google doodle โรงละครแห่งชาติ 23 ธันวาคม google ยกย่อง โรงละครแห่งชาติ The National Theatre ร่วมเฉลิมฉลอง วันโรงละครแห่งชาติไทย
google doodle โรงละครแห่งชาติ 23 ธันวาคม google ยกย่อง โรงละครแห่งชาติ The National Theatre ร่วมเฉลิมฉลอง วันโรงละครแห่งชาติไทย
ต่างมุมมอง สงครามความทรงจำ มรดกคณะราษฎรที่สูญหาย 23 ธันวาคม google ยกย่อง โรงละครแห่งชาติ สร้าง google doodle โรงละครแห่งชาติ นักประวัติศาสตร์ ชี้ ศาลาเฉลิมไทย ไร้รสนิยม
โดย Author ธนกร ภู่ทองคำ Medhubnews Online
Photographer Google doodle เผยแพร่ 3 ธต. 2563, 18:12 น.
ปรับปรุงล่าสุด....
google doodle โรงละครแห่งชาติ
News Update วันพุธที่ 23 ธันวาคม 2563 - อย่างที่รู้ๆ กันดีว่า กูเกิล ดูเดิล ( Google Doodle) เป็นการปรับเปลี่ยนชั่วคราว บนหน้าโฮมเพจของกูเกิล
ซึ่งเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง หรือ รำลึกถึงเหตุการณ์ เทศกาล หรือ วันคล้ายวันเกิดของบุคคลสำคัญต่าง ๆ
ส่วนใครยังไม่ทราบ google doodle คืออะไร ? กูเกิล ดูเดิล ( Google Doodle) เป็นการปรับเปลี่ยนชั่วคราว บนหน้าโฮมเพจของกูเกิล
google doodle หรือ ดูเดิล Doodle ช่วงแรก ถูกออกแบบโดย 2 ผู้ก่อตั้งบริษัทกูเกิลคือ แลร์รี เพจ และ เซอร์เกย์ บริน เมื่อพวกทั้งสองคน เข้าร่วมเทศกาลเบิร์นนิงแมน Burning Man 1998
ดูเดิล Doodle ต่อมา ส่วนใหญ่เป็นผลงานของเดนนิส ฮวาง ( Dennis Hwang) และทีมงานที่เรียกตัวเองว่า "ดูเดลอส์" ( Doodlers )
ในช่วงแรก ดูเดิลจะเป็นเพียงภาพนิ่ง จนกระทั่งใน ค.ศ. 2010 ดูเดิลที่รำลึกถึงวันคล้ายวันเกิดของไอแซก นิวตัน
เป็นดูเดิลแรกที่เป็นแอนิเมชัน หลังจากนั้นไม่นาน ดูเดิลที่เฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 30 ปีของเกม แพ็ก-แมน ก็เป็นดูเดิลแรกที่เป็นแบบมีปฏิสัมพันธ์ หรือ interactive กับผู้ใช้
นอกจากนี้ กูเกิล ( Google ) ยังมี เกม Google Doodle และ เกม google doodle ยอดนิยม อีกด้วย
เช่น เกมgoogleฟรี, Google Doodle game, Google Doodle Halloween, เกม Google Doodle และเกม google doodle ยอดนิยม คือ Google Doodle Halloween
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า กูเกิล ดูเดิล ( Google Doodle) 23 ธันวาคม ค.ศ. 2020
เป็นการ เฉลิมฉลองวันโรงละครแห่งชาติ หรือ โรงละครแห่งชาติ และเป็นการร่วมเฉลิมฉลอง โรงละครแห่งชาติไทยด้วย
โรงละครแห่งชาติ ( The National Theatre) เป็นโรงละครแห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งอยู่ ในบริเวณพระราชวังบวรสถานมงคลหรือ พระบวรราชวัง (เดิม) ข้างสะพานสมเด็จพระปิ่นเกล้า แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
จอมพลป.พิบูลสงคราม ประสงค์ให้ ศาลาเฉลิมไทย เป็น โรงละครแห่งชาติ ก่อตั้งในปี 2483
ประวัติศาสตร์ ได้จารึกว่า ก่อนจะมี โรงละครแห่งชาติ ( The National Theatre) ณ วันที่ 23 ธันวาคม 2508
ประเทศไทย ได้มี โรงภาพยนตร์ ศาลาเฉลิมไทย ในปี 2483 สร้างขึ้นด้วยความประสงค์ของจอมพลป.พิบูลสงคราม
ที่จะให้มีโรงละครแห่งชาติ เปิดตัวอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2483 ก่อนจะถูกรื้อถอนในปี 2532
โดยคณะรัฐมนตรีรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ อ้างเหตุผลว่าตัวอาคารศาลาเฉลิมไทยบดบังทัศนียภาพโลหะปราสาทและวัดราชนัดดารามวรวิหารที่อยู่ด้านหลัง
