“ทีวีดิจิตอล” ลงทุนเป็นร้อยล้าน แต่สูญเปล่า อาจจะสิ้นสุดลง ? พฤติกรรมผู้บริโภค "ถอดปลั๊กทีวีจอใหญ่" ดูผ่านเว็บไซต์ สมาร์ทโฟน เว็บไซต์สุขภาพ,ข่าวสุขภาพ,ข่าวสาธารณสุข

บทความ

“ทีวีดิจิตอล” ลงเงินร้อยล้าน แต่สูญเปล่า อาจจะสิ้นสุดลง ? พฤติกรรมผู้บริโภค "ถอดปลั๊กทีวีจอใหญ่" ดูผ่านเว็บไซต์ สมาร์ทโฟน

"opinion medhubnews"  ทีมข่าวเว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานว่า จากข้อมูลเรตติ้งทีวี หรือค่าความนิยมเฉลี่ยของช่องรายการโทรทัศน์ภาคพื้นดิน ในเดือนกันยายน 2560 โดยนำมาจาก นีลเส็น ประเทศไทย

ช่องรายการที่ได้รับความนิยมสูงสุด 5 อันดับแรก เดือนกันยายน 2560 คือช่อง 7 HD  ช่อง 3HD  ช่อง Workpoint TV  ช่องโมโน 29 และ ช่อง 8

อย่างไรก็ดี ช่องรายการที่มีผู้ชมสูงสุด 10 อันดับแรก ยังเป็นช่องรายการประเภท Variety ที่นำเสนอคอนเทนต์ประเภทละคร ภาพยนตร์ ซีรีส์ และรายการวาไรตี้ เป็นหลัก

ขณะที่ช่องประเภทสาระ ข่าวสาร เรตติ้งแทบไม่ถึง 0.1 บางรายการยอดผู้ชมสูงสุดสามแสนคน ก็ดีใจจนน้ำตาไหลแล้ว

โดยช่องต่างๆ เหล่านี้ ประมูลด้วยจำนวนเงินมหาศาล และลงทุนอีกมากมาย บางรายที่บาดเจ็บ จนทิ้งไปสองช่องก็ยังต้องเก็บเนื้อเก็บตัว ไม่ออกงานเหมือนที่ผ่านมา

ก่อนหน้านี้ บางกลุ่มอ้างว่า กสทช.ประชาสัมพันธ์ไม่ดี ระบบการแจกคูปองห่วยแตก หรือ โครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน ( MUX ) ส่งสัญญาณไม่ชัดทำให้เรตติ้งไม่ดี

จนกระทั่งถึงวันนี้ ทั้งสองข้อดังกล่าว มีผู้ออกมาระบุว่า ผู้บริโภคจะเลือกเสพเนื้อหาจากรายการที่ดี แตกต่าง แปลกใหม่ สร้างสรรค์กว่าที่ผ่านมา   และ ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการจะรอคอยว่าเมื่อ กสทช.ปรับปรุง คนจะหันมาดูทีวีดิจิตอลกันมากขึ้น


สรุปแล้ววันนี้ เดือนตุลาคม 2560 ช่องต่างๆ  ก็ยังคงคนดูจำนวนเท่าเดิม  รายการที่โด่งดัง เป็นกระแสสังคม เช่น ช่อง Amarin ไทยรัฐ แกรมมี่ แทนที่เรตติ้งจะพุ่งขึ้น 

แต่คนดูอยู่ในหลัก 1.0 ลงไป เพราะพฤติกรรมคนดู "ถอดปลั๊กทีวี" ไม่เปิดจอใหญ่กันแล้ว ส่วนมากก้มหน้านั่งหน้าคอมพ์ หรือ สมาร์ทโฟน   

ล่าสุด กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ยื่นหนังสือด่วนถึง คณะกรรมการปฏิรูปสื่อเร่งแก้ปัญหาสื่อทั้งระบบ ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา เทคโนโลยี และพฤติกรรมการบริโภคสื่อของประชาชนชนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก

สาเหตุหลักที่สำคัญ คือการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีอย่างรวดเร็ว ประชาชนหัน ไปรับชมโทรทัศน์ผ่านทางสื่อออนไลน์ ทั้งทางเว็บไซต์และ แอปพลิเคชั่นบนโทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากขึ้น หรือ  Over-The-Top Service (OTT Service)

การรับชมโทรทัศน์ผ่านช่องทางเดิม อย่างเช่น การชมโทรทัศน์ผ่านโครงข่ายภาคพื้นดินก็ลดลงอย่างมาก และมีแนวโน้มที่จะถูกทดแทนโดยเทคโนโลยีใหม่ ๆ กลายเป็นเทคโนโลยีการรับชมโทรทัศน์ที่ล้าสมัย และอาจจะสิ้นสุดลงไปในอนาคต

การเปลี่ยนผ่านระบบการรับชมโทรทัศน์ภาคพื้นดิน จากระบบอนาล็อกไปสู่ระบบดิจิตอลที่มุ่งส่งเสริมการรับชมผ่านโครงข่ายภาคพื้นดินจึงไม่สอดรับกับ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

การลงทุนในโครงข่ายภาคพื้นดิน อาจจะกลายเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าและ ผู้ให้บริการโครงข่ายทีวีดิจิตอลภาคพื้นดิน ( MUX ) จะต้องประสบปัญหาขาดทุนมหาศาลในอนาคต

กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลจึงเล็งเห็นถึงความจำเป็นเร่งด่วนในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับ กิจการสื่อสารมวลชน และโทรทัศน์ของประเทศไทย ซึ่งถือเป็นบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ให้ทันกับยุคดิจิตอลก่อนจะเกิดความเสียหายต่อประเทศชาติต่อไปในอนาคต

กลุ่มผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลรวม 13 ช่องรายการ ได้แก่ ช่อง Thairath ช่อง PPTV  ช่อง One  ช่อง GMM 25 ช่อง Nation ช่อง NOW

ช่อง Bright TV  ช่อง Spring News ช่อง new tv  ช่อง Voice TV ช่อง TNN ช่อง True4U และ  ช่อง Amarin TV HD ได้ยื่นหนังสือ ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นกับแวดวงสื่อสารมวลชน

โดยเสนอให้ปรับโครงสร้างสื่อสารมวลชนให้สอดคล้องกันทั้งระบบ เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและพฤติกรรมการรับสื่อของประชาชนในปัจจุบัน

ส่วนหนึ่งได้ขอให้รัฐพิจารณาเร่งดำเนินการนำคลื่นความถี่ช่วงที่เหลืออยู่ไม่ได้ใช้ไปจัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ เนื่องจากปัจจุบันช่องรายการทีวีดิจิตอลมี 26 ช่อง จึงใช้คลื่นความถี่ไม่เต็มตามที่กันไว้แต่แรก

และคลื่นความถี่บางช่วงที่ใช้ในกิจการทีวีดิจิตอลตอนนี้ เหมาะแก่การใช้ในกิจการโทรคมนาคมมากกว่า และหากนำไปใช้ในกิจการโทรคมนาคมก็จะสร้าง ประโยชน์ต่อประชาชนและประเทศชาติทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

ข้อเสนอดังกล่าวน่าจะเป็นทางออกที่ดี กับแวดวงสื่อสารมวลชนไทย อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไปนาน เพราะปัญหาแต่ละอย่างแทบกระอักเลือด

วันนี้ ใจเขา ใจเรา หากใคร ไม่ใช่ผู้ประกอบการคงไม่รู้ดี..ตอนนี้บางรายที่ทิ้งสองช่องไป ยังไม่ฟื้นตัวดี บางรายที่ทำอยู่ ถึงกับนอนไม่หลับกันแล้ว ช่วยหน่อยเถอะท่าน ! 

ก็อปลิงค์ข่าวนี้ สำหรับเผยแพร่ต่อ   >>  ( อ่านต่อ >> https://goo.gl/tvsduX  )  

นายลวดหนาม   

ภาพจาก thaidigital ,กสทช.

18 ตุลาคม 2560

ผู้ชม 2056 ครั้ง

Engine by shopup.com