ดูชัดๆ หมึกสายวงน้ำเงิน หมึกบลูริง Blue-ringed octopus พิษเรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน รุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า

บทความ

ดูชัดๆ หมึกสายวงน้ำเงิน หมึกบลูริง Blue-ringed octopus พิษเรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน รุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า

ข่าว เตโตรโดท็อกซิน หมึกสายวงน้ำเงิน หรือ หมึกบลูริง เว็บไซต์สุขภาพ ข่าวสาธารณสุข ท่องเที่ยว วาไรตี้ -  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

เตือนระวังอันตรายจากหมึกสายวงน้ำเงินหรือหมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก มีสารพิษเรียกว่าเตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งเป็นพิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า

รุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า ทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส รับประทานเพียงแค่ 1 มิลลิกรัมก็ทำให้เสียชีวิตได้ เน้นย้ำห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด

ถึงแม้จะนำไปทำให้สุกด้วยความร้อน ปิ้ง ย่าง ทอดหรือต้มก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ และห้ามจับหรือสัมผัสเพราะหากถูกกัดก็อาจได้รับพิษเช่นกัน

News Update วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม 2563 - ข่าวล่าสุดวันนี้ นายแพทย์ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข รักษาราชการแทนอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า หมึกสายวงน้ำเงินหรือหมึกบลูริง (Blue-ringed octopus) เป็นหมึกยักษ์จำพวกหนึ่งแต่มีขนาดเล็กตัวเต็มวัย

มีขนาดลำตัว ประมาณ 4-5 เซนติเมตร มี 8 หนวด แต่ละหนวดยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร หมึกสายวงน้ำเงินมีจุดเด่นที่ต่างจากหมึกทั่วไปตรงที่มีลวดลายเป็นวงแหวนสีน้ำเงิน กระจายตามลำตัวและหนวด ซึ่งจะตัดกับสีของลำตัวที่ออกเป็นสีเหลืองน้ำตาลอย่างชัดเจน  

วงแหวนสีน้ำเงินเหล่านี้สามารถเรืองแสงได้เมื่อถูกคุกคาม ทั่วโลกพบหมึกสายวงน้ำเงินทั้งหมดประมาณ 4 ชนิด สำหรับในประเทศไทยมีรายงานการพบหมึกสายวงน้ำเงินสกุล Hapalochlaena maculosa ในน่านน้ำไทยทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและอ่าวไทย หมึกสายวงน้ำเงินมีสารพิษที่มีความร้ายแรงมากผสมอยู่ในน้ำลาย ผู้ที่ถูกกัดอาจตายได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง

จึงนับเป็นหนึ่งในสัตว์น้ำ ที่มีพิษร้ายแรงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สารพิษของหมึกสายวงน้ำเงินนั้น เรียกว่า เตโตรโดท็อกซิน (Tetrodotoxin) ซึ่งเป็น พิษชนิดเดียวกับที่พบในปลาปักเป้า

ทั้งนี้ ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่าเตโตรโดท็อกซิน ที่พบทั้งในหมึกสายวงน้ำเงินและปลาปักเป้าไม่ได้ถูกสร้างจากภายในตัว ของพวกมันเอง

เพราะสัตว์เหล่านี้ไม่มียีนที่ควบคุมการสร้างพิษนี้ มีการศึกษาพบว่าพิษนี้สร้างจากเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น แบคทีเรียในวงศ์ Vibrionaceae, Pseudomanas sp., Photobacterium phosphorium ทั้งนี้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่อนุญาตให้มีการนำเข้าตามบัญชีแนบท้ายพระราชกฤษฎีกา “ห้ามมิให้นำสัตว์น้ำบางชนิดเข้ามาในราชอาณาจักร พ.ศ.2547”

