่อให้ช่วยวาง spec ให้เป็นไปตามที่บริษัทยาต้องการ จัดซื้อจากบริษัทยาโดยตรง ( บริษัทยาต้องจ่ายค่าสวัสดิการร.พ. / บ่อยครั้งที่ต้องจ่ายเงินทอนให้กับผู้มีอำนาจใน
การจัดซื้อ / ค่าเลี้ยงรับรอง / อื่นๆอีกจิปาถะเพื่อเอาใจผู้มีอำนาจในการจัดซื้อ เป็นต้น การนำยาใหม่เข้าสู่บัญชียาของร.พ. ( บริษัทยาต้องมีการลงทุนกับแพทย์ที่เกี่ยวข้องและมีอำนาจในการพิจารณา นำยาใหม่เข้าสู่รพ.
2 ร.พ.เอกชน การจัดซื้อโดยตรงจากบริษัทยา ...หลายๆแห่งบริษัทยาต้องจ่ายเงินทอนให้กับผู้มีอำนาจในการจัดซื้อยา / ค่าเลี้ยงรับรอง / อื่นๆอีกจิปาถะเพื่อเอาใจผู้มีอำนาจในการจัดซื้อ เป็นต้น )
รพ.บางแห่งมีการประมูลจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์เช่นเดียวกับรพ.รัฐบาล...บริษัทยาก็ใช้กลยุทธเดียวกับที่ใช้ในรพ.รัฐ
3 ร้านขายยา ร้านขายยาที่เป็น Stand Alone ทั่วไป...หากเป็นร้านที่คนสั่งซื้อไม่ใช่เจ้าของร้าน เซลล์ก็อาจเอาใจโดยวิธีการต่างๆกันไป
ร้านขายยาระบบเครือข่าย ( Chain Drugstore / Health & Beauty Store )...บางแห่งบริษัทยาต้องจ่ายเงินทอน ให้ผู้มีอำนาจในการจัดซื้อ / การเลี้ยงรับรอง ฯลฯ )
ร้านขายยาส่ง ( ยี่ปั๊ว )....ร้านประเภทนี้จะซื้อปริมาณมาก ได้ราคาต้นทุนจะถูกที่สุด แต่อาจไม่ได้ขายถูกนักก็ได้...
ต้นทุนจะถูกจากการแถม การให้ส่วนลดพิเศษ การทำ contract ยอดที่ต้องซื้อจากบริษัทยา ( ถ้าซื้อได้ตามเป้า
จะได้ refund เท่าไรก็แล้วแต่ตกลง หรือพาไปเที่ยวต่างประเทศเป็นต้น )
ต้นทุนยาจากบริษัทยาที่แอบแฝงในระบบ...นอกจากต้นทุนยาที่เกิดจากการผลิตแล้วยังมีต้นทุนที่บริษัทยาบวกเพิ่มเข้าไป
ในราคายาที่ขายให้แก่รพ.รัฐ รพ.เอกชน และร้านขายยาทั่วประเทศอีกด้วย
1 เงินทอนที่บริษัทยาต้องจ่ายในขั้นตอนการจัดซื้อของรพ.รัฐและเอกชน และอื่นๆ ( อ่านในขั้นตอนของระบบจัดซื้อด้านบน...)
ทั้งบริษัทยาอินเตอร์ ( ยา original ) และบริษัทยาในประเทศ ( local made ) ต้องจ่ายตั้งแต่ 5 % - หลายสิบ
เปอร์เซนต์ ขึ้นกับความรุนแรงของการแข่งขันระหว่างบริษัทยาด้วยกันเอง ซึ่งบริษัทยาอินเตอร์มักจะเป็นผู้พ่ายแพ้
ในเกมส์ดังกล่าวอยู่บ่อยๆ
2 เงินทอนที่บริษัทยาจ่ายให้กับแพทย์บางคนที่มีอิทธิพลในการช่วยเพิ่มยอดการใช้ยาในรพ. ซึ่งทำให้บริษัทมียอดขาย
ยาสูงขึ้นนั่นเอง เช่น ให้แพทย์ช่วยเอายาใหม่เข้าสู่บัญชียาของรพ. ให้แพทย์ช่วยยิงยา ( ใช้ยาของบริษัท ) เป็นต้น
โดยอาจให้ในรูปแบบต่างๆ เช่น เป็น % ของยอดสั่งซื้อจากรพ. จ่ายเป็นต่อcase ให้ค่าเดินทาง - ที่พัก - pocket
money ในการท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เป็นต้น ( หรืออาจให้หลายๆรุปแบบผสมกันไป )
3 ค่าการตลาดต่างๆ เช่น ค่าเลี้ยงรับรอง ค่า Brochure เอกสารยา ค่าของที่ระลึก ( Gimmick ) ที่แจกแพทย์
และบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องต่างๆ ค่าจัดประชุมสัมมนาวิชาการต่างๆ ฯลฯ
การเห็นแก่ยอดขายของบริษัทยาทั้งหลาย และการแข่งขันเสรีในธุรกิจยาบ้านเรานั้นมีความรุนแรง ขาดจรรยาบรรณ
มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนดูเหมือนเป็นเรื่องปกติธรรมดาสำหรับคนในวงการไปแล้วกับ stakeholder ทั้งหลาย