ซึ่ง กลายเป็น มรดกคณะราษฎรที่สูญหาย หรือ มรดกทางสถาปัตยกรรมที่ซ่อนนัยแห่งการเมือง
โดยนักประวัติศาสตร์ มองว่า เหตุการณ์เมื่อย่ำรุ่งของวันที่ 24 มิถุนายน 2475 อาจนับได้ว่าเป็นจุดแบ่งประวัติศาสตร์ไทยออกเป็น 2 ส่วน
เป็นสมัยเก่าและสมัยใหม่ เป็นยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์และยุคประชาธิปไตย
แต่เหตุการณ์ดังกล่าวกลับเลือนหายไปจากสารบบเหตุการณ์ประวัติศาสตร์
ตามที่สอนกันในวิชาสังคมศึกษา มรดกต่างๆ ที่คณะราษฎรทิ้งไว้ก็ค่อยๆ ถูกทุบทำลาย
ภายหลัง การล่มสลายของคณะราษฎร มี บทความของ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ในหนังสือพิมพ์สยามรัฐที่วิจารณ์ คณะราษฎร ว่าไร้รสนิยม และ ไม่มีความรักในศิลปะวัฒนธรรมไทย
กระทั่ง กรมศิลปากร รับโอนกิจการ โขน ละคร และดนตรี จากสำนักพระราชวัง มาดำเนินการตั้งแต่ปี 2475
มีแต่โรงแสดงของกรมศิลปากร ซึ่งเป็นหอประชุมเก่าของกรมศิลปากร เป็นอาคารสร้างด้วยไม้หลังคามุงด้วยสังกะสี
ตั้งอยู่ด้านขวาของพระที่นั่งศิวโมกขพิมานอันเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล ได้ปรับปรุงหอประชุมขึ้นใหม่ ต่อมาได้มีการเปลี่ยนชื่อ
จาก หอประชุมกรมศิลปากร เป็น "โรงละคอนศิลปากร" และเกิดเหตุเพลิงไหม้เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2503
โรงละครแห่งชาติ เริ่มสร้างในปีงบประมาณ พ.ศ. 2504 ถึง พ.ศ. 2508 โดยใช้งบประมาณค่าใช้จ่ายรวมเป็นเงินทั้งสิ้น 56,484,465 บาท
โดยมี นายอิสสระ วิวัฒนานนท์ เป็นสถาปนิก และศาสตราจารย์ ดร.รชฎ กาญจนะวณิชย์ เป็นวิศวกรผู้ควบคุม
ต่อมามีการดัดแปลงแก้ไข โดยมีหม่อมเจ้าสมัยเฉลิม กฤดากร เป็นสถาปนิกผู้แก้ไข โดยใช้งบประมาณจำนวน 41 ล้านบาท
เมื่อการก่อสร้างดำเนินมาได้ระยะหนึ่ง ทางคณะกรรมการก่อสร้างโรงละคร ได้กราบบังคมทูลเชิญเสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรโรงละครแห่งชาติที่กำลังก่อสร้าง
ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเมื่อวันที่ 9 มกราคม 2507 และโปรดเกล้าพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัยแนะนำแก้ไขเพิ่มเติมหลายประการ
หลังจากนั้นโรงละครแห่งชาติแล้วเสร็จ และทำพิธีเปิดเป็นทางการได้ในวันที่ 23 ธันวาคม 2508 โดยมี จอมพล ถนอม กิตติขจร นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ประกอบพิธีเปิด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตรการแสดงนาฏศิลปะไทย
ในวโรกาสพิธีเปิดโรงละครแห่งชาติ ในคืนวันที่ 23 ธันวาคม 2508 ซึ่งได้มีการจัดแสดงรวม 3 ชุด
คือ 1.รำดอกไม้เงินดอกไม้ทองถวายพระพร 2.การแสดงละครเรื่องสังข์ศิลป์ชัย ตอนชุบสังข์ศิลป์ชัย 3.โขนเรื่องรามเกียรติ์ ชุด รามาวตาร ซึ่งนับเป็นปฐมฤกษ์ของการดำเนินกิจการโรงละครแห่งชาติตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
โรงละครแห่งชาติ เป็นส่วนราชการอยู่ในบังคับบัญชาของ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม มีฐานะเป็นกลุ่มงาน มีการบริหารงานแบบไม่หวังผลกำไร
ดำเนินงานภายใต้การกำกับดูแลของ สำนักการสังคีต นาย ปกรณ์ พรพิสุทธิ์ ผู้อำนวยการสำนักการสังคีต อาจารย์ วันทนีย์ หรือ ครูน้อย ม่วงบุญ ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านโขน-ละคร