เตโตรโดท็อกซิน เป็นพิษที่มีผลต่อระบบประสาท โดยปริมาณที่มนุษย์รับประทานแล้วเสียชีวิตคือประมาณ 1 มิลลิกรัม ซึ่งมีความรุนแรงกว่าไซยาไนด์ถึง 1,200 เท่า ยิ่งไปกว่านั้นพิษนี้ทนความร้อนได้สูงถึง 200 องศาเซลเซียส ดังนั้นจึงไม่สามารถทำลายพิษได้ด้วยการใช้ความร้อนปกติในการปรุงอาหาร นอกจากนี้ยังไม่มียาแก้พิษ ผู้ป่วยที่ได้รับพิษเตโตรโดท็อกซินมีอัตราตาย สูงถึง 50-60 เปอร์เซ็นต์ และในกรณีที่ถูกหมึกสายวงน้ำเงินกัด ซึ่งพิษที่เกิดจากกัดจะเกิดอย่างรวดเร็วภายใน 5 นาทีหลังถูกกัด เริ่มจากมีอาการชาบริเวณริมฝีปาก ลิ้น ต่อมาชาบริเวณใบหน้า แขนขาและเป็นตะคริวในที่สุด น้ำลายไหล คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย ซึ่งอาการปวดท้องจะเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นกล้ามเนื้อจะเริ่มทำงานผิดปกติ อ่อนแรง ในผู้ป่วยที่ได้รับพิษ ปริมาณมากระบบประสาทส่วนกลางจะไม่ทำงาน หายใจไม่ออกเนื่องจากกล้ามเนื้อกะบังลมและหน้าอกไม่ทำงาน ทำให้ไม่สามารถ นำอากาศเข้าสู่ปอดได้ ผู้ป่วยจะเสียชีวิตภายใน 4-6 ชั่วโมง แต่ก็มีรายงานการเสียชีวิตเร็วที่สุดหลังจากได้รับพิษไปเพียง 20 นาทีเท่านั้น

 

นายแพทย์ศุภกิจ กล่าวต่อว่า การปฐมพยาบาลเบื้องต้นต้องหาวิธีนำอากาศเข้าสู่ปอด เช่น เป่าปาก จากนั้นต้องรีบนำส่งแพทย์โดยด่วน เพื่อใช้เครื่องช่วยหายใจ ถ้าช่วยชีวิตเป็นผล ผู้ป่วยจะฟื้นเป็นปกติภายใน 24 ชั่วโมง เว้นแต่ว่าจะขาดอากาศนานเกินไปจนทำให้สมองตาย สำหรับผู้ที่ได้รับพิษจากหมึกสายวงน้ำเงินกัด ควรทำการปฐมพยาบาลในทันทีหลังถูกกัด

โดยใช้เทคนิคการกดรัดและตรึงอวัยวะส่วนนั้นไม่ให้เคลื่อนไหว เพื่อทำให้พิษไม่แพร่กระจายเข้าระบบไหลเวียนโลหิต โดยใช้ผ้าพันจากอวัยวะส่วนปลายไล่มาจนถึงบริเวณเหนือแผลที่ถูกกัด ถ้าเป็นบริเวณแขนหรือขาให้ใช้วัสดุไม้ดามไว้ด้วย ถ้าถูกกัดบริเวณลำตัวในกรณีที่พันได้ให้พันด้วย แต่อย่าให้แน่นจนทำให้หายใจลำบาก และไม่ควรกรีดปากแผลที่ถูกกัด เพราะจะทำให้พิษกระจายมากขึ้น เทคนิคนี้เป็นการซื้อเวลาเพื่อให้ผู้ป่วยมีโอกาสรอดชีวิตมากขึ้นก่อนนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล

“กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มีห้องปฏิบัติการพิษวิทยาที่สามารถตรวจสอบความเป็นพิษของหมึกสายวงน้ำเงินได้ แต่ที่ผ่านมา ยังไม่เคยมีการส่งตรวจ ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภค

จึงได้จัดทำสื่อเผยแพร่ในรูปแบบอินโฟกราฟฟิคที่เข้าใจง่ายและเผยแพร่ผ่านในหลายช่องทาง เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงแหล่งข้อมูลความรู้ที่จะนำไปใช้ในการสังเกตลักษณะทางกายภาพของหมึกสายวงน้ำเงินที่มีจุดเด่นที่สำคัญสีสันลำตัว คล้ายวงแหวนสีน้ำเงินหรือสีม่วงและสามารถเรืองแสงได้เมื่อคุกคามหรือรบกวน ดังนั้นห้ามนำมารับประทานเด็ดขาด ถึงแม้จะนำไปทำให้สุกด้วยความร้อน ปิ้ง ย่าง ทอดหรือต้มก็ไม่สามารถทำลายพิษได้ และห้ามจับหรือสัมผัสเพราะหากถูกกัดก็อาจได้รับพิษเช่นกัน” นายแพทย์ศุภกิจ กล่าว

04 ธันวาคม 2563

ผู้ชม 2017 ครั้ง

Engine by shopup.com