แฉเบื้องหลัง lockdown กรุงเทพล่าสุด นายกล็อกดาวน์กทม คลุมเครือ ประกาศล็อกดาวน์กทม ปิดแค้มป์ก่อสร้าง แรงงานแห่กลับบ้าน ทำให้ โควิดกระจาย เหตุ ประกาศ ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ กลางดึก
แฉเบื้องหลัง lockdown กรุงเทพล่าสุด นายกล็อกดาวน์กทม คลุมเครือ ประกาศล็อกดาวน์กทม ปิดแค้มป์ก่อสร้าง แรงงานแห่กลับบ้าน ทำให้ โควิดกระจาย เหตุ ประกาศ ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ กลางดึก
แฉเบื้องหลัง lockdown กรุงเทพ lockdown กรุงเทพล่าสุด นายกล็อกดาวน์กทม คลุมเครือ ประกาศล็อกดาวน์กทม ปิดแค้มป์ก่อสร้าง แรงงานแห่กลับบ้าน ทำให้ โควิดกระจาย เหตุ ประกาศกลางดึก ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ
lockdown กรุงเทพ lockdown กรุงเทพล่าสุด News Update - วันอาทิตย์ที่ 27 มิถุนายน 2564 หลังจากกลางดึกของวันที่ 27 มิถุนายน 2564 และ เข้าสู่ เวลา 01.00 น.ของ 28 มิถุนายน 2564 เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา
เผยแพร่คำสั่งศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด- 19) ที่ 6/2564 เรื่อง พื้นที่สถานการณ์ที่กำหนดเป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ตามข้อกำหนดออกตามความ
ในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 ลงนามโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ผู้อํานวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด – 19
ตามที่ได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2563 และต่อมาได้ขยายระยะเวลาการบังคับใช้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ดังกล่าวออกไปเป็นคราวที่ 12 จนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 นั้น
ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ
เพื่อให้การบริหารจัดการและเตรียมความพร้อมในการป้องกันการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามแนวทางการจัดเขตพื้นที่สถานการณ์ตามข้อกำหนดออกตามความในมาตรา 9 แห่งพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
อาศัยอำนาจตามความในข้อ 4 (2) ของคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 4/2563 เรื่อง แต่งตั้งผู้กำกับ การปฏิบัติงาน หัวหน้าผู้รับผิดชอบและพนักงานเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ลงวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2563
และที่แก้ไขเพิ่มเติม นายกรัฐมนตรีในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด- 19 โดยคำแนะนำของศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขและศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด- 19 กระทรวงมหาดไทย
สำหรับ สาระสำคัญ ของคำสั่งดังกล่าว คือ ปิดสถานที่ก่อสร้าง ห้ามรับประทานอาหารในร้าน ห้ามรวมกลุ่มสังสรรค์ ห้ามจัดงานเลี้ยงรื่นเริง และห้างสรรพสินค้าสามารถเปิดได้ถึง 3 ทุ่ม ห้ามนั่งรับประทานในร้าน ให้ซื้อกลับได้เท่านั้น
ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด มาตรการพื้นที่สีแดง รวมทั้งสิ้น 10 จังหวัด ประกอบ 1. กรุงเทพมหานคร 2. นครปฐม 3. นนทบุรี 4.นราธิวาส 5. ปทุมธานี 6.ปัตตานี 7.ยะลา 8. สงขลา 9. สมุทรปราการ และ 10. จังหวัดสมุทรสาครสรุปข้อกำหนด มี มาตรการพื้นที่สีแดง ดังนี้
