ปี 2020 พยาบาลทำงานหนักมาก จนมีผู้อยากเป็น พยาบาล จิตอาสาช่วย covid-19 รางวัลศรีสังวาลย์ 2563 มอบแด่ ดร.กฤษดา แสวงดี - เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย

บทความ

ปี 2020 พยาบาลทำงานหนักมาก จนมีผู้อยากเป็น พยาบาล จิตอาสาช่วย covid-19 รางวัลศรีสังวาลย์ 2563 มอบแด่ ดร.กฤษดา แสวงดี - เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย

 แม้ว่า ปี 2020 พยาบาลจะทำงานหนักมาก แต่ผลสำรวจพบว่า สร้างแรงบันดาลใจ มีผู้อยากเป็น พยาบาล จิตอาสาช่วย covid-19 รางวัลศรีสังวาลย์ 2563 มอบแด่ ดร.กฤษดา แสวงดี - เอื้อมพร กาญจนรังสิชัย

พยาบาล โดย Author : พิมนภัส ภู่ทองคำ Medhubnews Online

Photographer : Google และ Nursing Division Ministry Of Public Health

เผยแพร่ 24 ม.ค. 2564, 12:01 น.

รางวัลศรีสังวาลย์ 2563News Update วันอาทิตย์ที่ 24 มกราคม 2564 - ข่าวล่าสุด ปี 2020 หรือ ปี  2563 คือปีที่โลกตกอยู่ภายใต้เงาการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

และ นับเป็นปีแห่งหายนะทางเศรษฐกิจของประเทศ และ ของโลกอย่างแท้จริง 

ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคโควิด-19 จะแพร่กระจายผ่านฝอยละอองเป็นหลัก ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อผู้ติดเชื้อไอ จาม หรือหายใจออก ฝอยละอองเหล่านี้มีน้ำหนักมากเกินกว่าจะลอยอยู่ในอากาศ และจะตกลงบนพื้นหรือพื้นผิวอย่างรวดเร็ว

คุณอาจติดเชื้อได้จากการหายใจเอาไวรัสเข้าสู่ร่างกายเมื่ออยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 หรือโดยการสัมผัสพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสแล้วสัมผัสตา จมูก หรือปากของตนเอง

อย่างไรก็ตาม ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า พบว่าการระบาดใหญ่ของโรคโควิด-19

คำถามที่ถูกค้นหาในปี 2020 มีมากกว่า 5 เท่าของปี 2019 คือคำถามอะไร ? 

ละอองการจามพุ่งไปได้ไกลแค่ไหน

คำว่า ละอองการจามพุ่งไปได้ไกลแค่ไหน นั่นเอง 

การแพร่เชื้อ โค วิด 19 โค วิด ติดต่อทางอากาศ หรือ เชื้อ โค วิ ค ในอากาศ ระยะ ไอ จาม 27 ฟุต หรือราว 8.2 เมตร

ละอองการจามพุ่งไปได้ไกลแค่ไหนทำให้มีผู้คนอยากเป็น พยาบาล มากยิ่งขึ้น เพราะเป็นผู้เสียสละ ความกล้าหาญของบุคลากรสาธารณสุขสร้างแรงบันดาลใจให้เราทุกคน คำค้นหาที่มาแรงที่สุด ซึ่งผู้คนอยากเป็นในปีของการแพร่ระบาดคือ พยาบาล 

นางกฤษดา แสวงดี 

นางกฤษดา แสวงดี นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข ได้ประกาศรายชื่อพยาบาลดีเด่นผู้ได้รับรางวัลศรีสังวาลย์ ประจำปี 2563

ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดของพยาบาลไทย โดยมีผู้รับรางวัลใน 2 สาขา คือ สาขาผู้นำการพยาบาลระดับนโยบาย ได้แก่ นางกฤษดา แสวงดี 

างสาวเอื้อมพร กาญจนรังสิชัย

นางสาวเอื้อมพร กาญจนรังสิชัยและสาขาการพยาบาลในสถานบริการ ได้แก่ นางสาวเอื้อมพร กาญจนรังสิชัย ซึ่งทั้ง 2 ท่านได้ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการรางวัลศรีสังวาลย์ ตามกระบวนการและเกณฑ์การคัดเลือก จากผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อ 19 ท่าน จากองค์กรต่าง ๆทั้งภาครัฐและเอกชน

