ปฏิวัติ !! วงการวารสารผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ “ฐานข้อมูลแบบเปิด” มิติใหม่การเข้าถึงผ่านช่องทางดิจิทัล
ปฏิวัติ !! วงการวารสารผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ “ฐานข้อมูลแบบเปิด” มิติใหม่การเข้าถึงผ่านช่องทางดิจิทัล
ก่อนหน้านี้ในแวดวงทางการแพทย์ มักจะใช้การตีพิมพ์ผลงานการวิจัยในรูปแบบวารสาร ล่าสุด ทีมข่าวเว็บไซต์สุขภาพ Medhubnews.com รายงานว่า OMICS International เปิดเผยข้อมูลในระดับสากล
จากวารสารวิชาการ ที่เปิดให้เข้าใช้งานได้ฟรีของ OMICS International กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ทางบริษัทเตรียมจัดงาน Open access week ในวันที่ 23-29 ต.ค. 2560 ณ เดือนต.ค. 2560
มีวารสารวิชาการแบบเปิด หรือ วารสารแบบเสรี (Open access journals) จำนวน 11,000 ฉบับที่เผยแพร่บทความ 2,322,691 ชิ้นต่อปี
ดังเช่นที่ปรากฏในฐานข้อมูล Google Scholar สิ่งนี้ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระบบการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการ
จากสิ่งพิมพ์แบบดั้งเดิม มาเป็นระบบดิจิทัล ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ยา และรายงานทางวิชาการอื่นๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
เอกสารวิชาการแบบเปิด (Open access publications) ที่สามารถเข้าถึงได้ทางออนไลน์นั้น มีบทบาทสำคัญในการยกระดับกระบวนการโดยรวมของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานแบบดั้งเดิม ซึ่งรวมถึงการแก้ไขและการทบทวนเนื้อหา
โดยระบบการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการแบบเปิดสามารถดึงดูดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหลายแห่ง ตลอดจนชุมชนวิทยาศาสตร์ อาจารย์และนักศึกษา รวมถึงบริษัทอิสระ ให้หันมาเผยแพร่และจัดเก็บผลงานของตนเองในรูปแบบดิจิทัล
ขณะที่ Dr. Srinubabu Gedela ซีอีโอของ OMICS International ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับพัฒนาการในปัจจุบันของการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการผ่านระบบดิจิทัล ว่า การเผยแพร่ผลงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์แบบเปิด (Open access scientific publishing) ช่วยทลายกำแพงทางภาษา
เนื่องจากผลการศึกษาทางวิทยาศาสตร์สามารถถูกนำไปแปลเป็นภาษาต่างๆ ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ หากผลงานนั้นได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิชาการแบบเสรี
Dr. Gedela กล่าวต่อไปว่า "อุตสาหกรรมของเรายังคงเดินหน้าพัฒนาต่อไป เพื่อเผยแพร่ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่มีความคุ้มค่า ราคาประหยัด หรือฟรี ให้สามารถเข้าถึงได้ในทุกมุมโลก
แม้ในพื้นที่ที่ห่างไกลมากที่สุดก็ตาม อย่างไรก็ตาม ข่าวปลอมและบล็อกปลอมจำนวนหนึ่งกำลังทำลายชื่อเสียงของวารสารแบบเปิด โดยรับหน้าที่เป็นหุ่นเชิดของบรรดาผู้จัดพิมพ์ผลงานแบบมีค่าใช้จ่าย"
ปัจจุบัน วารสารวิชาการแบบเปิดได้เข้ามาสร้างปรากฏการณ์ใหม่ในสังคม โดยผู้จัดพิมพ์ชั้นนำเกือบทุกรายต่างยึดมั่นหรือเลือกใช้นโยบาย Open access journals ซึ่งจะกลายเป็นตัวกำหนดทิศทางของการเผยแพร่และจัดเก็บเอกสารวิชาการต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ Dr. Gedela เชื่อมั่นว่า "นี่คือสัญญาณที่ดี" ด้วยแรงสนับสนุนจากแวดวงวิชาการ ไม่ว่าจะเป็นสถาบัน สมาคม หรือองค์กรกำกับดูแล ทุกภาคส่วนในชุมชนวิทยาศาสตร์จึงต่างหลั่งไหลกันเข้ามา หลังจากที่พวกเขาตระหนักถึงประโยชน์ที่ผู้คนจะได้รับจากวารสารที่เข้าถึงได้อย่างเสรีในรูปแบบดิจิทัล
สำหรับ OMICS International พร้อมด้วยพนักงานมากกว่า 2,500 คน ถือเป็นผู้บุกเบิกการเผยแพร่ข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์และสุขภาพ
รวมถึงการจัดงานเฉลิมฉลองสัปดาห์ Open access week ทั้งนี้ ด้วยความช่วยเหลือของนักวิทยาศาสตร์ผู้ทรงคุณวุฒิมากกว่า 50,000 คนที่คอยทำหน้าที่เป็นบรรณาธิการ OMICS International จึงสามารถเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
จากที่มีวารสารเพียง 10 ฉบับในปี 2552 สู่วารสารที่ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ (peer reviewed journals) กว่า 1,000 ฉบับในปี 2560 และมีฐานผู้อ่านเพิ่มขึ้นแตะ 30 ล้านราย
นอกจากนี้ OMICS Group ยังจัดการประชุมประจำปีด้านวิทยาศาสตร์และการแพทย์กว่า 3,000 รายการ ด้วยความร่วมมือกับพันธมิตรจากนานาประเทศ
09 มกราคม 2562
ผู้ชม 2556 ครั้ง