- สั่งปิดแคมป์ก่อสร้าง สั่งหยุดทำงานก่อสร้าง อย่างน้อย 30 วัน และห้ามเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นการชั่วคราว
- การจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในร้านอาหารหรือเครื่องดื่ม ที่ตั้งอยู่ในห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้ มอลล์ โรงแรม ร้านสะดวกซื้อ ตลาดนัด ซูเปอร์มาร์เก็ต ให้เปิดบริการเฉพาะนำกลับไปบริโภคที่อื่นเท่านั้น
- ห้างสรรพสินค้า ศูนย์การค้า คอมมูนิตี้มอลล์ ให้เปิดดำเนินการได้ถึง 21.00 น. โดยงดให้บริการโรงมหรสพ โรงภาพยนต์ สวนน้ำ ศูนย์อาหาร
- โรงแรม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุมหรือที่จัดนิทรรศการ ให้เปิดได้ตามเวลาปกติ แต่ให้งดการจัดประชุม การสัมมนา และจัดเลี้ยง
- ห้ามจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่มีบุคคลจำนวนรวมกันเกินกว่า 20 คน เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ หรือเป็นกิจกรรมในพื้นที่ที่กำหนดให้เป็นสถานกักกันโรค
- ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ และเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่ควบคุมสูงสุด เข้าไปตรวจตราเขตชุมชน ตลาด หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด เมื่อพบแหล่งที่มีการระบาดของโรคเป็นกลุ่มก้อน ผู้ว่าราชการจังหวัดอาจดำเนินการสั่งปิดเขตชุมชน หรือสถานที่ดังกล่าวไว้เป็นการชั่วคราว
- ให้เจ้าหน้าที่จากศูนย์ปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินด้านความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตั้งจุดตรวจ ด่านตรวจ จุดสกัด เพื่อคัดกรองการเดินทาง อย่างน้อย 30 วัน ในเส้นทางคมนาคมเข้าออกชายแดนภาคใต้ และกรุงเทพ-ปริมณฑล
- ให้ประชาชนงดกิจกรรมทางสังคมที่มีการรวมกลุ่ม ในลักษณะการสังสรรค์ งานจัดเลี้ยงรื่นเริงในเขตพื้นที่ขวบคุมสูงสุดและเข้มงวด เป็นระยะเวลา 30 วัน เว้นแต่เป็นการจัดพิธีการตามประเพณีนิยม
คำสั่งนี้มีผลต้ังแต่วันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เป็นต้นไป
ขณะที่ ล่าสุด เว็บไซต์ medhubnews.com ข่าวสังคม สุขภาพ ท่องเที่ยว วาไรตี้ และ เพจ sasook ทวิตเตอร์ @medhub_news รายงานว่า วันนี้ (27 มิถุนายน 2564) นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า หลังจากมีการ ปิดแค้มป์ก่อสร้าง, โควิดล็อกดาวน์กรุงเทพ
มาตรการโควิดกทม, ประกาศล็อกดาวน์กทม, ประกาศล็อกดาวน์ 28 มิถุนายน, ล็อกดาวน์กรุงเทพราชกิจจานุเบกษา, มาตรการพื้นที่สีแดง
ส่งผลให้ แรงงานแห่กลับบ้าน ได้เตรียมมาตรการรองรับแรงงานบางส่วนที่เดินทางกลับภูมิลำเนาจากการปิดแคมป์ก่อสร้าง ในกทม. ปริมณฑล และ 4 จังหวัดภาคใต้
ได้แก่ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา เป็นเวลา 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2564 เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโควิด 19 ซึ่งทุกจังหวัดมีมาตรการและประสบการณ์ตั้งแต่การล็อคดาวน์ในการระบาดระลอกแรกและช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา
