"สิทธิบัตรแคนาดา" อนุมัติเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์ค แทรกดีเอ็นเอภายนอกเข้าสู่โครโมโซม
"สิทธิบัตรแคนาดา" อนุมัติเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์ค แทรกดีเอ็นเอภายนอกเข้าสู่โครโมโซม
ทีมข่าวเว็บไซต์ เมดฮับ นิวส์ medhubnews.com รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ เมือง ดาร์มสตัดท์, เยอรมนี ทาง "สำนักงานสิทธิบัตรแคนาดา" เตรียมอนุมัติสิทธิบัตรเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์ค
อันประกอบไปด้วย - สิทธิบัตรครอบคลุมความสำเร็จในการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกเข้าสู่โครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอตด้วยเทคนิค CRISPR
- เทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คได้รับการรับรองสิทธิบัตรเป็นครั้งแรกในอเมริกาเหนือ
- คำขอรับสิทธิบัตรอื่นๆที่เกี่ยวข้องกันได้รับการอนุมัติแล้วจากสำนักงานสิทธิบัตรยุโรปและออสเตรเลีย ส่วนสิทธิบัตรอื่นๆที่คล้ายคลึงกันนั้นกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาในหลายประเทศ
"เมอร์ค ( Merck ) บริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำ ประกาศว่า สำนักงานสิทธิบัตรแห่งแคนาดา ได้ออกหนังสือแจ้งการรับจดทะเบียน ( Notice of Allowance ) ให้กับคำขอรับสิทธิบัตรของเมอร์ค ครอบคลุมเทคโนโลยี CRISPR ของบริษัท ซึ่งเป็นเทคนิคที่ใช้ในการแทรกจีโนมเข้าในเซลล์ยูคาริโอต
คลังสิทธิบัตรของเรายังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องทั่วโลก ซึ่งเป็นการยกระดับการคุ้มครองเทคโนโลยี CRISPR อันโดดเด่นของเรา ขณะที่เราเดินหน้าร่วมงานกับชุมชนวิทยาศาสตร์ทั่วโลก เพื่อเฟ้นหาวิธีการรักษาโรคในรูปแบบใหม่ๆต่อไป” อูดิท บาทรา สมาชิกคณะกรรมการบริหารของเมอร์ค และซีอีโอกลุ่มธุรกิจชีววิทยาศาสตร์ (Life Science) กล่าว
“การตัดสินใจของสำนักงานสิทธิบัตรแห่งแคนาดาในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงถึงการยอมรับครั้งสำคัญต่อบทบาทของเมอร์คในแวดวงตัดต่อจีโนม”
เมอร์ค ได้ยื่นขอสิทธิบัตรสำหรับเทคนิค CRISPR ในสหรัฐอเมริกา บราซิล จีน อินเดีย อิสราเอล ญี่ปุ่น สิงคโปร์ และเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน
สิทธิบัตรแคนาดาที่กำลังจะมีขึ้นนี้มีชื่อว่า "CRISPR-BASED GENOME MODIFICATION AND REGULATION" ซึ่งครอบคลุมการแทรกโครโมโซม หรือการตัดลำดับโครโมโซมของเซลล์ยูคาริโอต
เช่น เซลล์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และเซลล์พืช รวมถึงการแทรกลำดับดีเอ็นเอภายนอกหรือดีเอ็นเอผู้ให้ เข้าสู่เซลล์เหล่านี้ด้วยเทคนิค CRISPR เพื่อช่วยให้นักวิทยาศาสตร์สามารถแทนที่การกลายพันธุ์ที่มีความกับโรค
ด้วยลำดับที่เป็นประโยชน์หรือพร้อมทำหน้าที่ ซึ่งเป็นกลวิธีสำคัญในการสร้างโมเดลของโรคและการทำยีนบำบัด นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังสามารถใช้กลวิธีดังกล่าวในการแทรกทรานส์ยีนที่คอยติดฉลากโปรตีนภายในเพื่ออำนวยความสะดวกในการตรวจสอบภายในเซลล์ด้วยสายตา
เมื่อได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการแล้ว สิทธิบัตรแคนาดาจะต่อยอดการคุ้มครองเทคโนโลยี CRISPR ของเมอร์คให้ครอบคลุมทวีปอเมริกาเหนือเป็นครั้งแรก
ซึ่งเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับฐานสิทธิบัตรของบริษัท หลังจากที่ก่อนหน้านี้ สำนักงานสิทธิบัตรแห่งออสเตรเลียได้อนุมัติสิทธิในสิทธิบัตร CRISPR ให้กับเมอร์คเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนมิถุนายน 2560 ตามมาด้วยสำนักงานสิทธิบัตรแห่งยุโรปที่เพิ่งอนุมัติเมื่อเดือนกันยายน 2560
