ด่วน สถาบันประสาทวิทยายุโรป  เผยผลวิจัย พบ ผู้ป่วยโควิดรักษาหายแล้ว จะกลายเป็น ผู้ป่วย ptsd ป่วยทางจิตใจอย่างรุนแรง ถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย

บทความ

ด่วน สถาบันประสาทวิทยายุโรป  เผยผลวิจัย พบ ผู้ป่วยโควิดรักษาหายแล้ว จะกลายเป็น ผู้ป่วย ptsd ป่วยทางจิตใจอย่างรุนแรง ถึงขั้นคิดฆ่าตัวตาย

 

 สถาบันประสาทวิทยายุโรป European Academyฯ  เผยผลวิจัย พบ ผู้ป่วยโควิดรักษาหายแล้ว จะกลายเป็น ผู้ป่วย ptsd หลอน –เร้า –หลบ ภาพเก่าผุดในสมอง

News Update - วันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน 2564  เวียนนา--21 มิถุนายน 2564--พีอาร์นิวส์ไวร์/อินโฟเควสท์

ผลการศึกษาใหม่ที่นำเสนอในการประชุม สถาบันประสาทวิทยายุโรป ( European Academy of Neurology) ครั้งที่ 7 ระบุว่า ผู้ป่วยโควิด-19 ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมในช่วง 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล

ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า จากการติดตามผู้ป่วยโควิด-19 ที่รักษาหายแล้ว ในระยะเวลา 8 สัปดาห์ พบว่า ปัญหาด้านความจำ การรับรู้มิติสัมพันธ์ และการประมวลข้อมูล อาจเป็นผลพวงของไวรัส

การศึกษายังพบด้วยว่า ผู้ป่วย 1 ใน 5 มีภาวะ PTSD (Post-Traumatic Stress Disorder) หรือ ภาวะป่วยทางจิตใจ เมื่อเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจอย่างร้ายแรง และ 16% มีภาวะซึมเศร้า

อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง : ทำความรู้จัก โรคพีทีเอสดี หรือ PTSD โรคทางจิตเวช ที่คร่าชีวิต คริสโตเฟอร์ ทหาร EOD สหรัฐอเมริกา แฟนเก่าซูซี่

การศึกษาดังกล่าวจัดทำในประเทศอิตาลี โดยมีการทดสอบความสามารถในการรับรู้และตรวจสมองด้วย MRI ภายใน 2 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19

ซึ่งผลปรากฏว่า ผู้ป่วยกว่า 50% มีปัญหาด้านการรับรู้ ขณะที่ 16% มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง (การควบคุมความจำเพื่อใช้งาน การคิดอย่างยืดหยุ่น และการประมวลข้อมูล)

นอกจากนี้ ผู้ป่วย 6% ยังประสบปัญหาการรับรู้มิติสัมพันธ์ (แยกความลึกและมิติได้ลำบาก) และ 6% มีปัญหาความจำบกพร่อง ยิ่งไปกว่านั้น ผู้ป่วย 25% มีอาการทั้งหมดร่วมกัน

ปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้และจิตใจมีอาการแย่กว่ามากในกลุ่มที่มีอายุน้อยกว่า โดยผู้ป่วยอายุต่ำกว่า 50 ปีส่วนใหญ่มีปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง

จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดพบว่า ความรุนแรงของอาการทางเดินหายใจในระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพการบริหารจัดการของสมองที่อยู่ในระดับต่ำ

นอกจากนี้ จากการสังเกตกลุ่มตัวอย่างเดียวกัน ณ เวลา 10 เดือนหลังหายป่วยจากโควิด-19 พบว่าปัญหาด้านการรับรู้ลดลงจาก 53% เหลือ 36% แต่ภาวะ PTSD และภาวะซึมเศร้ายังคงอยู่

Prof. Massimo Filippi จาก Scientific Institute and University Vita-Salute San Raffaele ประเทศอิตาลี ซึ่งเป็นผู้นำการศึกษาครั้งนี้ กล่าวว่า "การศึกษาของเรายืนยันว่าปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กับโรคโควิด-19 และปัญหาเหล่านี้ยังคงอยู่หลายเดือนหลังหายจากโรคแล้ว"

"ผลลัพธ์ที่น่าเป็นห่วงคือปัญหาด้านการบริหารจัดการของสมอง ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการจดจ่อ วางแผน คิดอย่างยืดหยุ่น และจดจำสิ่งต่าง ๆ โดยอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่อยู่ในวัยทำงานมากถึง 3 ใน 4"

ผลการศึกษาครั้งนี้ไม่พบความสัมพันธ์ที่มีนัยสำคัญระหว่างประสิทธิภาพการรับรู้กับปริมาตรสมอง

"เราจำเป็นต้องศึกษาในกลุ่มใหญ่ขึ้นและติดตามผลยาวนานขึ้น ถึงกระนั้น การศึกษาครั้งนี้ก็แสดงให้เห็นแล้วว่า โควิด-19 มีความสัมพันธ์กับปัญหาด้านการรับรู้และจิตใจ" Dr. Canu จาก San Raffaele Hospital ในมิลาน ซึ่งเป็นผู้ร่วมเขียนรายงาน กล่าวสรุป

 "การติดตามอาการและการรักษามีความสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้ผู้ป่วยที่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอในการบรรเทาอาการเหล่านี้"     

ทั้ง นี้ ผลการศึกษาด้านการรับรู้และพฤติกรรมของกลุ่มผู้ป่วยโรคโควิด-19 หลังจากหายป่วย ซึ่งนำเสนอในการประชุมสถาบันประสาทวิทยายุโรป ครั้งที่ 7 ประจำปี 2564

โรค ptsd คืออะไร, ptsd ย่อมาจากอะไร, ptsd การพยาบาล, PTSD คือ, ptsd อาการ ?

ptsd ย่อมาจากอะไร ? ptsd Post traumatic stress disorder

post-traumatic stress disorder คือ ? PTSD ภาวะป่วยทางจิตจากเหตุการณ์รุนแรง

สำหรับ โรค PTSD หรือ Post-Traumatic Stress Disorder เป็นโรคจิตเภทชนิดหนึ่งที่เกิดจากสภาวะจิตใจของผู้ป่วยได้รับการกระทบกระเทือนอย่างรุนแรงจากเหตุการณ์เลวร้าย เช่น การก่อการร้าย สงคราม การถูกข่มขืน ประสบภัยพิบัติ ประสบอุบัติเหตุ เป็นต้น

ptsd อาการ ? อาการของโรค PTSD

เกิดอาการ flash back คือ ผู้ป่วยจะรู้สึกเหมือนว่าตัวเองกำลังอยู่ในเหตุการณ์นั้นซ้ำ ๆ จนเกิดความตื่นกลัว บางคนอาจมีอาการใจสั่น มือสั่น และเหงื่อออกมาก มองโลกในแง่ลบ

ผู้ป่วยจะรู้สึกไม่มีความสุข ชีวิตหม่นหมอง มีอาการไม่สนใจในสิ่งที่เคยชอบทำ รู้สึกแปลกแยก และอาจร้ายแรงถึงขั้นอยากฆ่าตัวตาย

EAN Congress: COVID-19 leads to significant cognitive and behavioural problems in patients

VIENNA--June 21, 2021--PRNewswire/InfoQuest

COVID-19 patients suffer from cognitive and behavioural problems two months after being discharged from hospital, a new study presented at the 7th Congress of the European Academy of Neurology has found

Issues with memory, spatial awareness and information processing problems were identified as possible overhangs from the virus in post-COVID-19 patients who were followed up within eight weeks.

The research also found that one in 5 patients reported post-traumatic stress disorder, with 16% presenting depressive symptoms.

The Italian study involved testing neurocognitive abilities and taking MRI brain scans of patients two months after experiencing COVID-19 symptoms. More than 50% of patients experienced cognitive disturbances; 16%% had problems with executive function (governing working memory, flexible thinking, and information processing), 6% experienced visuospatial problems (difficulties judging depth and seeing contrast), 6% had impaired memory, and 25% manifested a combination of all these symptoms.

Cognitive and psychopathological problems were much worse in younger people, with the majority of patients aged under 50 demonstrating issues with executive functions.

In the whole sample, the greater severity of COVID-19 acute respiratory symptoms during hospital admission was associated with low executive function performance.

Additionally, a longitudinal observation of the same cohort at 10 months from COVID-19, showed a reduction of cognitive disturbances from 53 to 36%, but a persisting presence of PTSD and depressive symptoms.

Lead author of the study, Prof. Massimo Filippi, from the Scientific Institute and University Vita-Salute San Raffaele, Italy, explained, "Our study has confirmed significant cognitive and behavioural problems are associated with COVID-19 and persist several months after remission of the disease."

"A particularly alarming finding is the changes to executive function we found, which can make it difficult for people to concentrate, plan, think flexibly and remember things. These symptoms affected three in 4 younger patients who were of a working age."

No significant relationship was observed between cognitive performance and brain volume within the study.

"Larger studies and longer-term follow up are both needed, but this study suggests that COVID-19 is associated with significant cognitive and psychopathological problems," concluded Dr Canu, from the San Raffaele Hospital of Milan and study first author.

"Appropriate follow-up and treatments are crucial to ensure these previously hospitalised patients are given adequate support to help to alleviate these symptoms."

Cognitive and behavioural features of a cohort of patients in COVID-19 post-acute phase. Presented at the 7th EAN Congress 2021.

แท็ก : ผู้ป่วยโควิด, ผู้ป่วยโควิดรักษาหายแล้ว, ผู้ป่วยโควิด หลังออกจาก รพ, ผู้ป่วยโควิด หลังออกจากโรงพยาบาล, ผู้ป่วย ptsd, สถาบันประสาทวิทยายุโรป, ผู้ป่วยโควิด-19, ประสบปัญหาด้านการรับรู้และพฤติกรรม, ผู้ป่วย ptsd Post traumatic stress disorder, post-traumatic stress disorder คือ, โรค PTSD Pantip, ptsd หาย ได้ไหม, ptsd อาการ, เว็บไซต์สุขภาพ, ข่าวสุขภาพ

25 มิถุนายน 2564

ผู้ชม 1191 ครั้ง

Engine by shopup.com