สบส. จับมือมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ขับเคลื่อนยุว อสม. เป็นจิตอาสาดูแล ครอบครัว ชุมชน เร่งรณรงค์พฤติกรรมป้องกันโควิด 19 ในเด็กและเยาวชน
สบส. จับมือมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ขับเคลื่อนยุว อสม. เป็นจิตอาสาดูแล ครอบครัว ชุมชน เร่งรณรงค์พฤติกรรมป้องกันโควิด 19 ในเด็กและเยาวชน
สบส. จับมือมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ขับเคลื่อนยุว อสม. เป็นจิตอาสาดูแล ครอบครัว ชุมชน เร่งรณรงค์พฤติกรรมป้องกันโควิด 19 ในเด็กและเยาวชน
Author : Medhubnews Online
Photographer : สารนิเทศ
เผยแพร่ครั้งแรก วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564, 13 :30 น.
ปรับปรุงล่าสุด..
News Update วันพุธที่ 3 มีนาคม 2564, - ข่าวล่าสุด : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) จับมือมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ร่วมส่งเสริมและขับเคลื่อนยุว อสม. และอสศ. พัฒนาสุขภาพของประชาชน ร่วมกับ อสม. เคาะประตูบ้าน สร้างความเข้าใจวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 เยี่ยมบ้าน ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ และผู้ป่วยติดบ้านติดเตียง
ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวในพิธี
ลงนามความร่วมมือระหว่างกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ว่า จากการที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ ร่วมกับสำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ ได้ดำเนินการสำรวจการป้องกันตัวและความคิดเห็นของประชาชนไทยในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ระหว่างวันที่ 1 – 14 กุมภาพันธ์ 2564
โดยกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจ คือ เด็กและเยาวชนไทย อายุระหว่าง15-25 ปี โดยสรุปพบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจมีพฤติกรรมไม่ได้เว้นระยะห่างทางสังคมร้อยละ 2.9 ไม่ได้ล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่ หรือ เจลแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.3 ไม่รีบล้างมือ อาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้าเมื่อกลับถึงบ้านร้อยละ 4.3 และไม่ได้แจ้ง อสม. หรือไปพบเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/แพทย์ เมื่อตัวเอง คนในครอบครัว มีอาการไข้ ไอแห้งๆ เจ็บคอ มีน้ำมูก ร้อยละ 12.3 สำหรับความเห็นต่อการฉีดวัคซีนโควิด 19 พบว่า ผู้ตอบแบบสำรวจมีความต้องการรับวัคซีนร้อยละ 51.7 โดยเหตุผลที่ต้องการรับวัคซีนส่วนใหญ่ คือ การฉีดวัคซีนจะช่วยป้องกันการแพร่เชื้อไปยังบุคคล รอบข้างร้อยละ 70.5 ส่วนใหญ่มีความกังวลระดับปานกลางเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของการฉีดวัคซีนร้อยละ 41.4 และร้อยละ 37 คิดเห็นว่าประชาชนที่อยู่ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดควรได้รับวัคซีนเป็นกลุ่มแรก
“จากผลการสำรวจยังมีช่องว่างของพฤติกรรมในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่อาจส่งผลต่อการระบาดของโรคโควิด-19 จึงมีข้อเสนอแนะให้เพิ่มการรณรงค์ไปยังเครือข่ายเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะการสร้างความรู้ความเข้าใจ รวมถึงการสนับสนุนให้เด็กและเยาวชน
มีการเฝ้าระวังพฤติกรรมการป้องกันโรค อย่างต่อเนื่อง ตลอดช่วงการระบาดของโรคโควิด 19 สอดคล้องกับนโยบายการพัฒนายุวอาสาสมัครสาธารณสุข (ยุวอสม.)ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกำลังดำเนินการขับเคลื่อนให้เกิดขึ้นครอบคลุมทุกพื้นที่ โดยมุ่งเป้าที่ประเด็นสำคัญคือการมีพฤติกรรมใส่หน้ากาก อยู่ห่าง ล้างมือบ่อยๆ
ทั้งนี้ กรมสนับสนุนบริการสุขภาพได้ลงนามบันทึกความร่วมมือกับมูลนิธิครอบครัวพอเพียงในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพเด็กและเยาวชนให้เป็นแกนนำสุขภาพ ยุวอาสาสมัครสาธารณสุขและอาสาสมัครสาธารณสุขในสถานศึกษา (อสศ.) เพื่อให้เด็ก เยาวชน และประชาชนสามารถดูแลสุขภาพตนเอง มีจิตอาสา ดูแลครอบครัวชุมชนในการป้องกันโรคโควิด 19
รวมถึงการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเพื่อป้องกันโรคและภัยสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต” อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพกล่าว
ด้านนายแพทย์ภานุวัฒน์ ปานเกตุ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ความร่วมมือระหว่าง กรมสนับสนุนบริการสุขภาพและมูลนิธิครอบครัวพอเพียง ทำให้เกิดความร่วมมือ 2 ฝ่ายในการสร้างความเข้าใจในการดูแลสุขภาพประชาชน โดยใช้การมีส่วนร่วมของเด็ก เยาวชน ที่สนใจเรื่องสุขภาพ ในนามของยุวอสม. และอสศ. ร่วมกับ อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.) ลงพื้นที่เคาะประตูบ้านและชุมชน เยี่ยมบ้าน ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดบ้าน ติดเตียง สร้างความรู้ความเข้าใจในการป้องกันโรคโควิด 19 ให้ครอบคลุม
โดยเฉพาะประเด็นสำคัญในขณะนี้คือ การสร้างความเข้าใจอันดีต่อการใช้วัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อโควิด 19
“การลงพื้นที่ร่วมกันระหว่าง อสม. ยุวอสม. และเครือข่าย อสศ. จะมีการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานอย่างชัดเจน เพื่อนำผลการดำเนินงานดังกล่าว มาวางรูปแบบแนวทางในการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
เพื่อให้เกิดการพัฒนาระบบและขับเคลื่อนยุว อสม. อย่างเป็นรูปธรรมต่อไป” รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าว
03 มีนาคม 2564
ผู้ชม 674 ครั้ง