"เทคนิคการแพทย์ชุมชน" ขับเคลื่อนงานเชิงรุก ตั้งเป้า “ประชาชนสุขภาพดี จับต้องได้ ถึงระดับโมเลกุล” เน้นเทคโนฯ นวัตกรรม ใช้ให้เกิดประโยชน์ เว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com ข่าวการแพทย์ บทความสุขภาพ ระบบสาธารณสุข เทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม การค้าการลงทุนด้านสุขภาพ

บทความ

"เทคนิคการแพทย์ชุมชน" ขับเคลื่อนเชิงรุก “ประชาชนสุขภาพดี จับต้องได้ ถึงระดับโมเลกุล”

 

MED HUB NEWS - ทีมข่าวเว็บไซต์สุขภาพ medhubnews.com รายงานความเคลื่อนไหว กรณี “วิชาชีพเทคนิคการแพทย์” พัฒนา และขับเคลื่อนงานอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นใน รั้วมหาวิทยาลัยในภาควิชาการ และ ภาคปฏิบัติ ตามสถานพยาบาล และชุมชน ต่างๆ

โดยเฉพาะ “นักเทคนิคการแพทย์ชุมชน” เป็นการขยายผลเพื่อส่งต่อความรู้ในวิชาชีพเทคนิคการแพทย์สู่ชุมชนในทุกมิติ ในรูปแบบการมอง “ชุมชนเป็นห้องปฏิบัติการที่มีชีวิต” ที่เป็นแหล่งเรียนรู้และให้ประสบการณ์กับบุคลากร

ทั้งนี้ ได้เตรียมแผนปฏิบัติการเชิงรุก ตั้งเป้า“ประชาชนสุขภาพดี จับต้องได้ ถึงระดับโมเลกุล” ซึ่งนำ เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านเทคนิคการแพทย์มาใช้ในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ พัฒนาความรู้-เครื่องมือ-ทักษะการวิเคราะห์ การจัดการข้อมูล การสื่อสารสาธารณะและการทำงานร่วมกับวิชาชีพต่างๆ ภายใต้บริบทที่แตกต่างของผู้เข้าร่วมอบรมผสมผสานในรูปแบบที่ง่ายสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ง่ายในพื้นที่ต่างๆ


ล่าสุด คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล จัดโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการต่อยอดการขับเคลื่อนงานเทคนิคการแพทย์ชุมชน เพื่อพัฒนาระบบบริการสุขภาพ ณ อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล ( ศาลายา )

โดยมีนักเทคนิคการแพทย์ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรเทคนิคการแพทย์เฉพาะทาง : การพัฒนาการบริการปฐมภูมิต่อเนื่อง ทุติยภูมิ โดยชีวการแพทย์สารสนเทศ

สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ รุ่นที่ 1 จำนวน 24 คน เข้ารับการอบรมนั้น ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ปรัชชญาสิทธิกุล ประธานหลักสูตรอบรมเทคนิคการแพทย์เฉพาะทางฯ  สำหรับนักเทคนิคการแพทย์ ( เทคนิคการแพทย์ชุมชน )

“การอบรมครั้งนี้ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ได้แนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนการดำเนินการเทคนิคการแพทย์ชุมชนเพื่อการบริการทั้ง 12 เขตบริการ ได้เครื่องมือในการดำเนินการเทคนิคการแพทย์ชุมชน และเครือข่ายเพื่อขับเคลื่อนกิจกรรมเทคนิคการแพทย์ชุมชนทั่วประเทศ

ตลอดจนได้บทเรียนเพื่อการปรับปรุงและต่อยอดในการสนับสนุนทางด้านวิชาการ เพื่อการขับเคลื่อนงานบริการดูแล และสร้างเสริมสุขภาพระดับปฐมภูมิต่อเนื่อง ทุติยภูมิต่อไป”

สำหรับแนวปฏิบัติในการขับเคลื่อนการดำเนินการเทคนิคการแพทย์ชุมชนนั้น ประกอบด้วย การพัฒนาความรู้ เครื่องมือ และการประยุกต์ใช้ในการทำงานร่วมกับชุมชน  การพัฒนาทักษะการวิเคราะห์ การจัดการข้อมูล

