ต้องจับตา "บุหรี่ไฟฟ้า" ความท้าทาย ต่อแพทย์ นักวิทย์ะช่วย “กลุ่มผู้สูบบุหรี่” ว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การค้าการลงทุนด้านสุขภาพ

บทความ

"บุหรี่ไฟฟ้า" ความท้าทาย ต่อแพทย์ นักวิทย์ช่วย “กลุ่มผู้สูบบุหรี่” ?

 

จากกรณี เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้  รายงานถึงสำนักข่าวต่างประเทศได้นำเสนอข้อมูลที่น่าสนใจ และ ท้าทายในการแก้ไข "ปัญหาสุขภาพ" ในผู้ที่สูบบุหรี่ด้วยมุมมองที่แหลมคมของต่างประเทศ ซึ่งมีจำนวนมาก

เรื่องราวดังกล่าวที่น่าตื่นเต้น น่าสนใจของผู้สูบบุหรี่ และ ผู้คนในวงการสุขภาพ คือกรณี  "กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์" ได้ออกแถลงการณ์ให้การสนับสนุน "บุหรี่ไฟฟ้า" เป็นทางเลือกของผู้สูบบุหรี่ เพื่อให้ประเทศบรรลุเป้าหมายประเทศปลอดควันภายในปี 2025

ที่บอกว่า เรื่องนี้มันน่าตื่นเต้น และ ท้าทาย เพราะทางเลือกของผู้สูบบุหรี่ นั่นก็คือ "บุหรี่ไฟฟ้า"  ตามหัวข้อแถลง Ministry of Health position statement – E-cigarettes รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์

( ลิ้งค์กระทรวงสาธารณสุขนิวซีแลนด์ ) และ ( ลิ้งค์ข่าวที่แปลเป็นภาษาไทยแล้วชัดๆ )  

ทั้งนี้ เราเชื่อว่า “บุหรี่” มันยังคงความอันตราย เช่นเดียวกับบุคคล ทั่วๆ ไปที่มองมันว่า "มัจจุราชที่ใกล้แค่คืบเดียว" 

เพราะการสูบบุหรี่จะทำให้เกิด โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ผู้ที่สูบบุหรี่จะเพิ่มอัตราการเกิดโรหัวใจ 5 เท่าเมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่สูบบุหรี่ รวมทั้ง  โรคมะเร็ง โรคปอด โรคทางเดินอาหาร และมีการเปลี่ยนแปลงของระบบต่างๆ ในร่างกาย

เพราะฉะนั้น อย่าเข้าใกล้บุหรี่ ถ้าไม่ใช่ผู้สูบบุหรี่รายเก่า อย่าลองเด็ดขาด โดยภาคเอกชน สังคม สื่อมวลชน ต้องมีส่วนร่วมในการช่วยกันผลักดัน เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐยังทำงานการรณรงค์ไม่เข้าเป้า !!

ประเทศไทยเรามี กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ สสส. เข้ามารณรงค์ให้จำนวนผู้สูบบุหรี่ลดน้อยลง รวมทั้งหน่วยงานหลัก เช่น กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

สองหน่วยงานนี้ เขาบอกว่าให้เรียก ทำงานคู่ขนาน ไม่ได้ทำงานซ้ำซ้อน ไม่ได้ผลาญงบ ตำน้ำพริกละลายแม่น้ำ ไม่ใช่เด็ดขาด !!

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เงินที่นำมารณรงค์  มาจากภาษีประชาชน  สสส.  มาจากภาษีบาป  เริ่มก่อตั้งตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เช่าสำนักงานตึก SM ทาวเวอร์ สนามเป้า

กระทั่งขยายอนาจักรไปสู่สำนักงานอันหรูหรา กลางทุ่งหญ้าลาเวนเดอร์ ถนนพระรามสี่   มีหน้าที่ในการขับเคลื่อนกระบวนการเสริมสร้างสุขภาพ

อาทิ งดเหล้า-บุหรี่ เพื่อลดอัตราการเจ็บป่วยและเสียชีวิตก่อนวันอันควร กระตุ้นให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความเชื่อ เพื่อลดภาระทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ

สถิติจำนวนคนสูบบุหรี่ที่ได้ไปสำรวจกันเอง อ้างว่า “คนสูบบุหรี่น้อยลง” สวนทางกับหลักการจัดเก็บภาษี  เพราะหากลดน้อยลงจริงๆ ตามอ้าง

จะทำให้รายได้ของ สสส. ลดลงตาม  ยิ่งคนบริโภคน้อย ยิ่งเก็บภาษีไม่ได้ หากประสบความสำเร็จ รายได้จากภาษีสรรพสามิตที่เก็บจากการขายยาบุหรี่ ยาสูบ ต้องลดน้อยลงไปเรื่อยๆ กระทั่งหมดลง และ ยุบหน่วยงาน สสส.ตามภารกิจ

