"นิติศักดิ์" กู้ภัยฮีโร่ จาก "มูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ฯ" ใช้ประสบการณ์ แก้ไขเหตุ “ฉุกเฉิน” บนเครื่อง เว็บไซต์สุขภาพ Medhub news.com

บทความ

นิติศักดิ์ บุญมานนท์ กู้ภัยฮีโร่ วัย 48 ปี “คนกู้ภัยตัวจริง” จาก "มูลนิธิกุศลศรัทธาสุราษฎร์ฯ" แก้ไขเหตุ “ฉุกเฉิน” บนเครื่องบินได้อย่างมืออาชีพ

"ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" นับว่ามีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากเป็นการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยให้รอดพ้นจากภาวะวิกฤตได้

โดยเฉพาะการเริ่มช่วยในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ( First Aid ) ตั้งแต่ที่เราพบ "ผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต" โอกาสรอดชีวิตของผู้ป่วยฉุกเฉินก็จะมีเพิ่มมากยิ่งขึ้น

แม้ว่าก่อนหน้านี้ จะมีข่าวลบเคสสะเทือนขวัญ สร้างความหวั่นไหวให้กับประชาชน เกี่ยวกับ  "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน"  สะเทือนถึง สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ( สพฉ. ) เพราะสังคมโฟกัสไปที่สายด่วน 1669 ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น 

ทีมข่าว เว็บไซต์สุขภาพ Medhub news.com รายงานว่า กระแสทางสังคมออนไลน์ได้พูดถึงกรณีที่สมาชิกเฟสบุ๊คชื่อว่า "Watcharakorn PacK-Sdm" ได้โพสต์ข้อความดังนี้ 

“คนที่สังคมต้องการ : เครื่องบินตกหลุมอากาศอย่างหนัก จากสภาพอากาศแปรปรวน จนคนตกใจช็อคไป ดีที่ไฟท์นี้มีพี่เค้ามาช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นไว้ทัน แล้วรีบส่ง รพ หลังจากเครื่องลงจอด ซึ้งน้ำใจจิงๆ 1 ใน 215 คน"

โดยสมาชิกเฟสบุ๊คดังกล่าวได้เผยแพร่รูปภาพผู้ชายคนหนึ่งกำลังแบกผู้ป่วย และ ภาพบนเครื่องเอาไว้ที่หน้าเฟสบุ๊ค ก่อนจะถูกแชร์อย่างแพร่หลาย

พี่อ้น หรือ นิติศักดิ์ บุญมานนท์

สำหรับ ผู้ชายในภาพชื่อว่า นายนิติศักดิ์ บุญมานนท์ อายุ 48 ปี  ประสบเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่ตนนั่งเครื่องบินโดยสาร จากสนามบินดอนเมือง เพื่อที่จะเดินทางกลับมาจังหวัดสุราษฎร์ธานี 

เมื่อเครื่องบินได้ขึ้นสักพักปรากฏว่าเกิดสภาพอากาศภายนอกแปรปรวนอย่างรุนแรง ทำให้เครื่องบินมีอาการสั่นเรื่อยๆ ประมาณ 10 นาที

และมีเหตุตกหลุมอากาศอย่างแรงด้วย เมื่อเครื่องบินกลับเข้าสู่สภาวะปกติ พนักงานบริการบนเครื่องได้ประกาศให้ผู้โดยสารทราบ และถามหาผู้โดยสารว่ามีแพทย์, พยาบาล หรือผู้ที่มีความรู้ในเรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้นหรือไม่

เนื่องจากมีผู้โดยสาร เป็นชายอายุประมาณ 30 ปี มีอาการเครียดและช็อกเกร็ง นายนิติศักดิ์ เป็นอาสากู้ภัย เคยฝึกอบรมและมีความรู้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยจึงให้การช่วยเหลืออย่างเต็มที่ แต่คนป่วยยังมีอาการเกร็งอยู่

จนกระทั่งเครื่องบินลงจอดที่สนามบินสุราษฎร์ธานี ก็ได้แบกผู้ป่วยลงจากเครื่องและสามารถนำส่ง รพ.ได้อย่างปลอดภัย ส่วนความรู้สึกในตอนนั้นในฐานะที่ทำงานด้านช่วยเหลือคนและจิตอาสามากกว่า 30 ปี คิดเพียงอย่างเดียวว่า เราต้องช่วยและคนที่เราช่วยจะต้องปลอดภัย

"ภูผา วันเฉลิม" กู้ภัยสว่างเมธาธรรม ฮีโร่ของจังหวัดอุดรธานี ชื่นชมการทำหน้าที่ของพี่อ้นมาก 

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ทางสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ.ได้ลงพื้นที่ใหห้ความรู้กับ กลุ่มเยาวชน ที่ต้องปลูกฝังกันตั้งแต่อายุยังน้อยเพื่อให้เขากลายเป็นต้นกล้าที่สามารถสานต่องานช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินตามวิธีการและขั้นตอนที่ถูกต้องได้

จึงก่อให้เกิดการรวมตัวกันของ หน่วยกู้ชีพภาคเอกชน ภายในจังหวัดสุราษฏร์ธานี รวมทั้งแรงสนับสนุนที่สำคัญจาก สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ หรือ สพฉ. จัดโครงการเพื่อฝึกอบรมและถ่ายทอดความรู้ขั้นพื้นฐานในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างถูกขั้นตอน และการใช้งานสายด่วน 1669 ให้เกิดประสิทธิภาพ