สามารถดำเนินการได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ได้ให้กรมควบคุมโรค ในฐานะสำนักงานเลขานุการคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ ทำหนังสือขอความร่วมมือผู้ว่าราชการจังหวัดในฐานะประธานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด
จัดตั้งทีมค้นหา เฝ้าระวัง และป้องกันโรคในทุกอำเภอ หมู่บ้าน โดยให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านร่วมทีมออกเคาะประตูบ้าน เพื่อสำรวจจัดทำฐานข้อมูลผู้เดินทางกลับภูมิลำเนา
และให้ความรู้ในการแยกตัวสังเกตอาการ หลีกเลี่ยงการใกล้ชิดกับผู้อื่นทั้งในที่พักจนครบ 14 วันนับจากวันที่เดินทางมาถึงภูมิลำเนา
รวมทั้งการปฏิบัติตัวในการป้องกันการแพร่กระจายเชื้ออย่างเคร่งครัด สำหรับด้านการรักษาพยาบาลมีการบริหารจัดการในรูปเขตสุขภาพ ขณะนี้โรงพยาบาลทุกแห่ง มีบุคลากร ยา เวชภัณฑ์ พร้อมให้การดูแลผู้ป่วย
สำหรับ เบื้องลึกเบื้องหลัง ราชกิจจานุเบกษาโควิด, นายกล็อกดาวน์กทม,ประกาศล็อกดาวน์กทมโดยประกาศล็อกดาวน์ 28 มิถุนายน ตาม ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ
แหล่งข่าวระดับสูงจากกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สาเหตุ มาจาก วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน 2564 เมื่อเวลา 14.00 ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธานการประชุมเรื่องวัคซีนและการแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(โควิด-19) เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียการล็อกดาวน์พื้นที่กทม.และพื้นที่สีแดงเข้ม
คลิ๊กอ่านข่าว : กทมล็อกดาวน์หรือยัง กทมล็อกดาวน์ นายกฯ ถก อนุทิน รอ ศบคแถลง สรุปใช้คำว่า ล็อกดาวน์ กทม. และ ปริมณฑล เฉพาะจุด
โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข คณะที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข ร่วมหารือกับคณะ แพทย์ใน ศบค เสนอให้มีการ ล็อกดาวน์กรุงเทพ 7 วัน เพื่อสกัดไม่ให้มีการเคลื่อนย้ายคน
ไปสู่พื้นที่ต่างๆ แต่พอประชุมเสร็จ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา บอกว่า สรุปผล ไม่ล็อกดาวน์ แต่จะควบคุมเข้มงวดเป็นจุดๆ ส่งผลให้มีการเดินทางได้ตามปกติ จนมีคำสั่ง ปิดแค้มป์ก่อสร้าง ทำให้ แรงงานแห่กลับบ้าน
กระทั่งตอนนี้ ค่ำคืนวันศุกร์ และ วันเสาร์ มีการแพร่กระจายโรคมากเพิ่มกว่าเท่าตัว เพราะนายก ไม่ชัดเจนเรื่อง ประกาศล็อกดาวน์กทม
จนในที่สุด กลางดึก ก็ประกาศล็อกดาวน์ 28 มิถุนายน ล็อกดาวน์กรุงเทพราชกิจจานุเบกษา มีมาตรการพื้นที่สีแดง มาตรการโควิดกทม ซึ่งไม่ทันการแล้ว
ทำให้มีประชาชนเรียกร้องให้ ประยุทธ์ออกไป และ มีการให้ฉายา ตู่ชวนชื่น หลังประชาชน อ่านราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ
แท็ก : lockdown กรุงเทพ, ราชกิจจานุเบกษาโควิด, ประยุทธ์ออกไป, ล็อกดาวน์กรุงเทพเดินทางข้ามจังหวัด, นายกล็อกดาวน์กทม, ปิดแค้มป์ก่อสร้าง, อาการโควิดสายพันธุ์เดลต้า, โควิดล็อกดาวน์กรุงเทพ, มาตรการโควิดกทม, ประกาศล็อกดาวน์กทม, ประกาศล็อกดาวน์ 28 มิถุนายน, ล็อกดาวน์กรุงเทพราชกิจจานุเบกษา, ตู่ชวนชื่น, มาตรการพื้นที่สีแดง, ราชกิจจานุเบกษาล็อกดาวน์กรุงเทพ, แรงงานแห่กลับบ้าน, เว็บไซต์สุขภาพ, ข่าวสาธารณสุข
04 กรกฎาคม 2564
ผู้ชม 5081 ครั้ง