แต่หากภารกิจตาม พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 กลายเป็นว่า สสส.จัดเก็บเงินได้เพิ่มขึ้นเกือบทุกปี

แผนสื่อสารสุขภาวะ และสื่อสารการตลาด เป็นแผนงานที่ สสส.ให้ความสำคัญ ใส่งบลงไปมากมาย แต่จะพบว่า สสส.นำงบไปซื้อสื่อต่างๆ จำนวนมาก โดยสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) เคยทำรายงานถึงการบริหารจัดการของ สสส.ว่า

“การใช้จ่ายเงินของ สสส. ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร กรณีอนุมัติให้เงินอุดหนุนจำนวนมากแก่แผนงาน/ชุดโครงการ/โครงการเชิงรุกที่มีรายละเอียดไม่ชัดเจนเพียงพอ ทำให้มีเงินคงเหลือจากการดำเนินงานเป็นจำนวนมาก

ทำให้ สสส. เสียโอกาสในการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการอุดหนุนแผนงาน/ชุดโครงการ/โครงการเชิงรุกที่มีความจำเป็นอื่นๆ” และ “การไม่กระจายตัวของภาคีเป็นการไม่เปิดกว้างให้ผู้ที่มีความรู้ความสามารถมีโอกาสแข่งขันด้วยความเสมอภาคและความเท่าเทียมกัน”  ....นี่คือรายงานของ สตง.  

ส่วน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข มีการทำงานในฐานะผู้บังคับใช้กฎหมาย ตาม พระราชบัญญัติควบคุมผลิตภัณฑ์ยาสูบ ซึ่งทุกๆ ปีจะมีแคมเปญใหม่ๆ ออกมาเสมอ

 ย้อนอดีตแคมเปญ ทุก 31 พ.ค.ตั้งแต่ ตำเตือน ภาพสยดสยอง น่ากลัว ขยายใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ  ร้านค้าต่างๆ  เก็บให้มิดชิด การห้ามแบ่งขาย และกลยุทธิ์  “บุหรี่ซองเรียบ” ซึ่งเราก็ได้แต่หวังว่าจะทำให้ได้ผล เหมือนประเทศอังกฤษ

แต่ปัจจุบัน สุขภาพของคนไทย กลับแย่ลง  สถิติพบว่าคนไทยเสียชีวิตจากมะเร็ง  โรคหลอดเลือดในสมอง ปอดอักเสบ เป็นอันดับต้นๆ 

ขณะที่ นโยบายใหม่กำลังดำเนินงานกันอย่างเข้มข้น คือ การส่งเสริมสุขภาพ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ระบบการดูแล และป้องกันสุขภาพระดับปฐมภูมิ

ส่วนทางเลือกของผู้สูบบุหรี่ ที่ยังคงทำกันมานานหลายปี คือ แผ่นอุปกรณ์ต่างๆ สมุนไพร คลินิกเลิกบุหรี่  ฯลฯ ซึ่งต้องถามว่าได้ผลหรือไม่ ? ต้องลงพื้นที่ไปสำรวจ ดูงาน อย่าเพิ่งเขียนข่าวแจกเผยแพร่ออกมาว่า “ได้ผลเกินคาด”   


เทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังปฏิวัติวงการยาสูบ ทำให้ผู้สูบบุหรี่ในหลายประเทศสามารถเข้าถึงทางเลือกเทคโนโลยีที่เป็นอันตรายน้อยกว่าต่อการสูบบุหรี่

ในเวลาเดียวกันเทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้ สร้างคำถามที่ท้าทาย ต่อทั้งแพทย์ นักวิทยาศาสตร์ ผู้บริโภค และหน่วยงานกำกับดูแล

อย่างที่บอกกันว่า การแก้ปัญหาสุขภาพในโลกยุคดิจิตอล มีผู้ที่คิดได้ไม่กี่คน  หน่วยงานที่มีสไตล์การทำงานในเชิงรุก และ ท้าทายในการแก้ปัญหาในไทยยังคงไม่มีไม่เพียงพอ

ดังนั้น  มุมมองและประสบการณ์ จากต่างชาติ จึงต้องรับฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ผู้นำด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์และ เทคโนโลยี ที่จะช่วยเหลือ “กลุ่มผู้ที่สูบบุหรี่” ที่อยากเลิก แต่ยังเลิกไม่ได้

เพื่อให้รอดพ้นจาก “มัจจุราชควันบุหรี่” ได้หรือไม่ อยู่ที่จิตใจ ความเมตตา และ ความสามารถของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วล่ะค่ะ !!

ก็อปลิงค์ข่าวนี้ สำหรับเผยแพร่ต่อ   >>  ( อ่านต่อ >> https://goo.gl/Jz5FkT

เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

Thailand Health and Wellness News   

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

 

 

27 พฤศจิกายน 2565

ผู้ชม 5373 ครั้ง

Engine by shopup.com