รู้ยัง เหตุผลที่ สิงโตเดอะสตาร์ ต้องฟิตหุ่น กล้ามแน่น ขนาดนี้ เหตุเรียนแพทย์เวชศาสตร์การบิน Aviation Medicine ดูแลผู้ทำการในอากาศ 

บทความ

รู้ยัง เหตุผลที่ สิงโตเดอะสตาร์ ต้องฟิตหุ่น กล้ามแน่น ขนาดนี้ เหตุเรียนแพทย์เวชศาสตร์การบิน Aviation Medicine ดูแลผู้ทำการในอากาศ 

 หลายคนเข้าใจผิด สิงโต เดอะสตาร์ แฟนหนุ่ม สิงโต เดอะสตาร์ เป็นไหม รู้ยัง เหตุผลที่ สิงโตเดอะสตาร์ ต้องฟิตหุ่น เหตุเรียนแพทย์เวชศาสตร์การบิน Aviation Medicine

Author : Medhubnews Online

Photographer : สิงโตเดอะสตาร์ ig @singtosaharat 

เผยแพร่ครั้งแรก วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, 00 :30 น.

ปรับปรุงล่าสุด..

News Update วันอังคารที่ 2 กุมภาพันธ์ 2564, - ข่าวล่าสุด : ภาวะ Hypoxia หรือ ภาวะ พร่อง ออกซิเจน เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณออกซิเจนในเนื้อเยื่อต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

โดยมักเป็นสัญญาณที่แสดงถึงความผิดปกติของระบบหายใจ หรือ ระบบไหลเวียนโลหิต ผู้ป่วยมักมีอาการบ่งชี้

เช่น ผิวหนังซีดหรือเป็นสีเขียว มึนงง ไอ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว เป็นต้น  

โรค Hypoxia หรือ ภาวะ พร่อง ออกซิเจน  ผู้ที่เสี่ยงที่สุด คือ ผู้ทำการในอากาศ  นั้นหมายถึง  นักบิน  แอร์โฮสเตส  สจ๊วต  ช่างเครื่อง ฯลฯ

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า สิ่งที่หลายๆ คนเข้าใจผิด

เหตุผลที่ สิงโตเดอะสตาร์ ต้องฟิตหุ่น กล้ามแน่น ทำให้เหมือน นายแบบกางเกงใน หรือ เกย์หมี ในฟิตเนส

บางคนถามว่า สิงโต เดอะสตาร์ แฟนหนุ่ม ? สิงโต เดอะสตาร์ เป็นไหม ?

วันนี้มาเฉลยกันว่า  สิงโตเดอะสตาร์ เรียนเกี่ยวกับ เวชศาสตร์การบิน หรือ แพทย์เวชศาสตร์การบิน Aviation Medicine ต้องรู้ ผลกระทบด้านสรีรวิทยาการบิน

เวชศาสตร์การบิน คือ วิชาที่ว่าด้วยการที่มนุษย์ขึ้นทําการบินกับอากาศยานแล้วมีผลกระทบกับ การทํางานของระบบต่าง ๆ ในร่างกาย

ซึ่งเป็นผลจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปเนื่องมาจากการบิน เช่น ที่ระยะ สูงขึ้นไปความหนาแน่นของอากาศ ความกดบรรยากาศ และอุณหภูมิจะลดต่ําลง แรงเนื่อง จากอัตราเร่ง การหลง สภาพการบิน เป็นต้น

เวชศาสตร์การบิน เรียนรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงการทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายซึ่งเป็นผลกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป

เนื่องมาจากการบิน เช่น ที่ระยะสูง ความหนาแน่นของอากาศ และความกดบรรยากาศจะลดลงอุณหภูมิจะลดต่ำลงเมื่อสูงขึ้นไป

ตลอดจนผลจากการเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในทิศทางที่ไร้ขีดจำกัดทั้งสามมิติทำให้เกิดอาการหลงสภาพการบิน เป็นต้น

ผลกระทบที่สำคัญและควรให้ความสนใจเป็นพิเศษ คือ ภาวะพร่องออกซิเจน ผลจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศ การหลงสภาพการบิน และผลจากอัตราเร่ง

หากเป็น แพทย์เวชศาสตร์การบิน จะรู้อาการ คือ สิ่งที่เกิดขึ้นโดยตนเองรู้สึกได้ เช่น มึนงง วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ ร้อน ๆ หนาว ๆ วูบวาบ