รางวัลศรีสังวาลย์ เป็นรางวัลที่กระทรวงสาธารณสุข ได้ร่วมกับคณะกรรมการรางวัลศรีสังวาลย์ องค์กรวิชาชีพพยาบาล สภาการพยาบาล

จัดทำขึ้นเพื่อมอบให้แก่พยาบาลที่มีผลงานพัฒนาวิชาชีพดีเด่นระดับประเทศ ทั้งด้านบริการ วิชาการ และบริหาร ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา

ประกอบด้วย 3 สาขา ได้แก่ สาขาผู้นำการพยาบาลระดับนโยบาย สาขาการพยาบาลในสถานพยาบาล และสาขาการพยาบาลในชุมชน

โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เชิญพระนามาภิไธย “ศรีสังวาลย์” เป็นชื่อรางวัล และให้เชิญพระอักษรพระนามาภิไธย “ส.ว.” ประดิษฐานบนโล่รางวัลมอบแก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือก

เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีที่มีต่อวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์มาโดยตลอดพระชนม์ชีพ

การค้นหา คำว่า วิธีขอบคุณ สูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ 

วิธีขอบคุณนางกฤษดา แสวงดี ผู้ได้รับรางวัลสาขาผู้นำการพยาบาลระดับนโยบาย ปัจจุบันดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาระดับกระทรวง นักวิเคราะห์นโยบายและแผนทรงคุณวุฒิ ด้านแผนยุทธศาสตร์สาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข

ผลงานเด่น อาทิ จัดทำแผนความต้องการกำลังคนสายงานพยาบาลของหน่วยบริการสุขภาพ สังกัดกระทรวงสาธารณสุข ปี 2560 – 2579 และข้อเสนอต่อรัฐมนตรี ในการกำหนดกรอบอัตรากำลังสายงานการพยาบาล

กำหนดตำแหน่งจ้างงานและการวางแผนการผลิตผู้ช่วยพยาบาลแก้ปัญหาขาดแคลนพยาบาล จัดทำระบบและออกระเบียบการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงานแก่บุคลากรในโรงพยาบาลต่างๆ

จัดทำแนวทางการจัดอัตรากำลังพยาบาลใช้เป็นคู่มือบริหารจัดการและวางแผนอัตรากำลัง กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลทุกแห่งในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นต้น

ส่วนคำว่า วิธีบริจาค มีการค้นหาเพิ่มสองเท่า มากกว่า วิธีเก็บเงิน 

วิธีบริจาคนางสาวเอื้อมพร กาญจนรังสิชัย ผู้ได้รับรางวัลสาขาการพยาบาลในสถานบริการ อดีตพยาบาลวิชาชีพเชี่ยวชาญ หัวหน้าพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา มีผลงานเด่น

อาทิ การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลทางคลินิกและออกแบบระบบบริการพยาบาลในกลุ่มโรคเฉพาะทางที่มีความยุ่งยากซับซ้อน

ควบคุม กำกับ นิเทศงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน นำมาพัฒนาปรับปรุงรูปแบบระบบการบริการพยาบาลอย่างต่อเนื่อง

จัดโครงการและแผนพัฒนารูปแบบบริการที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้ป่วยและญาติ จัดโครงสร้างองค์กรที่เอื้อต่อการศึกษาวิจัยทางการพยาบาล นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนางานและใช้ข้อมูลสารสนเทศทางการพยาบาล

ผลการวิจัยการพัฒนารูปแบบการดูแลผู้ป่วยสมองขาดเลือดเฉียบพลันที่ได้รับยาละลายลิ่มเลือด

สแกน QR โค้ดนี้ เข้าเพจ sasook ติดตามเรื่องของเว็บไซต์ medhubnews.com โฉมใหม่ 

โครงการพัฒนาระบบการจำแนกประเภทผู้ป่วยในหอผู้ป่วยหนัก โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นของกระทรวงสาธารณสุขในปี 2560 เป็นต้น

03 กุมภาพันธ์ 2564

ผู้ชม 2421 ครั้ง

Engine by shopup.com