เรืออากาศเอก นายแพทย์อัจฉริยะ แพงมา หรือ "หมออัจ" เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ยืนยัน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ พร้อมให้การสนับสนุนท้องถิ่นอย่างเต็มที่ ถ้ายิ่งเป็นพื้นที่ห่างไกล หากมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉินอย่างมีระบบและมีประสิทธิภาพ จะสามารถช่วยลดอัตราการเสียชีวิตในผู้ป่วยได้

พื้นที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี นับว่ามีความเข้มแข็งด้านการให้บริการ การแพทย์ฉุกเฉิน เนื่องมีระบบเครือข่าย ที่สอดประสานทั้งภาครัฐและเอกชนได้อย่างลงตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชน เกิดเป็นเครือข่ายที่ยั่งยืนเกี่ยวกับการแพทย์ฉุกเฉินในท้องถิ่นต่อไป

ขณะเดียวกันเพื่อนๆ ใน วิชาชีพการแพทย์ฉุกเฉิน กู้ภัยมูลนิธิต่างๆ ได้ชื่นชมกับพี่อ้น กันเป็นจำนวนมากมาย เช่น "ภูผา วันเฉลิม" กู้ภัยสว่างเมธาธรรม ของจังหวัดอุดรธานี รู้สึกดีใจมาก 

จากการตรวจสอบของ เว็บไซต์สุขภาพ Medhub news.com  พบว่า กู้ภัยฮีโร่คนดังกล่าว ก็คือ พี่อ้น หรือ นิติศักดิ์ บุญมานนท์ เป็นหนึ่งในคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน นั่นเอง  

ซึ่งได้ลงพื้นที่อบรมกู้ภัยในจังหวัดต่างๆ เจ้าตัวระบุว่า "ในอดีตเราเห็นถึงปัญหาว่า ประชาชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ยังไม่รู้จัก ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉินขั้นพื้นฐาน หรือรู้ก็รู้แบบผิดวิธี ยกตัวอย่างการเคลื่อนย้ายผู้ป่วยฉุกเฉิน ที่ต้องทำอย่างไรไม่ให้ผู้ป่วยบาดเจ็บก่อนถึงโรงพยาบาล การปฐมพยาบาลเบื้องต้น

พี่อ้น หรือ นิติศักดิ์ บุญมานนท์

หากเกิดบาดแผลขึ้น รวมถึงการช่วยเหลือคนจมน้ำอย่างถูกวิธี เพื่อให้การทำงานของทีมกู้ภัยทำงานได้ง่ายขึ้น จึงเกิดแนวคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชนในพื้นที่มีส่วนร่วม

สุดท้ายความคิดนี้จึงตกผลึก และมุ่งตรงไปยังการให้ความรู้ "ระบบบริการการแพทย์ฉุกเฉิน" ขั้นพื้นฐานให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชนเป็นสำคัญ เนื่องจากมีความสะดวก มีความเป็นกลุ่มก้อนเพราะอยู่ในสถานศึกษา และที่สำคัญเมื่อเด็กได้เรียนรู้องค์ความรู้นี้แล้ว ยังสามารถถ่ายทอดไปยังผู้ปกครองรวมไปถึงผู้ใกล้ชิดได้ด้วย

เมื่อเรามีจุดมุ่งหมายการให้ความรู้คือ "กลุ่มเยาวชน" แล้ว เราจึงคิดหายานพาหนะเคลื่อนที่ ที่สามารถขนย้ายอุปกรณ์กู้ชีพฉุกเฉินเพื่อไปสาธิตให้กับสถานศึกษาภายในจังหวัด ซึ่งโชคดีมีผู้บริจาครถบัสมา 1 คัน สามารถเคลื่อนย้ายอุปกรณ์กู้ชีพฉุกเฉินเพื่อทำการสาธิตแบบครบครัน

พร้อมกับมีทีมงานประจำรถไปด้วยประมาณ 4-5 คน รวมเจ้าหน้าที่ ที่ทำการหมุนเวียนกันให้ความรู้ประมาณ 57 คน แล้วแต่ใครสะดวกหรือมีเวลาว่าง

ทั้งนี้เราไม่ได้จำกัดเฉพาะสถานศึกษาเท่านั้น หากมีหน่วยงานไหนประสานมา เราก็พร้อมที่จะออกพื้นที่เพื่อนำความรู้ไปเผยแพร่ให้ด้วยครับ  

ทีมข่าว เว็บไซต์สุขภาพ Medhub news.com รายงาน ขอแสดงความชื่นชมกับการแพทย์ฉุกเฉินด้วยนะคะ  

"ภูผา วันเฉลิม" กู้ภัยสว่างเมธาธรรม มองว่าเป็นเรื่องที่ดี ทำให้สังคมเกิดความประทับใจในระบบการแพทย์ฉุกเฉินดีขึ้น 

 

 เครดิตภาพจาก Watcharakorn PacK-Sdm

13 มีนาคม 2562

ผู้ชม 6139 ครั้ง

Engine by shopup.com