เทคโนโลยีตัดต่อจีโนม CRISPR ซึ่งช่วยให้ตัดต่อโครโมโซมในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตได้อย่างแม่นยำนั้น กำลังจะเข้ามาช่วยเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคที่รักษาได้ยากที่สุดเป็นอันดับต้นๆในยุคนี้ เทคนิค CRISPR นี้นำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการระบุยีนที่มีความสัมพันธ์กับมะเร็งและโรคหายาก ไปจนถึงการคืนสภาพการกลายพันธุ์ที่เป็นสาเหตุให้ตาบอด
เมอร์คสั่งสมประสบการณ์ในการปรับแต่งจีโนมมาเป็นระยะเวลา 12 ปี และยังเป็นบริษัทแรกที่นำเสนอบริการชีวโมเลกุลตามสั่งสำหรับการปรับแต่งจีโนม (อินทรอนกลุ่มที่ 2 ชนิด RNA-guided อย่าง TargeTron(TM) และนิวคลีเอสโปรตีนสังกะสีนิ้ว CompoZr (TM)
ซึ่งขับเคลื่อนการใช้เทคนิคเหล่านี้ในแวดวงการวิจัยทั่วโลก นอกจากนี้ เมอร์คยังเป็นบริษัทแรกที่สร้างไลบรารี CRISPR ครอบคลุมจีโนมมนุษย์ทั้งหมด ทำให้นักวิจัยสามารถสำรวจคำถามเกี่ยวกับต้นตอของปัญหาได้มากขึ้นและพัฒนาวิธีรักษาได้เร็วขึ้น
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2560 ที่ผ่านมา เมอร์คประกาศว่า ทางบริษัทได้พัฒนากลวิธีการตัดต่อจีโนมด้วยเทคนิค CRISPR ในรูปแบบใหม่ โดยมีชื่อว่า proxy-CRISPR เทคนิคใหม่นี้ไม่เหมือนระบบอื่นๆ เพราะ proxy-CRISPR ของเมอร์ค สามารถตัดต่อเซลล์ในส่วนที่แต่เดิมเข้าถึงไม่ได้ ส่งผลให้ CRISPR มีประสิทธิภาพมากขึ้น ยืดหยุ่นขึ้น และเจาะจงยิ่งขึ้น
ทั้งยังเปิดโอกาสให้นักวิจัยมีตัวเลือกทางการทดลองมากขึ้นด้วย เมอร์คได้ยื่นเรื่องจดสิทธิบัตรเทคโนโลยี proxy-CRISPR มาแล้วหลายฉบับ โดยการยื่นจดสิทธิบัตรที่เจาะจงเทคโนโลยี proxy-CRISPR โดยตรงนี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของสิทธิบัตรด้าน CRISPR ที่ทางบริษัทได้ดำเนินการยื่นขอตั้งแต่ปี 2555
เมอร์คเล็งเห็นคุณประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้นจากการจัดทำโครงการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมที่มีกรอบดำเนินการอย่างเหมาะสม เมื่อพิจารณาถึงสรรพคุณทางการรักษาโรคที่อาจกลายเป็นนวัตกรรมบุกเบิกวงการ
ด้วยเหตุนี้ เมอร์คจึงให้การสนับสนุนโครงการวิจัยด้านการปรับแต่งจีโนมที่ผ่านการทบทวนอย่างรอบคอบในแง่จรรยาบรรณและกฎหมาย
โดยเมอร์คได้จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านชีวจริยธรรมขึ้น เพื่อให้คำแนะนำต่อโครงการวิจัยที่เมอร์คมีส่วนเกี่ยวข้อง รวมถึงการวิจัยเรื่องการปรับแต่งจีโนม หรือที่ใช้เทคนิคการปรับแต่งจีโนม
สำหรับ เมอร์ค คือบริษัทวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีชั้นนำในด้านการดูแลสุขภาพ ชีววิทยาศาสตร์ และเพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล พนักงานราว 50,000 คนของบริษัทได้ร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ ที่ช่วยปรับปรุงและยกระดับคุณภาพชีวิต
ตั้งแต่ยาชีวภาพเพื่อรักษาโรคมะเร็งหรือโรคปลอกประสาทอักเสบ ระบบที่ทันสมัยสำหรับการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการผลิต ไปจนถึง liquid crystal ที่ใช้กับสมาร์ทโฟนและโทรทัศน์ LCD ทั้งนี้ ในปี 2559 เมอร์คทำยอดขายได้ 1.5 หมื่นล้านยูโร ใน 66 ประเทศ
เมอร์ค เป็นบริษัทเภสัชภัณฑ์และเคมีที่เก่าแก่ที่สุดในโลก โดยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2211 และปัจจุบันครอบครัวผู้ก่อตั้งยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของกลุ่มบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เมอร์คครอบครองสิทธิ์ในชื่อและแบรนด์ "เมอร์ค" ทั่วโลก
ยกเว้นในสหรัฐอเมริกาและแคนาดา ซึ่งบริษัทดำเนินธุรกิจในชื่อ อีเอ็มดี โซโรโน่, มิลลิพอร์ซิกม่า และอีเอ็มดี เพอร์ฟอร์แม้นซ์ แมททิเรียล
Canadian Patent Office to Grant Merck's Patent Application for CRISPR Technology
04 มกราคม 2562
ผู้ชม 2319 ครั้ง