การสื่อสารสาธารณะ และการทำงานร่วมกับวิชาชีพต่างๆ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางด้านเทคนิคการแพทย์มาใช้ในการบริหารจัดการด้านสุขภาพ

ทั้งนี้ การทำงานด้านปฐมภูมิของนักเทคนิคการแพทย์ชุมชน จะต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการ  องค์ความรู้และการมีส่วนร่วม และการพัฒนาทักษะของนักเทคนิคการแพทย์ชุมชน โดยมีเป้าหมายคือ “ประชาชนสุขภาพดี จับต้องได้ ถึงระดับโมเลกุล”

ศาสตราจารย์ ดร.วีระพงศ์ ยังเปิดเผยด้วยว่า การอบรมครั้งนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้ร่วมกันจัดทำแผนงานปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ชุมชนเชิงรุก ระยะที่ 1 

โดยเน้นย้ำคุณภาพของงานเทคนิคการแพทย์ คือ Technical Quality Service Quality และ Management Quality รายละเอียดแผนปฎิบัติการ ได้แก่

(1) Re-train, POCT, การให้บริการ Lab ใน รพ.สต ANC NCD. การแปลผลการตรวจสุขภาพในประชาชนโดยใช้ความรู้ Homeostasis, Lab interpretation,

 (2) การเลือกใช้และควบคุมคุณภาพ  POCT,  เครื่องมือเทคนิคการแพทย์ ได้แก่ การอบรมความรู้ POCT และการประเมินคุณภาพ การ Review Lab Test ตามนโยบายและปัญหาในพื้นที่ที่เน้นย้ำความคุ้มค่า คุ้มทุนและได้ตามประสิทธิผล

การเลือกเครื่องมือในการตรวจวิเคราะห์ Validation การประเมิน IQC, EQA ตรวจประเมิน รพ.สต. ตามคู่มือ แนวทางการพัฒนาโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลติดดาว และแผนบำรุงรักษา แผนสอบเทียบเครื่องมือแพทย์ในมิติความเป็นเทคนิคการแพทย์ Applied Science

(3) จัดการป้องกัน ควบคุมโรคไม่ติดต่อ-NCD (DM,HT,CKD,CVD), Health promotion เชิงรุกทางสุขภาพรายบุคคล ครอบครัวและชุมชน ใช้การวิเคราะห์ข้อมูล ข้อมูลทาง Bioinformatics ที่สามารถออกแบบระบบสุขภาพได้อย่างเหมาะสม

ภายใต้ปัญหาสุขภาพของผู้ป่วยหรือประชาชนทั่วไปก่อนป่วย ออกแบบระบบการจัดเก็บข้อมูล รวบรวมข้อมูล นำเสนอผลการดำเนินงานสู่ผู้บริหาร เครือข่ายในพื้นที่ จังหวัด เขต และประเทศ ได้อย่าง SMART MT By Using Data Management

(4) จัดการควบคุมป้องกันโรคติดต่อ (DHF,Leptospirosis,etc) โรคอุบัติใหม่ และระบาด (Zika,SARs,Food,Bact.etc.) ทบทวนแนวทางการตรวจวินิจฉัยในระดับ รพ.สต., รพ. ต่อยอดระดับ จังหวัด, เขต, ประเทศ

สร้างเครือข่ายการการส่งตรวจวิเคราะห์ การใช้ Bioinformatics ในการรวบรวมวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูล เพื่อสารสนเทศทางการแพทย์ในการตัดสินใจ ติดตามและเฝ้าระวังการระบาดของโรค

(5) จัดการเชื้อดื้อยา การควบคุมการติดเชื้อดื้อยาในแต่ละระบบชุมชน,รพ.ระดับต่างๆ โดยมีระบบจัดเก็บข้อมูล  เชื่อมโยงเป็นเครือข่าย วิเคราะห์ข้อมูลเชื้อดื้อยาในแต่ละระบบ นำเสนอข้อมูลเชื้อดื้อยา ในระดับโรงพยาบาล จังหวัด ประเทศ

มดฮับ นิวส์ medhubnews.com 

เว็บไซต์ข่าวสุขภาพ  สาธารณสุข การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ วาไรตี้ ฯลฯ 

 

ติดตามข่าวสารจาก medhubnews.com ได้จาก Facebook : sasook ของเรา 

23 กันยายน 2561

ผู้ชม 5080 ครั้ง

Engine by shopup.com