บ้านแพ้ว โมเดล ? สาธารณสุข ให้ "เอกชน" ร่วมลงทุน รพ.รัฐ ทั้งยา - อุปกรณ์การแพทย์
บ้านแพ้ว โมเดล ? สาธารณสุข ให้ "เอกชน" ร่วมลงทุน รพ.รัฐ ทั้งยา - อุปกรณ์การแพทย์
MED HUB NEWS - ระยะนี้หากได้ติดตาม การแก้ปัญหา รวมทั้งการหาทางออกให้กับระบบสุขภาพ จะต้องมีการหยิบยกภาพให้เห็นถึงการบริหารโรงพยาบาลที่บริหารแบบไม่ให้ขาดทุน ซึ่งหนึ่งในนั้นคือ " โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ( องค์การมหาชน ) จ.สมุทรสาคร
ทีมข่าว เว็บไซต์สุขภาพ Medhubnews.com รายงานว่า เนื่องจากสามารถแก้ไขปัญหาได้ เพราะหลังเป็นองค์การมหาชน ดำเนินงานโดยคณะกรรมการ มีผู้แทน 3 ส่วนร่วมบริหาร ประกอบด้วยตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุข เพื่อยึดโยงตามนโยบายรัฐ
ตัวแทนชุมชนเพื่อตอบสนองความต้องการคนในพื้นที่ และผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้การบริหาร รพ.เป็นมาตรฐาน ทั้งในด้านการเงิน การบริหาร และการบริการ เป็นการดำเนินงานที่ต่างไปจากอดีต
จากที่เคยทำงานมุ่งตอบสนองภาครัฐเพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องตอบสนองความต้องการคนในชุมชนที่เป็นเป้าหมายสำคัญ ด้วยเหตุนี้จึงต้องมีตัวแทนชุมชนร่วมเป็นกรรมการด้วย
ที่ กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี นายแพทย์โสภณ เมฆธน ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนายจุมพล ริมสาคร รองปลัดกระทรวงการคลัง นายแพทย์เจษฎา โชคดำรงสุข อธิบดีกรมควบคุมโรค และ ว่าที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข
ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและกลั่นกรองโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพ ครั้งที่ 1/2560 ประกอบด้วยผู้แทนกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง กรมธนารักษ์ อัยการสูงสุด สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ อธิบดีทุกกรม ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
นายแพทย์โสภณ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและกลั่นกรองโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพ
เพื่อทำหน้าที่พัฒนานโยบายแนวทางให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพ ขับเคลื่อนการดำเนินงาน กำหนดกรอบแนวทาง ตลอดจนทบทวนปรับปรุง ศึกษาวิเคราะห์การปรับปรุงแก้ไข เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล
บรรลุตามพระราชบัญญัติการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการรัฐ พ.ศ.2556 และแผนยุทธศาสตร์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2558-2562
กระทรวงสาธารณสุขได้จัดทำแผนแม่บทการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพ ( Health PPP Master Plan ) และมีโครงการที่ให้เอกชนร่วมลงทุนใน 2 กิจการในระยะแรก ได้แก่ กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข และกิจการด้านยาและอุปกรณ์การแพทย์ โดยมีความก้าวหน้า ดังนี้ โครงการภายใต้ความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาเอเชีย (ADB) แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
ได้แก่ 1.โครงการภายใต้กิจการด้านยาและอุปกรณ์การแพทย์ มี 2 โครงการย่อย คือโครงการจัดบริการตรวจวินิจฉัยทางรังสีวินิจฉัยขั้นสูง โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานีและโครงการจัดบริการฟอกเลือดในศูนย์ไตเทียม
โรงพยาบาลราชบุรี ซึ่งได้รับความเห็นชอบในหลักการ และกรมธนารักษ์ได้มอบอำนาจให้กระทรวงสาธารณสุขในการจัดให้เอกชนเช่าพื้นที่ ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการคัดเลือกและร่างสัญญาฯ
2.โครงการภายใต้กิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านสาธารณสุข มี 5 โครงการย่อย ได้แก่ โครงการอาคารที่พักญาติและจอดรถ โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี 769 ล้านบาท โครงการอาคารบริการทางการแพทย์และจอดรถ โรงพยาบาลนครปฐม 403 ล้านบาท
โครงการอาคารบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ มูลค่า 1,670 ล้านบาท โครงการอาคารบริการทางการแพทย์ โรงพยาบาลราชบุรี 757 ล้านบาท โครงการก่อสร้างศูนย์กักแยกโรค กรมควบคุมโรค 72 ล้านบาท ซึ่งทุกโครงการผ่านการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นแล้ว
สำหรับโครงการศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง กรมการแพทย์ เป็นโครงการก่อสร้างโรงพยาบาลขนาด 500 เตียง บนพื้นที่ 15ไร่ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย มูลค่าก่อสร้างประมาณ 5,000ล้านบาท และเครื่องมือแพทย์ 2,000-3,000 ล้านบาท อยู่ระหว่างขอทำสัญญาเช่าพื้นที่หากเรียบร้อยจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขและคณะรัฐมนตรีต่อไป
"กระทรวงสาธารณสุข เชิญผู้เกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญจากภาคส่วนต่างๆ มาช่วยกันพิจารณาร่วมผลักดันโครงการให้เอกชนร่วมลงทุนด้านสุขภาพ ของกระทรวงฯ ที่กำลังดำเนินการ
ทั้งที่ทำแล้ว เช่น ศูนย์ไตเทียม ห้องแล็บ เครื่องเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ให้มีความสอดคล้องตามแผนลงทุนระยะ 5 ปี ของแผนพัฒนาระบบบริการ ที่มีทั้งการลงทุนด้านอาคารสถานที่ เครื่องมือแพทย์
โดยให้มีเอกชนมาร่วมลงทุน เนื่องจากผู้ปฎิบัติยังมีข้อกังวลเรื่องกฏระเบียบ ข้อทางกฎหมาย"
เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com
เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ
Thailand Health and Wellness News
ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา
03 ธันวาคม 2561
ผู้ชม 2119 ครั้ง