ส่วน สิ่งที่เกิดขึ้นในผู้อื่นสามารถสังเกตหรือตรวจพบได้ เช่น หายใจเร็วและลึกขึ้น เขียวคล้ำ สับสน การทำงานของกล้ามเนื้อไม่ประสานกันและหมดสติ เป็นต้น

ผลจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศ  คือ การเปลี่ยนแปลงด้านสรีรวิทยา ซึ่งเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความกดบรรยากาศ 

โดยที่เมื่อทำการบินสูงขึ้นไปความกดบรรยากาศจะลดลงเป็นลำดับทำให้ก๊าซมีปริมาตรขยายตัวขึ้นในทางกลับกันเมื่อบินลงความกดบรรยากาศก็จะเพิ่มขึ้นเป็นลำดับทำให้ก๊าซมปริมาตรหดตัวลง

ผลกระทบที่สำคัญ  ก๊าซ ซึ่งขังอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่มีลักษณะเป็นโพรงหรือเป็นช่องทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น แน่นท้อง เนื่องจากการขยายตัวของก๊าซในกระเพาะอาหารและลำไส้ในขณะที่บินสูงขึ้นไป

ปวดหู เนื่องจากการถ่ายเทอากาศซึ่งมีการขยายตัวและหดตัวในช่องหูชั้นกลางเป็นไปไม่สะดวก ดังนั้นเยื่อแก้วหูจึงถูกดันให้โป่งออกหรือเข้าในขณะทำการบินขึ้นและลงทำให้เกิดอาการปวดหู  ในรายที่รุนแรงแก้วหูอาจฉีกขาดได้

ปวดไซนัส เกิดขึ้นในทำนองเดียวกันกับอาการปวดหูโดยที่รูเปิดของโพรงไซนัสเกิดการอุดตันขึ้น ส่วนใหญ่เกิดจากการอักเสบของไซนัส

ผลกระทบเนื่องจากก๊าซซึ่งละลายอยู่ในของเหลวต่าง ๆ ในร่างกาย เมื่อขึ้นไปสู่ที่สูงมาก ๆ ก๊าซเหล่านี้จะคืนตัวกลับออกมาเป็นฟองก๊าซทำให้เกิดอาการต่าง ๆ เช่น 

ปวดข้อเมื่อเกิดมีฟองก๊าซหลุดออกมาจากน้ำไขข้อเข้าไปรบกวนการเคลื่อนไหวของข้อต่าง ๆ เช่น ข้อเข่า ข้อศอก เป็นต้น 

เจ็บหน้าอกเมื่อมีฟองก๊าซหลุดแทรกเข้าไปอยู่ตามผนังหลอดลม ทำให้มีอาการปวดแสบปวดร้อนและไอแห้ง ๆ

อาการทางระบบประสาทเกิดขึ้นในกรณีที่มีฟองก๊าซจากเลือดหลุดไปอุดตันในหลอดเลือดของสมองหรือกดทับเนื้อสมอง 

เนื่องจากฟองก๊าซจากน้ำหล่อเลี้ยงสมองทำให้เกิดอาการตาพร่ามัว พูดไม่ชัด เป็นอัมพาตหรือหมดสติได้ 

อาการทางผิวหนังเกิดขึ้นเมื่อมีฟองก๊าซแทรกตัวอยู่ตามใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการร้อนหรือเย็นซู่ซ่า คันยุบยิบ

และ เวชศาสตร์การบิน ผลจากอัตราเร่ง การเปลี่ยนแปลงความเร็วที่มีทิศทางต่อหน่วยเวลา ผลจากอัตราเร่งที่

จะทำให้ผู้ที่อยู่บนเครื่องบิน มีการเคลื่อนไหวของร่างกาย โดยอัตราเร่งทำให้ร่างกายมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น จึงขยับเขยื้อนร่างกายได้ลำบากขึ้น

การหายใจ อวัยวะระบบหายใจ เช่น ปอด หัวใจ กะบังลมเคลื่อนไหวได้ลำบากขึ้น การไหลเวียนของเลือด ทำให้เลือดซึ่งเป็นของเหลวถูกดึงไปคั่งอยู่ที่ร่างกายส่วนล่างหรือถูกดันขึ้นไปคั่งบริเวณศีรษะทำให้เกิดอาการหมดสติได้

ทั้งหมดคือ ผลกระทบด้านสรีรวิทยาการบิน ที่ สิงโตเดอะสตาร์ เรียนจนเป็นว่าที่ หมอเวชศาสตร์การบิน หรือ แพทย์เวชศาสตร์การบิน Aviation Medicine

21 เมษายน 2564

ผู้ชม 2071 ครั้ง

Engine by shopup.com