ทั้งผู้ขาย - ผู้ซื้อและผู้สั่งใช้ยาที่ต่อมจรรยาบรรณบกพร่อง เข้าทำนองผู้ขายยินดีจ่าย ผู้ซื้อและผู้สั่งใช้ยาก็ยินดีรับ
ท้ายที่สุดค่าใช้จ่ายต่างๆที่บริษัทยาต้องลงทุนไปในการแลกมาซึ่งยอดขายสูงๆนั้น ก็ไม่พ้นที่จะถูกผลักภาระมาให้
ประชาชนในประเทศเป็นผู้แบกรับในที่สุด
ประกันสุขภาพ กรุงไทย AXA และฉบับที่สอง AIA
ตัวอย่าง ประชาชนในประเทศไทยเป็นผู้แบกรับภาระ จาก พันทิป.คอม คุณ Sherlockoam
ตั้งกระทู้ว่า “ค่าใช้จ่ายอันแสนโหดร้ายเมื่อลูกต้องนอนโรงพยาบาล”
ฤดูฝนเป็นช่วงที่การเจ็บไข้ได้ป่วยมาเยี่ยมเยียนเราได้บ่อยที่สุด ถ้าเกิดกับผู้ใหญ่เองก็ไม่น่าห่วงเท่าไร แต่ถ้าเกิดกับลูกน้อยของเราๆท่านๆแล้วมันสงสารเด็กจับใจครับ
ที่ผมมาตั้งกระทู้นี้เพราะต้องการแชร์ประโยชน์ในการทำประกันสุขภาพ ลูกผม อายุ 1 ปี 9 เดือน ต้องนอนรพ.เป็นเวลา 11 วัน
เนื่องจากในชีวิตของผมไม่เคยต้อง Admit เลย พอลูกต้องเข้า Admit เลยไม่ค่อยรู้เรื่องอะไรยังไง โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายอันแสนโหดร้าย
ออกตัวก่อนเลยว่าผมไม่ได้ขายประกัน ไม่ได้มีอาชีพเกี่ยวข้องกับประกันนะครับ แค่อยากแชร์ประสบการณ์
ลูกผมเข้า Admit ที่ รพ.เอกชนแห่งหนึ่งแถวซอยศูนย์วิจัยเมื่อวันที่ 7 ส.ค. 57 - 18 ส.ค. 57 ที่ผ่านมา
รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 11 วัน ด้วยอาการไข้สูง 40 องศา จนมีอาการชัก ผล Lab ออกมาว่าลูกผมติดเชื้อไวรัสชื่อ RSV
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น พอ RSV ใกล้ๆจะหาย ดันเป็นไข้หวัดใหญ่อีก กว่าจะหายก็นู่นแหละครับ 11 วัน
ไข้สูงสลับกับไข้ต่ำสลับกับบางวันก็ไม่มีไข้ ไปๆมาๆไม่ได้ออกจากรพ.ซักที
บิลค่ารักษา
มาถึงวันที่ได้ออกจากรพ. วันที่ 18 ส.ค. ที่ผ่านมา ผมแจ้งความประสงค์กับทาง รพ.ไปแล้วว่าใช้ประกัน 2 ฉบับ
คือฉบับแรก กรุงไทย AXA และฉบับที่สอง AIA ทาง รพ.ก็ไปจัดการเรื่องทำเคลมอะไรของเขาเอง
นอนรพ. 11 วัน ค่าใช้จ่าย 196,714.00 บาท
ผมได้มารู้ยอดเอาก็ตอนที่เดินเรื่องเรียบร้อยแล้ว พอมาเห็นบิลถึงกับ เงิบ
เด็กยังไม่ 2 ขวบ นอนรพ. 11 วัน ค่าใช้จ่าย 196,714.00 บาท คืออีก 3 พันกว่าบาทครบ 2 แสน
ผมนี่คิดเลยว่าหากไม่มีประกันนี่ จุกแน่นอนครับท่าน บางคนเก็บเงินกี่ปีครับ 2 แสน ละลายภายใน 11 วัน เดี๋ยวผมจะให้ดูบิลครับ
ถึงขนาด มีการตั้งกระทู้ว่า “พอกันทีเถอะครับ หุ้นกลุ่มโรงพยาบาล VIBHA, BCH, BGH, BH, VIH, KDH, NEW, SVH, AHC วอนจิตสำนึกทุกท่านช่วยลดปริมาณการซื้อขาย”
บรรดานักลงทุนที่เลือกจัดสรรเงินที่มีอยู่ในกระเป๋าเพื่อลงทุนในหุ้นนั้น แน่นอนครับว่ามีจุดประสงค์เดียวกันคือ ให้ได้ผลตอบแทน หรือไม่บางท่านก็อาจจะมองว่าให้ได้กำไรจากเงินต้นที่ได้ลงทุนไปให้มากที่สุด
แต่ทุกท่านรู้ไหมครับว่า การเลือกลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลนั้น
เป็นสิ่งที่ทำให้จิตสำนึกของสังคมไทยลดน้อยลงไปโดยที่เราไม่รู้เท่าทัน
คลิ๊ก อ่านรายละะอียด ข้อมูล - ภาพ จาก พันทิป.คอม
01 พฤศจิกายน 2563
ผู้ชม 4512 ครั้ง