อาจารย์สุรเชษฐ์ หรือ หมึก เฟื่องฟู หัวหน้ากลุ่มนาฏศิลป์ ปัจจุบันโรงละครแห่งชาติ มีอยู่รวมทั้งหมดจำนวน 3 แห่ง
โดยอยู่ในส่วนกลาง 1 แห่ง และอยู่ในส่วนภูมิภาค 2 แห่ง มีฐานะเป็นฝ่ายในสังกัดโรงละครแห่งชาติ
ส่วนกลาง โรงละครแห่งชาติ (ส่วนกลาง) ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 2 ถนนราชินี แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร 10200
ส่วนภูมิภาค โรงละครแห่งชาติภาคตะวันตก จังหวัดสุพรรณบุรี โรงละครแห่งชาติภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา โรงละครแห่งชาติภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช
เรามาดูความทรงจำของฝรั่ง เช่น Google ได้จดจำอะไรบ้าง ? Doodle วันนี้ เป็นการเฉลิมฉลองโรงละครแห่งชาติไทยซึ่งเป็นสถานที่แสดงศิลปะอันโดดเด่นซึ่งตั้งอยู่ในเมืองหลวงของกรุงเทพฯ
โรงละครแห่งนี้เปิดทำการในวันนี้ในปี พ.ศ. 2508 โดยมีพิธีเปิดการแสดงนาฏศิลป์ไทยต่อหน้าผู้ชม
ซึ่งรวมถึงสมาชิกของราชวงศ์ซึ่งเป็นงานทางวัฒนธรรมครั้งแรกที่จัดขึ้นที่นั่นในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา
โรงละครแห่งชาติก่อตั้งขึ้นครั้งแรกในปี 2475 เพื่อเป็นพื้นที่สำหรับการแสดงของศิลปิน
เพื่อแบ่งปันมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายของดนตรีและการเต้นรำของประเทศไทยกับผู้ชม
จุดประสงค์อีกประการหนึ่งของโรงละครคือเพื่อให้คนในท้องถิ่นได้แลกเปลี่ยนขนบธรรมเนียมทางศิลปะ
กับผู้เยี่ยมชมจากต่างประเทศเพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เป็นเวลาสามทศวรรษที่โรงละครแห่งนี้ดำเนินการโดยกรมศิลปากรของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และในปี 2504 ถึง 2508
ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งโรงละครได้จัดแสดงผลงานศิลปะไทยแบบต่างๆเช่นนาฏศิลป์ที่เรียกว่าโขน การแสดงที่ไม่เหมือนใครนี้มีนักเต้นสวมหน้ากาก
และเครื่องแต่งกายที่มีสีสันและผสมผสานองค์ประกอบที่หลากหลายเช่นดนตรีวรรณกรรมและงานฝีมือเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวจากมหากาพย์ของไทยที่เรียกว่ารามเกียรติ์
โรงละครแห่งชาติยังเป็นสถานที่จัดงานแสดงดนตรีรวมถึงการแสดงของวงดนตรีขนาดใหญ่แบบดั้งเดิม
และยังมีสถานที่สำหรับฟังก์ชั่นด้านการศึกษาเช่นการบรรยายศิลปะอีกด้วยสถานที่แห่งนี้เป็นสัญลักษณ์ของจินตนาการวัฒนธรรมและประเพณีที่ยั่งยืนสำหรับคนไทย
ทั้งหมดหรือ จะเป็น สงครามความทรงจำ แต่เหตุการณ์ๆ หลังวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ต่างชาติต้องศึกษาจาก คนเขียนประวัติศาสตร์
เคยสงสัยหรือไม่ว่า เหตุใดเรากลับจำไม่ได้ว่าเหตุการณ์วันที่ 6 ตุลาคม 2519 เกิดขึ้นได้อย่างไร เกิดอะไรขึ้นบ้าง
และเหตุใดเรากลับจำไม่ได้ว่าเกิดอะไรขึ้นในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 เกิดอะไรอีกบ้างต่อจากนั้น
ใครเป็นคนกำหนดว่าเราควรจำอะไร ไม่ควรจำอะไร ?
บรรณานุกรม google doodle โรงละครแห่งชาติ
ธงชัย วินิจจะกูล อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน สหรัฐอเมริกา
ธนาวิ โชติประดิษฐ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ศิลปะ คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร
ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช หนังสือพิมพ์สยามรัฐ
25 มกราคม 2564
ผู้ชม 4853 ครั้ง